ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


ข้าวไผ่ article

ข้าวไผ่ เป็นอย่างไร ต้องแวะไปดูที่ประเทศจีนครับ เพราะยังไม่เคยปรากฏมีที่ไหนมาก่อนเลย

ข้าวไผ่เป็นข้าวผสมข้ามสายพันธุ์ ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่าง ข้าว และ ไผ่ ครับ ไม่ใช่ข้าวลูกผสม ไฮบริด ระหว่างข้าวด้วยกันเอง เป็นการคิดนอกกรอบที่ออกจะน่าทึ่งของนักวิชาการเกษตรจีนนายหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้รับการขนานนามเป็น บิดาแห่งข้าวไผ่ เรียบร้อยโรงเรียนจีนไปแล้วครับ

 ข้าวไผ่ นี้ได้รับการเปิดตัวในงานสังสรรคแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเกษตรครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้น ณ. เมือง จี่หนาน (济南) มณฑล ซานตง (山东) ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2007 จากการนำเสนอของโรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจาหนงแอย๊ะเซวียะเซี่ยว (梅州农业学校) และนักวิชาการเกษตรนามว่า จง จางไหม่ (钟章美) ผู้ทำการผสมพันธุ์ข้าวไผ่ 2 สายพันธุ์ คือ จู๊ต้าว 966 และ จู๊ต้าว 989 (竹稻 966 竹稻 989)


 

 จง จางไหม่ กับกอข้าวไผ่ที่ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา (กระถางหน้า)

จง จางไหม่ กับกอข้าวไผ่ที่ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา (กระถางหน้า)


 

คุณ จง จางไหม่ เป็นเจ้าหน้าที่นักวิชาการเกษตรที่เกษียณจากหน้าที่การงานแล้ว ในวัย 70 นี้ยังคงทำงานวิจัยนี้ในศูนย์วิจัยข้าวไผ่ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน อ่ายหลิง (霭岭村) อำเภอ เจียวหลิง (蕉岭县) อย่างต่อเนื่อง มิได้เกษียณการงานตามอายุที่กำหนดไว้ไม่

เนื่องจากคุณ จง จางไหม่ สังเกตุเห็นถึงลักษณะธรรมชาติของต้นไผ่นั้นมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่กว้างขวาง ทนอากาศหนาวเย็น ทนอากาศร้อน แห้งแล้งได้ดี ทนน้ำท่วมขัง ทนทานทั้งโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี มีระบบรากที่หนาแน่น ปลูกที่ไหนก็งอกงามที่นั่น จึงมีความคิดในการที่จะนำเอาคุณสมบัติของต้นไผ่มารวมไว้ในต้นข้าว ซึ่งงสามารถนำไปปลูกในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ เช่นตามไหล่เขาเป็นต้น จากความมุนานะพยามยามกว่าสิบปี จึงประสบกับความสำเร็จในการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ไผ่ กับ ข้าว ได้สำเร็จ 


 

 ข้าวไผ่ 989 ที่เป็นข้าวสาร (ซ้าย) และข้าวสวย (หุงแล้วด้านขวา)

ข้าวไผ่ 989 ที่เป็นข้าวสาร (ซ้าย) และข้าวสวย (หุงแล้วด้านขวา)


 

ในปี 1971 จง จางไหม่ เริ่มทำการวิจัยทดลองโดยการปลูกข้าวสายพันธุ์หนึ่งเป็นแม่พันธุ์ และปลูกไผ่ไว้กอหนึ่ง ตระเตรียมให้ต้นไผ่ออกดอกตรงกับระยะเวลาที่ต้นข้าวแทงช่อดอก  โดยวิธีทรมานต้นไผ่ให้อดน้ำขาดอาหารจนต้นไผ่เจียนตาย (ต้นไผ่จะไม่ออกดอก ถ้าไม่ประสบพบความแห้งแล้งจนถึงขั้นวิกฤต เพื่อเตรียมการสืบพันธุ์ด้วยเมล็ดต่อไป) แล้วให้ปุ๋ยให้น้ำจนกระทั่งต้นไผ่ออกดอกในระยะเวลาเดียวกันกับที่ต้นข้าวแทงช่อดอก จึงทำการผสมเกษรจนได้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์จำนวน 3 เมล็ด จากการนำเมล็ดข้าวไผ่ที่ได้ทั้ง 3 นี้ไปทำการเพาะ ได้ต้นกล้า 3 ต้น แต่เฉาตายไป 2 ต้น คงเหลือที่เติบโตได้ดีเพียง 1 ต้น เป็นถือเป็นข้าวไผ่รุ่นที่ 1 ที่เกิดจากการผสมระหว่างข้าวเคอเฉิน (科程) เป็นต้นแม่ และไผ่เขียวชิงจู๊ (青竹) ชนิดหนึ่งเป็นต้นพ่อ ต้นข้าวไผ่ที่เหลือเพียงต้นเดียวนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นไผ่ แตกใบตามข้อ จนกระทั่งอายุได้ 549 วันจึงแทงช่อดอกให้เห็น แต่ทว่าไม่ติดเมล็ด จึงทำการตัดทิ้งไป บำรุงเลี้ยงดูจนเวลาผ่านพ้นไป 736 วัน ข้าวไผ่กอนี้จึงแทงช่อดอกอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ให้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์ถึง 136 เมล็ด ปีถัดมา จง จางไหม่ จึงนำเมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปปลูกลงแปลงนา แต่งอกเพียง 80 ต้นเท่านั้น ในปี 1976 เดือนธันวาคม จง จางไหม่ ได้นำเมล็ดข้าวรุ่นที่ 2 นี้กลับไปยังศูนย์วิจัยจังหวัด เจียวหลิง (蕉岭县农科所) ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี 1993 ทำการผสมพันธุ์ข้าวไผ่ได้ถึงรุ่นที่ 13 จากระยะเวลาเก็บเกี่ยว 700 กว่าวัน หดสั้นลงเหลือ100 วันเศษๆ ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวไล่เรี่ยกับพันธุ์ข้าวทั่วๆไป

ต้นปี 2000 จง จางไหม่ ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ข้าวไผ่ที่มีกรรมพันธุ์คงมั่นอยู่ตัวแตกต่างกันหลายลักษณะ

ในปี 2003 จง จางไหม่ ได้นำเมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปมอบให้โรงเรียนเกษตรกรรมอันเป็นสถานศึกษาที่ตนเองได้สำเร็จการเรียนมา เพื่อให้ทางโรงเรียนได้ทำการวิจัยทดสอบในเชิงลึกต่อไป และ

ในปี 2004 ด้วยความร่วมมือของโรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจาหนงแอย๊ะเสวียะเซี่ยว (梅州农业学校) กับ สำนักงานวิชาการเมือง ไหมเจาสื้อ (梅州市科技局) ทำการทดสอบปลูก ข้าวไผ่ ในพื้นที่ทดลอง 320 โหม่ว (133 ไร่) รวมทั้งไร่นาของเกษตรกร 12,000 โหม่ว (5,000 ไร่) ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 500 ~ 600 กิโลกรัม / โหม่ว (1,200 ~ 1,440 กก. / ไร่) บางแห่งได้ถึง 800 กิโลกรัม / โหม่ว (1,920 กก. / ไร่)

คุณสมบัติพิเศษของข้าวไผ่นี้มิได้ให้ผลผลิตที่สูงเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ข้าวที่หุงสุกมีกลิ่นหอมของไผ่อ่อนๆ มีประกายมันวาว เนื้อนุ่ม อร่อยลิ้น ขณะนี้ทางรัฐบาลท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันขนานใหญ่ เนื่องจากเป็นข้าวพิเศษที่แตกต่างจากข้าวโดยทั่วไป ขณะนี้ทางมณฑลอื่นๆต่างได้ขอพันธุ์ข้าวไผ่ไปปลูกยังท้องที่ของตนเอง เพื่อปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ

คงต้องไปหาซื้อมาหุงต้มลองลิ้มชิมรสบ้างแล้วละว่า อร่อยกว่าข้าวหอมดอกมะลิของไทยเราหรือเปล่า 

 




เกษตรไฮเทค




Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google