ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว

 
 

เมื่อเอ่ยถึงการปลูกพืชผัก (หรือพืชพรรณอื่นใดก็ตามแต่) ถ้าถามเกษตรกรว่า มีวิธีการอย่างไรจึงจะให้ต้นพืชที่ปลูกเจริญงอกงามดี ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ เกษตรกรก็จะตระหวัดนึกถึงปุ๋ยเคมีขึ้นมาทันที เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดความรู้จากนักวิชาการเกษตรมาเช่นนั้น อีกทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมาเมื่อใส่ปุ๋ยให้กับต้นพืช พืชที่ปลูกก็ตอบสนองเปลี่ยนแปลงดีขึ้น ใบเขียวขึ้น ต้นเติบใหญ่ขึ้น ก็เลยทำให้เข้าใจว่า ปุ๋ยเป็นปัจจัยมีความสำคัญต่อการเติบโตและให้ผลผลิต ซึ่งคำตอบดังกล่าวก็มีส่วนถูกอยู่ แต่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องตรงประเด็นทางหลักวิทยาศาสตร์ คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ “แสงสังเคราะห์” (Photosynthesis) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แล้วต้นพืชก็จะแข็งแรงเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ และให้ผลผลิตสูงสุดด้วยคุณภาพที่ดีที่สุดอีกด้วย

 

 กระบวนการแสงสังเคราะห์

การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของต้นพืช ต้องการปัจจัยหลักที่สำคัญคือ
  • น้ำ
  • ดิน (แหล่งอาหารแร่ธาตุ ซึ่งก็คือปุ๋ยนั่นเอง)
  • แสงอาทิตย์ และ
  • คาร์บอนไดออกไซด์
 

 

โรงงานปรุงอาหารพืชอยู่ที่นี่ครับ ที่ใบสีเขียวนี่แหละ 

เอาละ ทีนี้เรามาดูว่า อะไรคืออะไร และเป็นอย่างไร (อย่าได้ งง นะครับ)
  • น้ำ เป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดในต้นพืช น้ำมีบทบาทในการทำละลายน้ำจะละลายแร่ธาตุ (วัตถุดิบที่เราเรียกว่าปุ๋ย) และนำพาสารอาหาร(ดิบ) เหล่านี้ส่งไปที่ใบพืช เพื่อให้ใบพืชทำการปรุงเป็นอาหารสำเร็จ จากนั้นนำส่งไปยังส่วนต่างๆของพืช เพื่อสร้างส่วนที่เป็น ราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ทั่วทั้งองคาพยพ และเกิดเป็นผลผลิต ในที่สุด (ที่เรียกว่า เจริญเติบโต - ให้ผลผลิตนั่นเอง)
  • ดิน ดินเป็นมวลที่ยึดเกาะของต้นพืช ทำให้ต้นพืชตั้งต้นอย่างมั่นคง อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหาร (ดิบ) ของพืชอีกด้วย
  • แสงแดด แสงแดดถือเป็นแหล่งพลังงานของต้นพืชที่จะนำไปใช้ปรุงอาหารเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืช ทำให้ทุกส่วนสัดของต้นพืช (ราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอกและผล) มีการขยายตัวเพิ่มจำนวนหรือปริมาณมากขึ้น แสงแดดเปรียบเสมือนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้กับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ เพื่อทำให้เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ทำงานได้ ถ้าเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรนั้นได้รับเชื้อเพลิงมาก ก็จะทำงานได้มาก หรือยาวนานขึ้น ดุจเดียวกันถ้าต้นพืชได้รับแสงแดดมากขึ้นจากปกติที่ได้รับ ก็จะทำการปรุงอาหารได้มากขึ้นเช่นกัน นั่นย่อมส่งผลให้ต้นพืชมีการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น ให้ผลผลิตได้มากขึ้น แต่ ....

 


หลายท่านคงแย้งว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเพิ่มแสงแดดให้กับต้นพืชที่ปลูก เนื่องจากข้อจำกัดทางธรรมชาติที่โลกเราได้รับแสงแดดในเวลากลางวันไม่เกิน 12 ชั่วโมงเท่านั้น จะเพิ่มแสงแดดให้กับต้นพืชได้มากกว่านั้นได้อย่างไร หรือถ้าเพิ่มให้ได้ก็คงเป็นวิธีให้แสงสว่างจากแสงไฟฟ้าในเวลากลางคืนเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้ย่อมไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน  แต่ก็ยังไม่อับจนไร้สิ้นหนทาง ประตูยังมิได้ลั่นดานปิดตายสนิทสิ้น เมื่อไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ทางออกก็คือ การเพิ่มอัตราเร่งในการดูดซับแสงแดดได้ได้เร็วขึ้นในเวลาที่เท่าๆกัน

แล้วทำได้อย่างไร ?

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปแล้วว่า ใบพืช เป็นพื้นผิวที่รองรับแสงแดด ถ้าต้องการให้พืชได้รับแสงแดดมากขึ้นก็ต้องทำให้ต้นพืชมีใบเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขนาดของใบให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้พื้นผิวใบรองรับแสงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ก็จะทำให้ต้นพืชดูดซับพลังงานได้เพิ่มขึ้น หรือไม่ก็เพิ่มอัตราเร่งในการดูดซับแสงให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องอาศัยตัวช่วย และตัวช่วยที่ว่านี้ก็คือแก็ส “คาร์บอนไดออกไซด์” นั่นเอง

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยได้อย่างไร ?

อย่าลืมว่า การที่พืชจะสร้างอาหารสำหรับการเจริญเติบโต – ให้ผลผลิตได้นั้น ต้องอาศัยกลไกทางชีวเคมีภายในของต้นพืช กลไกนี้จะขับเคลื่อนไปได้ก็ด้วยปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เรียกว่า "Photosynthesis" (แสงสังเคราะห์ หรือ สังเคราะห์ด้วยแสง) จำต้องอาศัยรงค์วัตถุสีเขียวที่ใบเป็นแม่งานในกระบวนการนี้ รงค์วัตถุสีเขียวนี้จะเป็นตัวรวบรวมเอา น้ำ วัตถุดิบ (แร่ธาตุ ปุ๋ย) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยมีแสงเป็นพลังงานในการปรุงให้เป็นอาหารสำเร็จ (น้ำตาล แป้ง) แล้วส่งไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของต้นพืช

  • คาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ได้จัดความสำคัญของคาร์บอนไดออกไซด์ไปอยู่ในส่วนของปฏิกิริยาในกระบวนการแสงสังเคราะห์ แต่ถ้าพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว คาร์บอนไดออกไซด์นั้นคือ  วัตถุดิบตัวหนึ่ง (จะเรียกว่าปุ๋ยอากาศธาตุก็ว่าได้) เพราะแก็ส CO2จะถูกกระบวนการนี้แยกแยะเอา C ออกมารวมกับสารตัวอื่นก่อร่างสร้างตัวเป็นอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล จากนั้นจึงขับเอา Oและน้ำออกไปในบรรยากาศ ถ้าบรรยากาศ ณ.ที่ใดมีความเข้มข้นของ CO2สูง พืชในบริเวณนั้นก็จะโตไวเติบใหญ่มากกว่าบริเวณอื่นที่มีความเข้มข้นของCO2ต่ำ ดังนั้นจึ่งวิเคราะห์สรุปได้ว่า การที่จะปลูกพืชให้โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง นั้นต้องมีการจัดการปัจจัยที่สำคัญ 4 อย่างนี้ (แสงแดด น้ำ ดิน และCO2) ให้พอเพียงแก่ความต้องการของต้นพืช เนื่องจากปัจจัยทั้ง 3 ตัวนี้ มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างแนบแน่น ปัญหาอยู่ที่ว่า เราจะจัดป้อน CO2เพิ่มให้กับพืชที่ปลูกได้อย่างไรมี ตัวอย่างที่ยืนยันสนับสนุนในกรณีที่ต้นพืชได้รับ CO2เพิ่มมากขึ้น จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วกว่า ดีกว่าก็คือ ต้นไม้ที่อยู่ในบริเวณที่มีการเผาขยะเกิดควันไฟเสมอๆ แต่วิธีการเช่นนี้เป็นการสร้างมลภาวะให้แก่สภาพแวดล้อม ไม่เหมาะต่อการนำมาปฏิบัติ แล้วหนทางอื่นๆล่ะ พอมีบ้างไหม ? มีแน่นอน แต่เนื่องจากเกษตรกรไทยเราไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของอากาศธาตุตัวนี้ (CO2) อาจจะเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านวิชาการ หรือแม้แต่นักวิชาการไทยเราก็ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้แต่อย่างใด (หรืออาจจะเข้าใจ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรก็เป็นได้) วิธีการที่เคยนำเสนอมาในเว็บไซท์นี้ก็เคยหยิบยกมาให้อ่านกันบ้างแล้ว ให้ย้อนกลับไปอ่านบทความเรื่อง 
 
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการแสงสังเคราะห์ในการเพาะปลูกดีแค่ไหน 

อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ!

ผู้ที่สนใจในกระบวนการ แสงสังเคราะห์ สามารถคลิกเข้าไปดูในเว็บไซท์เบื้องล่างนี้เพิ่มเติมได้

http://wenku.baidu.com/view/104f8384bceb19e8b8f6ba99.html ภาษาอังกฤษที่มีรายละเอียดทางวิชาการค่อนข้างเข้มข้น

 
 
และที่เป็นการ์ตูน Animation ทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับขบวนการ แสงสังเคราะห์ ที่ดูแล้วเข้าใจง่าย
 
 
 

ใบพืชที่คลี่กางออกเป็นร่างแหแผ่รับเชื้อเพลิง (แสงแดด) เพื่อนำไปให้เครื่องจักร (รงค์วัตถุสีเขียว) เดินเครื่องผลิตอาหารให้กับต้นพืช จากวัตถุดิบ (แร่ธาตุ) ในดินที่รากดูดขึ้นมาโดยอาศัยน้ำเป็นตัวลำเลียงมาให้ มีวัตถุดิบอากาศธาตุ (CO2) จากบรรยากาศที่ใบดูดซับเข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในอาหารที่ผลิตขึ้นมา (แป้ง, น้ำตาล)

ถ้าเราป้อนน้ำให้แก่ต้นพืชอย่างเพียงพอ ต้นพืชได้รับแสงแดดเต็มพิกัดตามความต้องการ ต้นพืชดูดซับเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้เต็มที่  นั่นแหละคือกลไกที่จะทำให้ต้นพืชแข็งแรง เติบโตไว ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพที่ดีที่สุด

คำกล่าวเช่นนี้คงทำให้เกษตรกรมึนงงสงสัยว่า อ้าว แล้วปุ๋ยหายไปไหนเสียล่ะ ปลูกพืชไม่ต้องใส่ปุ๋ยดอกหรือ แล้วมันจะโตได้อย่างไร ให้ผลผลิตได้มากเท่าไรกัน

คำตอบก็คือ ปุ๋ยนั้นมีอยู่แล้วในพื้นดินโดยธรรมชาติหนึ่ง  และจากการหว่านใส่ให้กับพืชที่ปลูกต่อเนื่องกันมาเป็นสิบๆปีอีกหนึ่ง แต่ปุ๋ยที่เราหว่านให้พืชนั้น พืชนำไปใช้ได้ไม่หมด (ปุ๋ยที่เราหว่านใส่ 100 ส่วน พืชนำไปใช้ได้ประมาณ 30 ส่วนเท่านั้น) ส่วนที่เหลือใช้อีก 70 ส่วน นั้นก็จะซึมลึกลงดินไปเรื่อยๆ ลึกจนเกินกว่ารากพืชปกติจะชอนไชไปถึงและดูดซับนำมาใช้ได้นั่นก็คือความสูญเสียที่สะสมเป็นเวลานานปี ถือเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตโดยไม่ได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา

จากผลการทดลองของ Jean Baptista van Helmont นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลองชิ้นหนึ่ง เพื่อหาดูว่าต้นไม้ที่เติบโตนั้น ใช้สารในดินจำนวนเท่าไรในการสร้างการเจริญเติบโตเป็นไม้ต้นใหญ่ โดยการปลูกต้นpoplar (หยางหลิ่ว杨柳) น้ำหนักทั้งต้นแรกเริ่ม 5 ปอนด์ ในกระถางที่ใส่ดิน (น้ำหนักแห้ง) 200 ปอนด์ เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี ต้นpoplarก็เติบใหญ่ จึงนำเอาไม้ต้นนั้นมาชั่งหาน้ำหนักปรากฏว่าน้ำหนักของดินที่ทำให้แห้งแล้วยังคงมีน้ำหนักใกล้เคียงเท่าเดิม ขาดหายไปแค่ 2 ออนซ์เท่านั้นแสดงว่าต้น poplarใช้สารในดิน (แร่ธาตุ) ไปแค่ 2 ออนซ์เท่านั้นในการเติบโตได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 164 ปอนด์กับ 3 ออนซ์ นั่นเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ต้นพืชไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณมากมายเท่าไรเลยในการสร้างความเจริญเติบโตและผลผลิต

 

What do Plants Need to Grow?

A classic experiment t was performed by Jean Baptista van Helmont (1577-1644). In paragraph below, van Helmont describes his experiment.

I took an earthen pot and in it placed 200 pounds of earth which had been dried out in an oven.  This I moistened with rainwater, and in it planted a shoot of willow which weighed five pounds.  When five years had passed the tree which grew from it weighed 169 pounds and about three ounces.  The earthen pot was wetted whenever it was necessary

with rain or distilled water only.  It was very large, and was sunk in the

ground, and had a tin plated iron lid with many holes punched in it, which covered the edge of the pot to keep air-borne dust from mixing with the earth.  I did not keep track of the weight of the leaves which fell in each of the four autumns.  Finally, I dried out the earth in the pot once more, and found...

Here's what he found out:

Finally, I dried out the earth in the pot once more, and found the same 200 pounds, less about 2 ounces.

How could the willow add 164 lbs, 3 ounces and only use 2 ounces of soil???

What is the source of the increased weight of the tree?  

What do you think the willow did use from the soil?

 

 

แล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้มาจากไหน ? คำตอบก็คือจากน้ำ (เพราะพืชประกอบไปด้วยน้ำ 60 ถึง 90%) แต่ถ้าเป็นน้ำเพียงอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้ เพระน้ำหนักแห้งมันเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขที่สูงเอาการอยู่ แต่เมื่อเราทราบถึงการทำงานของระบบ แสงสังเคราะห์แล้ว ทำให้เรารู้ว่า ธาตุในอากาศนั้นมิใช่อะไรอื่น เป็นคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเดียวเท่านั้น ที่พืชดูดซับเอาเข้าไป แล้วสกัดเอาธาตุคาร์บอน (C) ไปสร้างอาหารเป็นตัวตนของต้นพืชขึ้นมา (สารอินทรีย์ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอนทั้งสิ้น)

วันนี้เราจะแนะนำอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ช่วยเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มพูนผลผลิตโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย และเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า

คาร์บอนไดออกไซด์นั้น (CO2) ทรงความสำคัญต่อการเพาะปลูกเพียงใด เพราะตัวมันเองนั้นนอกจากมีบทบาทมีส่วนร่วมในกระบวนการ แสงสังเคราะห์แล้ว ยังถือได้ว่าเป็นปุ๋ยที่พืชมีความต้องการมากที่สุดอีกด้วย (แต่เราไม่รู้ ไม่เข้าใจ จึงละเลยไม่ได้ใส่ใจ)

อุปกรณ์ชิ้นนี้มีรูปลักษณ์และขนาดที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่การดีไซน์แบบของแต่ละบริษัทมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนกระทั่งใหญ่ที่ติดตั้งเดินท่อจ่ายแก็สทั่วในโรงเรือนเพาะปลูกก็มี

 

 


 

 
พืช

 

 

 

 

ความเข้มข้น CO2 ที่เหมาะสม (ppm)

 

 

ผลลัพธ์

 

แตงร้าน
1500 - 2000
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20-35 %
มะเขือ
1000 – 1500
ผลผลิตเพิ่มมากมาย  แก่ - เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น
7-14 วัน
กล่ำปลี
800-1200

ผลผลิตเพิ่มขึ้น 30 % คุณภาพดีมากเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น 7- 14 วัน

ผักกาดหอม
1000-1500
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 30-40 % เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น
พริก
700-1200
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 25-30 % เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น
มะเขือเทศ
1000
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 30 %
คะน้า
800-1000
เก็บเกี่ยวเร็วขึ้น
สตรอเบอร์รี่
1000-1500

ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น 7 – 14 วัน

แคนตาลูป
800-100
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15 % คุณภาพดีมาก

 

ตารางข้างบนนี้ได้มาจากผลการทดลองเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของ คาร์บอนไดออกไซด์ให้หนาแน่นขึ้นภายในโรงเรือนเพาะปลูกในประเทศจีนด้วยเครื่องผลิตปุ๋ย คาร์บอนไดออกไซด์ ปรากฏว่าพืชที่ปลูกเติบโตไว ให้ผลผลิตเร็วขึ้นตั้งแต่ 7 – 14 วัน

 

 



ภาษาจีนเบื้องล่างที่เห็นต่อไปนี้ ตัดมาจากกรอบโฆษณาของบริษัทบริษัทหนึ่งที่ผลิตเครื่องปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับพืชที่ปลูกในโรงเรือน

蔬菜施肥新技术国家专利产品
 
大棚蔬菜助长器上市了
 
商品名称:大棚蔬菜助长器
专利名称:水解碳铵法生产二氧化碳气肥的方法
专利号/申请号:2011 1034 2954.7
产品归类:二氧化碳发生器
适用领域:保护地种植的各类绿植物
生产原料:水,碳铵化肥等
生产方法:水解碳铵法
肥料形态:气体
自动化程度:自动
最大产气量:A型 3300g/h  B型  5500g/h
适用面积:A型1~1.5亩    B型  1.5~2.5亩
工作电压:220V
用电模式:间隙式自动供电
耗电量:1度电/天
农户运行成本:150元/亩/季节
亩产增效:1200元~6000元/亩(视蔬菜品种而言)
 

ข้อความภาษาไทยต่อไปนี้ เป็นการถอดความบรรทัดต่อบรรทัด

เทคโนโลยีใหม่ในการให้ปุ๋ยกับพืชผัก ผลิตภัณฑ์สิทธิบัตรประเทศ (โปรดสังเกตว่า ปุ๋ย ในที่นี้คือ CO2)
อุปกรณ์เสริมสร้างความเจริญเติบโตของพืชผักที่ปลูกในโรงเรือนออกสู่ตลาดแล้ว

ชื่อสินค้า: อุปกรณ์เสริมสร้างความเจริญเติบโตของพืชผัก

ชื่อสิทธิบัตร: วิธีการสลายแอมโมเนียมไบคาร์บอเนตด้วยน้ำเพื่อผลิตแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์

(Hydrolysis of ammonium bicarbonate method)
เลขที่สิทธิบัตร/เอกสารยื่นคำร้อง : 201110342954.7
หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์: เครื่องกำเนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ขอบเขตการใช้งาน: พืชสีเขียวทุกชนิด (ในโรงเรือน)
วัตถุดิบ: น้ำปุ๋ยแอมโมเนียมไปคาร์บอเนต
วิธีการผลิต: แอมโมเนียมไบคาร์บอเนตไฮโดรไลซิส
ลักษณะของสิ่งผลิต: ก๊าซ (CO2)
ระบบการทำงาน: อัตโนมัติทุกขั้นตอน
ปริมาณสูงสุดของก๊าซที่เครื่องผลิตได้: โมเดล A3,300กรัม/ ชม.  โมเดลB5,500กรัม/ ชั่วโมง
พื้นที่ครอบคลุมการใช้งาน: โมเดล A0.42ถึง0.63 ไร่โมเดลB0.63 ถึง10. ไร่
แรงดันไฟฟ้า: 220 โวลต์
โหมดการทำงานของกระแสไฟฟ้า: Automaticpowergap
พลังงานที่ใช้:1หน่วยไฟฟ้า / วัน
ต้นทุนการดำเนินงาน: 800.00 บาท /หมู่/ฤดูกาลเพาะปลูก
รายได้ที่เพิ่มขึ้น: 6,360.00ถึง 31,800.00 ท /หมู่(ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ผักที่ปลูก)

หมายเหตุ: เนื้อที่ 2.4 หมู่ เท่ากับ 1ไร่

ข้อสังเกต: ก่อนหน้านี้เกษตรกรจีนใช้วิธีสุมไฟให้เกิดควันขึ้นภายในโรงเรือน แต่วิธีการนี้ค่อนข้างยุ่งยาก และสร้างมลภาวะให้แก่บรรยากาศ มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนและสัตว์ เมื่อมีเครื่องปลดปล่อยแก๊ส CO2 ชนิดนี้จำหน่าย จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายกันมากขึ้นทุกวัน

ทุกวันนี้นักวิชาการจีนจะให้ความรู้แก่เกษตรกรว่าแก๊ส CO2 นั้นเป็นปุ๋ยชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในบรรยากาศ เหมือนปุ๋ยตัวอื่นๆที่มีอยู่ในดิน แต่ปุ๋ยตัวนี้เป็นแก๊สที่ลอยละล่องอยู่ในอากาศ (และพืชต้องการปริมาณมากกว่าปุ๋ยที่อยู่ในดินเสียอีก) หากแต่มีเบาบาง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นพืช จึงต้องหาวิธีการเพิ่ม CO2เหนือบรรยากาศที่ปลูกพืชให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งการหยิบยกเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นปุ๋ย แทนบทบาททางชีวเคมีในกระบวนการ แสงสังเคราะห์ นั้นทำให้เกษตรกร (จีน) เข้าใจได้ง่ายกว่า เพราะเกษตรกรเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจน และแอมโมเนียมไบคาร์บอเนทก็เป็นปุ๋ยสำหรับพืชชนิดหนึ่ง แต่เมื่อสลายตัวแล้ว ให้แก๊ส CO2 อันเป็นที่ต้องการของพืชมากกว่าไนโตรเจนหลายเท่าตัว

ปัจจุบันเกษตรกรจีนเริ่มทยอยติดตั้งเครื่องผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กันขนานใหญ่ เนื่องจากเกษตรกรได้รับการอบรมให้เข้าใจถึงความสำคัญของกระบวนการทางชีวเคมี (Photosynthesis) ของพืชที่ต้องใช้ CO2ไปรวมกับน้ำ แร่ธาตุ และแสงแดดเพื่อสร้างอาหารในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต (เพิ่มขึ้น)

การติดตั้งเครื่องผลิตปุ๋ยอากาศธาตุ (CO2) ของเกษตรกรจีนนั้นไม่มีปัญหายุ่งยากนัก เนื่องจากการเพาะปลูกในประเทศจีนนั้นส่วนใหญ่กระทำกันในโรงเรือนเพาะปลูก ด้วยพื้นที่ประเทศจีนนั้นอยู่ค่อนไปทางเหนือเส้นศูนย์สูตร มีอากาศหนาวเย็นทั่วทั้งประเทศเกือบทั้งปี (ยกเว้นไม่กี่มณฑลทางใต้) เมื่อย่างเข้าหน้าหนาวยังต้องเดินเครื่องทำความอบอุ่นให้กับพืชที่ปลูกอีกต่างหากในบ้านเมืองเรานั้น การเพาะปลูกในโรงเรือนนั้นก็ไม่ใช่ว่าไม่มี หากแต่ประสบปัญหารอบด้าน เนื่องจากประเทศไทยเราอยู่ในเขตุร้อนที่มีฝนค่อนข้างชุก ความชื้นในบรรยากาศสูง อากาศภายในโรงเรือนถ่ายเทได้ไม่ดี อุณหภูมิภายในทั้งร้อนและชื้น สภาพแวดล้อมเช่นนี้ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่เกิดโรคได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดโรคเน่าในพืชที่ปลูกจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ มีบางส่วนที่ปลูกในโรงเรือนแล้วประสบความสำเร็จ แต่ก็มีการลงทุนที่สูงมาก

ส่วนประเทศไทยเรานั้นการเพาะปลูกส่วนใหญ่ทำกันกลางแจ้งที่เปิดโล่ง การเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์คงทำกันค่อนข้างลำบาก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเกษตรกรไทยเราจะสามารถพัฒนาการเพาะปลูกที่สามารถเพิ่มผลผลิตเป็นกอบเป็นกำได้ไหม ? คำตอบก็คือมี และเป็นวิธีการง่ายๆที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แต่อย่างใด ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ แสงสังเคราะห์ได้สูงสุดถึง 405 เปอร์เซ็นต์ นั่นย่อมหมายถึงต้นพืชสามารถดูดซับ CO2 เพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ผลลัพธ์ที่ตามมาย่อมหมายถึงผลผลิตกองโตอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่เพียงแต่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างมโหฬารแล้ว คุณภาพยังเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใครอีกด้วย !

ต้องสงสัยว่ามันคืออะไร ?

ก่อนที่จะบอกคำตอบ ท่านต้องทำความเข้าใจถึงกระบวนการ Photosynthesis (สังเคราะห์ด้วยแสง) ไห้ลึกซึ้งถ่องแท้เสียก่อน และต้องเปิดใจยอมรับโลกทัศน์ที่แตกต่างออกไป หาไม่แล้วใจท่านก็จะค้านไม่เห็นด้วยกับทัศนะที่บอกกล่าวมาเป็นแน่ มาตรแม้นว่าท่านจะไม่เห็นด้วย แต่ขออย่าได้นิ่งเฉยดูดายจงนำมาใช้ทดสอบหาความจริงก่อนเท่านั้นเป็นพอ

สารที่ว่านั้นก็คือสมุนไพรจีน นาซี 778 ที่ช่วยในการเพาะปลูก แล้วท่านจะประจักรแจ้งเห็นจริงในคำว่า เกษตรแสงอาทิตย์ ที่เราตอกย้ำตลอดมา 
 

 


 

ก่อนจากกัน ขอแจกแจงความก้าวหน้าในการเพาะปลูกของต่างประเทศให้ทราบว่าเขาพัฒนาไปถึงไหนแล้ว โปรดดูรูปภาพเปรียบเทียบ ผักกาด 2 ต้น ต้นขวามือนั้นเติบโตเร็วเป็น 2 เท่าของต้นซ้ายมือเลยทีเดียว และบริษัทที่หันมาทำการเพาะปลูกนั้น เป็นถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเลยทีเดียว รู้แล้วจะต้องตะลึง นั่นคือ บริษัท ฟูจิสึ บริษัทอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่นทีเดียวเชียว เป็นวิธีการปลูกในระบบ ปลอดเชื้อไร้ฝุ่นในอาคารผลิตเครื่องจักรที่เลิกสายพานการผลิตขนาดใหญ่ (Semiconductor clean room) ผลผลิตผัก เก็บไว้นานร่วมเดือนก็ยังคงความสดเหมือนตัดมาใหม่ๆ (ท๊อปปิคนี่ดูเหมือนการปลูกพืชที่ใช้อุปกรณ์สร้างสนามไฟฟ้าสถิตของประเทศจีน ให้ย้อนกลับไปอ่านดูได้) ผู้ใดสนใจเข้าไปดูได้ที่หน้าเว็บไซท์

 
แต่พากย์จีนนะครับ
 
แถมท้ายให้อีกหนึ่งเรื่องปลูกพืชผักในทะเลทรายได้แล้ว มีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องมี น้ำ ครับ แต่ในทะเลทรายจะไปเอาน้ำมาจากที่ไหนกัน ? พบกันคราวหน้าครับ
 
 

สวัสดี
 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google