ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article


 

เมื่อเอ่ยถึงปุ๋ยที่ใส่ให้กับต้นพืชแล้ว เกษตรไทยเราเกือบทั้งหมดจะตวัดคิดไปถึง ปุ๋ยเคมี ที่หว่านให้กับพืชที่ปลูกอยู่ทุกวี่วัน ปุ๋ยเคมีที่ว่านี้ เป็นปุ๋ยผสมสำเร็จที่มีสูตรแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของช่วงระยะการเติบโต และชนิดของพืช ทั้งนี้ล้วนแต่ประกอบด้วยธาตุหลักใหญ่ๆ 3 ตัว คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) ซึ่งถือเป็นอาหารหลักของพืชทั้งหมด แต่ยังมีปุ๋ยอีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อต้นพืช ที่ดูเหมือนเกษตรกรอาจจะไม่คุ้นเคย หรือไม่เคยได้ยินชื่อเลยก็เป็นได้ เพราะปุ๋ยที่ว่านี้ไม่มีขาย ไม่ว่าที่ไหนๆก็ตาม ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ ปุ๋ย อากาศธาตุ ชนิดนี้มีสูตรเขียนทางเคมีง่ายๆว่า CO2 อ่านว่า คาร์บอนไดออกไซด์ มีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ จึงไม่ต้องจ่ายเงินซื้อหามาใช้

หากจะกล่าวกันไปแล้ว นักวิชาการได้จัดเอาความสำคัญของปุ๋ยอากาศธาตุ CO2 นี้ไปวางไว้ในส่วนของกระบวนการชีวเคมีที่เรียกว่า แสงสังเคราะห์ มากกว่าจะเน้นถึงความสำคัญของมันในบทบาทของอาหารพืช (ขอให้ตั้งข้อสังเกต ณ. ที่นี้ใช้ แสงสังเคราะห์ แทนศัพท์ที่ใช้กันในบทเรียนว่า สังเคราะห์แสง ซึ่งความหมายมันจะสวนทางกันโดยสิ้นเชิง) ด้วยกระบวนการดังกล่าวถือเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญของการเจริญเติบโตของอาณาจักรพืชสีเขียว เพราะธาตุ คาร์บอน (C) เป็นธาตุหลักพื้นฐานของสิ่งที่มีชีวิตทั้งมวล ที่จะไปเชื่อมโยงรวมเข้ากับธาตุอื่น เป็นส่วนประกอบต่างๆของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ตาม

 เนื่องจาก คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นอาหารพืชในรูปของอากาศธาตุนั้น มีกระจายทั่วไปในบรรยากาศของโลกเรา และเป็นปุ๋ยที่ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อหามาใช้ ต้นพืชสามารถดูดซับมาใช้เอง ดังนั้นเราจึงไม่ได้ใส่ใจคำนึงถึงว่า ต้นพืชนั้นได้รับธาตุอาหาร คาร์บอนไดออกไซด์ เพียงพอแล้วหรือไม่ ซึ่งปริมาณความต้องการของมันนั้น ยังเกี่ยวพันไปถึง ประสิทธิภาพของการใช้พลังงานแสงในกระบวนการ แสงสังเคราะห์ อีกด้วย กล่าวคือถ้าต้นพืชได้รับ คาร์บอนไดออกไซด์ อย่างเพียงพอ กระบวนการ ใช้พลังงานแสงแดดมาปรุงอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโต และสร้างผลผลิตก็เพิ่มขึ้นตามตัวโดยปริยาย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาข้องเกี่ยวอยู่ด้วยหลายอย่าง เช่นปริมาณของพื้นที่ผิวใบที่รองรับแสงอาทิตย์ ปริมาณของคลอโรฟิลล์ (สารสีเขียว) ของใบ และระบบรากที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อทำหน้าที่ในการดูดซับ น้ำ และแร่ธาตุอาหารในดินได้อย่างพอเพียง ส่งไปปรุงอาหารที่ใบ แล้วส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของลำต้น เพื่อเติมเต็มศักยภาพทางพันธุกรรมที่มีอยู่ของพืชนั้นๆ

 

 

 

ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ตรงหน้าก็คือ เราจะรู้อย่างไรว่า ต้นพืชได้รับเพียงพอหรือไม่ และจะจัดหาอาหารธาตุ CO2ป้อนให้กับพืชได้อย่างไร โดยวิธีใด ? 

สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า คาร์บอนไดออกไซด์นั้น เป็นธาตุอาหารพืชที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของต้นพืชอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม CO2นั้น ทำหน้าที่เป็นทั้งธาตุอาหาร และมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในกระบวนการ แสงสังเคราะห์ อย่างแนบแน่นชนิดที่ที่แยกกันไม่ได้

วิดีโอคลิป ที่หยิบยกมาให้ชมนี้ เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นถึง ความสำคัญ ของคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตที่ดีกว่าการให้ธาตุอาหารทางดินแต่เพียงถ่ายเดียว จากการเพิ่ม อากาศธาตุ CO2 ให้แก่บัวปลูกเพื่อเก็บรากบัวขาย ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้นั้น เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เมื่อเทียบกับที่เลี้ยงดูตามปกติ (ไม่ให้ CO2 เพิ่มเติมแต่อย่างใด) บ่งชี้ให้เห็นว่า เกษตรกรไทยนั้น ละเลยต่อความสำคัญของ ธาตุอาหารอากาศ CO2 โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่อง CO2 เป็นปุ๋ยที่เราได้มาโดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อหา ทว่าไร้ตัวตนเหมือนปุ๋ย N, P, K จึงทำให้เราขาดความกระตือรือร้น ไม่ดิ้นรนค้นหามาสนองความต้องการของพืช เหมือนดั่งที่เกษตรกรชาวจีนกระทำกัน (ทั้งๆที่เราก็เข้าใจในหลักการเช่นนี้มาตลอด) แล้วเกษตรกรจีนมีวิธีการอย่างไร ในการเพิ่ม CO2 ให้แก่พืชที่ปลูกอย่างเพียงพอ ถ้าในสภาวะการเพาะปลูกในเขตุร้อนที่ทำกันในที่เปิดโล่งอย่างประเทศไทย เราก็คงจนปัญญาคิดไม่ออกว่าควรทำอย่างไร แต่ในประเทศจีนที่ส่วนใหญ่เพาะปลูกในโรงเรือน เนื่องจากต้องป้องกันอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว โรงเรือนปิดค่อนข้างมิดชิด จึงสามารถเก็บกักอากาศธาตุ CO2 ไว้ได้ โดยการสุมไฟที่ได้ทั้งแก๊สและความอบอุ่น หรือไม่ก็นำเครื่องผลิตคาร์บอนไดออกไซด์มาติดตั้งในโรงเรือนกันเลย แต่ในกรณีของบัว ที่ปลูกในสระน้ำ ไม่มีโรงเรือนกั้นกางนั้น เกษตรกรรายนี้ มีวิธีการเพิ่ม CO2  ให้แก่บัวที่ปลูกอย่างไร ติดตามดูจากวิดีโอคลิปนี้ได้ แต่ก่อนอื่น ขอให้อ่านคำบรรยายคร่าวๆนำร่องเสียก่อน แล้วจะชมวิดีโอคลิปนี้ได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ณ.เมือง จือป๋อสื้อ มณฑล ซานตง (山东省的淄博市) ชายหนุ่มนามว่า หวังเฟิง (王锋) ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิจัยงานการเกษตร และทำงานในสำนักงานการเกษตรเพื่อกรุยทางสู่ตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานในวันข้างหน้า ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ หวังเฟิงได้ชักชวนเพื่อนคนหนึ่งให้มาร่วมลงทุนปลูก บัวกินราก ที่บึงบัว เหมิ่งซานหู (萌山湖) ซึ่งเป็นแหล่งปลูกบัวกินรากอินทรีย์ที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่  บัวที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ ดอกสีขาว ซึ่งเป็นพันธุ์เดียวกับชาวบ้านที่ปลูกกันทั่วไปที่นี่ แต่ทว่าผลผลิตที่คุณ หวังฟิง เก็บเกี่ยวได้ต่อไร่นั้น มากกว่าเพื่อนบ้านเกือบเท่าตัว (เฉลี่ย 9,600 กิโลกรัม/ไร่) หนุ่มหวังเฟิงบอกว่า เทคนิคการทำให้ได้รากบัวเพิ่มขึ้นสูงเช่นนี้ อยู่ที่หลักการทำให้ใบบัวนั้นคงความเขียวได้ทนนานกว่าปกติทั่วไป 2 ถึง 3 เดือน จึงสามารถทำให้ผลผลิตเพิ่มได้มากขึ้น หนุ่มหวังเฟิงทำได้อย่างไร ติดตามฟังหลักทางวิชาการที่จะขยายให้ฟังกันต่อไป

 

 

 

สาเหตุที่บัวเจ้าอื่นๆ เริ่มเปลี่ยนสีใบ จากเขียวเป็นเหลือง เมื่อเริ่มย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง (เดือนสิงหาคม) โดยสีใบเริ่มซีดเหลืองจากขอบใบ สาเหตุเพราะต้นบัวนั้น เริ่มขาดอาหาร กินไม่อิ่ม นั่นหมายถึงได้รับปุ๋ยไม่เพียงพอ แต่ปุ๋ยอาหารที่ว่านี้ หาใช่ ปุ๋ยที่ใส่ลงก้นสระไม่ แต่เป็นปุ๋ยในอากาศ ที่เรียกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ (อย่าได้ประหลาดใจไปล่ะ CO2 นั้นก็เป็นอาหารพืช และมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ หากแต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของพืชหรือไม่) CO2 ที่ว่านี้มีบทบาทพื้นฐานของพืช ในกระบวนการทางชีวเคมีที่เรียกว่า แสงสังเคราะห์ ที่ดำเนินการปรุงอาหาร โดยอาศัย น้ำ แสงแดด คาร์บอนไดออกไซด์ และแร่ธาตุอาหารที่ส่งขึ้นมาจากระบบรากใต้ดิน ดังนั้นถ้าบรรยากาศนั้นมีความเข้มข้นของ CO2 ไม่เพียงพอ กระบวนการ แสงสังเคราะห์ ก็เกิดขึ้นไม่เต็มสูบ การปรุงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของลำต้น เพื่อสร้างการเจริญเติบโต ตลอดจนการสร้างผลผลิตก็เป็นไปไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่สระบัวของหวังเฟิงนั้น ใบบัวยังคงเขียวชอุ่มยืดนานไปจนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน  จึงจะเริ่มเปลี่ยนสีซีดโรยราให้เห็น ด้วยเหตุฉะนี้ ช่วงเวลา สอง-สาม เดือนดังกล่าว ต้นบัวจึงมีเวลาแทงไหลแตกราก ขยายตัวทั้งปริมาณและขนาด ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นไปด้วยการป้อนอาหารอากาศธาตุ คาร์บอนไดออกไซด์ ให้กับบัวอย่างเหลือเฟือ ใบที่ยังคงความเขียวอยู่นี้ สามารถรองรับแสงแดด ดูดซับอาหารจากก้นสระ รวมทั้งปุ๋ยอากาศธาตุ จากกระต๊อบน้อย ที่ปลูกไว้ริมสระ บัวจึงยังคงสร้างอาหารไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของราก (ลำต้นในดิน) ได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 2 ถึง 3 เดือน จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ผลผลิตที่ได้นั้นจึงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าๆตัว ถ้าไม่ใช่เกิดจาก CO2 แล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะไปถามหาสาเหตุจากอะไรกันแล้ว   

คงเกิดความสงสัยตามมาเป็นแน่แท้ว่า กระต๊อบน้อยนั้น ป้อนแก๊ส CO2 ให้กับสระบัวได้อย่างไร ? มันเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ได้สลับซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงแค่นำเอาเศษต้นข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวมาวางสุมกัน โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายต้นข้าวโพดให้เกิดแก๊ส CO2 แล้วใช้พัดลมดูดแก๊สที่เกิดขึ้นส่งไปตามท่อที่วางไว้ใต้ใบบัว เหนือผิวสระน้ำ ที่มีระยะห่างกันเมตรเศษๆ โดยในพื้นที่สระ 1 โหม่วนั้นวางท่อจำนวน 3 เส้น จากการเพิ่มเศษต้นข้าวโพดและเติมเชื้อจุลินทรีย์ทุก 10 วัน ก็สามารถป้อน CO2 เพียงพอต่อความต้องการของบัวในพื้นที่สระ 1 โหม่วแล้ว (2.4 โหม่ว = 1 ไร่) และ..

คงเกิดคำถามตามมาอีกว่า ในเมื่อบัวนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้โรงเรือนที่มิดชิด แล้วแก๊ส CO2 ที่ส่งไปนั้นจะไม่ฟุ้งกระจายหายไปจากสระบัวหรอกหรือ ในเมื่อเป็นพื้นที่เปิดโล่งกว้างออกอย่างนั้น อันนี้ต้องหันมาทำความเข้าใจในคุณสมบัติของแก๊ส CO2 สักเล็กน้อย อันแก๊สชนิดนี้นั้น มีน้ำหนักมากกว่าแก๊สชนิดอื่นๆในบรรยากาศ ดังนั้น เมื่อมันประจายอยู่ระหว่างพื้นผิวน้ำกับใบบัวที่ขึ้นปกคลุมหนาแน่น มวลแก๊สจึงแพร่กระจายค่อนข้างสงบนิ่งภายใต้ใบบัว ถึงจะกระจายสูญหายไปบ้างก็คงมีบ้างไม่มาก เพราะมีการสูบอัดเพิ่มเติมตลอดเวลาตามช่องเล็กๆที่เจาะเป็นระยะห่างทุกครึ่งเมตรตามท่อส่ง ในวิดีโอคลิป มีการทดสอบให้เห็นถึงคุณสมบัติของแก๊ส  CO2 ที่ดับไฟได้ เนื่องจากเป็นแก๊สที่ไม่ติดไฟ มีน้ำหนักมากว่า แก๊สออกซิเจนที่ติดไฟได้ เมื่อจุดไฟแช๊กเข้าใกล้ช่องทางออกของแก๊ส เปลวไฟก็จะมอดดับลง เพราะแก็สออกซิเจนนั้นถูกแทนที่ด้วย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

 

 

 

นักวิชาการได้แจกแจงว่า ปริมาณความเข้มข้นของแก๊ส CO2 ที่ต่ำกว่า 50 พีพีเอ็ม นั้น เป็นปริมาณขีดต่ำสุดของกระบวนการแสงสังเคราะห์ที่จะดำเนินไปได้ หากต่ำกว่านี้กระบวนการนั้นก็จะหยุดชะงักลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช ใบพืชจะมีสีคล้ำหมอง ดอกใบจะหลุดร่วงเสียหายรุนแรง และถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ปริมาณความเข้มข้นของ CO2 จะเป็นสักเท่าไร จึงจะเพียงพอกับความต้องการของต้นพืช ? 

คำตอบเป็นไปดังนี้ กระบวนการ แสงสังเคราะห์ที่จะดำเนินเป็นไปตามวิสัยปกติของตันพืชนั้นอยู่ที่ 1,000 PPM ดังนั้น ถ้าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการอันนี้แล้ว ต้องจัดความเข้มข้นให้สูงกว่า 1,000 PPM ขึ้นไป แต่จากการทดลองนำเอาเปลวไฟไปจ่อที่ช่องเปิดท่อส่งแก๊ส แล้วทำให้เปลวไฟดับลงนั้น อธิบายได้ว่า ความเข้มข้นของแก๊ส CO2 ที่ปลดปล่อยออกมาจากท่อส่งนั้น มีความเข้มข้นกว่า 3,000 PPM ขึ้นไปเลยทีเดียว จึงจะสามารถทำให้เปลวไฟดับลงได้ (ในวีดิโอ จะเห็นมีการนำเอา ต้นข้าวโพดวางก้นบ่อ เพื่อหมักให้เกิดแก๊ส แต่ปรากฏว่าปริมาณ CO2  ที่เกิดขึ้นนั้นน้อยมาก เนื่องจาก แบคทีเรียที่ใช้ในการนี้นั้น เป็นประเภทที่ต้องการ ออกซิเจน ในการย่อยสลาย เมื่ออยู่ในน้ำก้นสระที่ขาด O2 จึงผลิต CO2 ไม่เพียงพอ จนต้องเปลี่ยนมาหมักย่อยบนบกในกระต๊อบหลังน้อย แล้ว อัดส่งไปตามท่อแทน แต่ถึงอย่างไรก็ยังเป็นประโยชน์กับรากบัว ที่เป็นปุ๋ยและเป็นที่ยึดเกาะของต้นบัว)

เท่าที่ผ่านมา เกษตรกรไทยได้รับการยัดเยียดให้รู้แต่เพียงว่า หากจะให้พืชที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูงนั้น ต้องใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ย แต่โดยแท้จริงแล้ว กระบวนการ แสงสังเคราะห์ต่างหากที่เป็นแก่น พื้นฐานที่สำคัญของการดำรงอยู่ของต้นพืช เมื่อนำส่วนของพืชไปทำให้แห้ง หักส่วนของน้ำออกไปแล้ว น้ำหนักแห้งที่เหลือ 90 %นั้น เป็นผลพวงที่เกิดมาจากกระบวนการ แสงสังเคราะห์ทั้งสิ้น ส่วนที่เกิดจากธาตุอาหารจากดินนั้น มีเพียงแค่ 5 % เท่านั้น ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้งลงไปแล้ว การเจริญเติบโตที่สมบูรณ์รวดเร็วของพืช การให้ผลผลิตระดับขั้นสูงสุด จนกระทั่งบรรลุถึงคุณภาพที่ดีที่สุดนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่างรวมกันอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานแสงแดด และอากาศธาตุ CO2 ที่ใช้ในกระบวนการแสงสังเคราะห์นั้น ต้นพืชต้องได้รับอย่างเพียงพอด้วย กระบวนการทางชีวเคมีอื่นๆภายในจึงจะบรรลุถึงศักยภาพสูงสุด อันจะทำให้พืชนั้นสมบูรณ์ ให้ผลผลิตเต็มที่

 

 

 

ในเมื่อเราเข้าใจถึงหลักการอันนี้แล้ว การที่จะทำให้ต้นพืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แข็งแรง ทนทานต่อความเครียดในสภาวะที่วิกฤติ ให้ผลผลิตสูงสุด บรรลุถึงคุณภาพขั้นสูงสุด ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ แสงสังเคราะห์ ให้สูงสุดเต็มที่ (ทุกวันนี้ ฝรั่งทำการวิจัยอย่างขะมักเขม้น ที่จะเพิ่มกระบวนการอันนี้ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่ยังทำไม่ได้) ต้องประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้

  1.  ปัจจัยภายใน นั่นก็คือสายพันธุ์ที่ดี
  2. ปัจจัยภายนอก อันมี
    ผืนดินที่สมบูรณ์ (เป็นที่หยั่งราก ยึดเกาะลำต้น)
    อาหารในดิน (ปุ๋ย และแร่ธาตุที่จำเป็น ดูดซับด้วยราก)
    ระบบหาอาหารที่มีประสิทธิภาพ (รากที่พัฒนาได้หนาแน่น กินลึก ชอนไชไปได้ไกล)
    น้ำ
    อากาศ (CO2 ดูดซับด้วยปากใบที่กระจายอยู่ทั่วหลังใบ)
    แสงแดด (ใช้ในกระบวนการ แสงสังเคราะห์ ที่ต้องอาศัยสารสีเขียวเป็นตัวช่วย)
    อุณหภูมิ


แต่การที่จะทำให้ต้นพืชมีระบบรากที่สมบูรณ์หนาแน่น เพื่อทำหน้าที่ดูดซับ น้ำ และแร่ธาตุอาหารได้เต็มที่ และการที่จะจะทำให้ต้นพืชได้รับแสงแดดเต็มที่ ได้รับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพียงพอ ต้องอาศัยปริมาณจำนวนของใบ และพื้นที่ผิวใบที่เพียงพอเป็นตัวดักจับ ดูดซับ โดยมีคลอโรฟิลล์จำนวนมหาศาลเป็นตัวช่วยปรุงแต่ง การที่จะบรรลุถึงผลดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องง่ายๆ กล้วยๆ ถ้าได้ใช้ สารชักนำพันธุกรรม นาซี 778 มาใช้กับพืชที่ปลูก แทนการป้อน  CO2 ให้กับบัวกินรากในวิดีโอคลิป นื่องจากสรรพคุณของ นาซี 778 นั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ กระบวนการแสงสังเคราะห์ได้สูงสุดถึง 405 % ซึ่งการันตีถึงปริมาณ CO2 ที่พืชต้องการ และปริมาณพลังงานแสงแดดที่ได้รับนั้น มีเพียงพอถึงขั้นเหลือเฟือ เพราะมีการกระตุ้นให้เกิดราก แตกกิ่งก้าน ใบที่มีขนาดใหญ่จำนวนมาก ใบเขียวเข้ม ที่สามารถดักจับ แสงแดดได้เพียงพอเหลือเฟือ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกประหลากใจอย่างใด พืชที่ใช้ นาซี 778 จังเติบโตได้เร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตสูงเพิ่มมากกว่าปกติ ด้วยคุณภาพที่ไม่มีสารอื่นใดรังสรรค์ให้ได้เสมอเหมือน 


อ้อ ... เกือบลืมไปเสียแล้วสิ วีดิโอคลิบที่จะให้ชมก็คือ

http://www.5-zn.com/kjy/201011/192622.html

บอกกล่าวล่วงหน้า :
วีดิโอความก้าวหน้าทางการเกษตรที่จะนำเสนอให้ชม มีต่อไปนี้ 
1. วิธีชะลอการเก็บเกี่ยวผลไม้ให้ยืดเวลาออกไป 60 วัน
2. การป้องกันโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย ในพืชตระกูลมะเขือ (โดยเฉพาะมะเขือเทศ ที่อ่อนไหวต่อโรคนี้เป็นที่สุด) และในพืชชนิดอื่นๆอย่างได้ผล 100 %
3. การทำนาครั้งเดียว เก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้ง
4. พลาสติกคลุมแปลงปลูกที่ย่อยสลายตัวเองได้ และ ...
5. 6 7 8 9 ........... คอยติดตาม
 

 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google