ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


ข้าวไผ่ article

ข้าวไผ่ เป็นอย่างไร ต้องแวะไปดูที่ประเทศจีนครับ เพราะยังไม่เคยปรากฏมีที่ไหนมาก่อนเลย

ข้าวไผ่เป็นข้าวผสมข้ามสายพันธุ์ ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่าง ข้าว และ ไผ่ ครับ ไม่ใช่ข้าวลูกผสม ไฮบริด ระหว่างข้าวด้วยกันเอง เป็นการคิดนอกกรอบที่ออกจะน่าทึ่งของนักวิชาการเกษตรจีนนายหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้รับการขนานนามเป็น บิดาแห่งข้าวไผ่ เรียบร้อยโรงเรียนจีนไปแล้วครับ

 ข้าวไผ่ นี้ได้รับการเปิดตัวในงานสังสรรคแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเกษตรครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้น ณ. เมือง จี่หนาน (济南) มณฑล ซานตง (山东) ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2007 จากการนำเสนอของโรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจาหนงแอย๊ะเซวียะเซี่ยว (梅州农业学校) และนักวิชาการเกษตรนามว่า จง จางไหม่ (钟章美) ผู้ทำการผสมพันธุ์ข้าวไผ่ 2 สายพันธุ์ คือ จู๊ต้าว 966 และ จู๊ต้าว 989 (竹稻 966 竹稻 989)


 

 จง จางไหม่ กับกอข้าวไผ่ที่ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา (กระถางหน้า)

จง จางไหม่ กับกอข้าวไผ่ที่ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา (กระถางหน้า)


 

คุณ จง จางไหม่ เป็นเจ้าหน้าที่นักวิชาการเกษตรที่เกษียณจากหน้าที่การงานแล้ว ในวัย 70 นี้ยังคงทำงานวิจัยนี้ในศูนย์วิจัยข้าวไผ่ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน อ่ายหลิง (霭岭村) อำเภอ เจียวหลิง (蕉岭县) อย่างต่อเนื่อง มิได้เกษียณการงานตามอายุที่กำหนดไว้ไม่

เนื่องจากคุณ จง จางไหม่ สังเกตุเห็นถึงลักษณะธรรมชาติของต้นไผ่นั้นมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่กว้างขวาง ทนอากาศหนาวเย็น ทนอากาศร้อน แห้งแล้งได้ดี ทนน้ำท่วมขัง ทนทานทั้งโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี มีระบบรากที่หนาแน่น ปลูกที่ไหนก็งอกงามที่นั่น จึงมีความคิดในการที่จะนำเอาคุณสมบัติของต้นไผ่มารวมไว้ในต้นข้าว ซึ่งงสามารถนำไปปลูกในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ เช่นตามไหล่เขาเป็นต้น จากความมุนานะพยามยามกว่าสิบปี จึงประสบกับความสำเร็จในการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ไผ่ กับ ข้าว ได้สำเร็จ 


 

 ข้าวไผ่ 989 ที่เป็นข้าวสาร (ซ้าย) และข้าวสวย (หุงแล้วด้านขวา)

ข้าวไผ่ 989 ที่เป็นข้าวสาร (ซ้าย) และข้าวสวย (หุงแล้วด้านขวา)


 

ในปี 1971 จง จางไหม่ เริ่มทำการวิจัยทดลองโดยการปลูกข้าวสายพันธุ์หนึ่งเป็นแม่พันธุ์ และปลูกไผ่ไว้กอหนึ่ง ตระเตรียมให้ต้นไผ่ออกดอกตรงกับระยะเวลาที่ต้นข้าวแทงช่อดอก  โดยวิธีทรมานต้นไผ่ให้อดน้ำขาดอาหารจนต้นไผ่เจียนตาย (ต้นไผ่จะไม่ออกดอก ถ้าไม่ประสบพบความแห้งแล้งจนถึงขั้นวิกฤต เพื่อเตรียมการสืบพันธุ์ด้วยเมล็ดต่อไป) แล้วให้ปุ๋ยให้น้ำจนกระทั่งต้นไผ่ออกดอกในระยะเวลาเดียวกันกับที่ต้นข้าวแทงช่อดอก จึงทำการผสมเกษรจนได้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์จำนวน 3 เมล็ด จากการนำเมล็ดข้าวไผ่ที่ได้ทั้ง 3 นี้ไปทำการเพาะ ได้ต้นกล้า 3 ต้น แต่เฉาตายไป 2 ต้น คงเหลือที่เติบโตได้ดีเพียง 1 ต้น เป็นถือเป็นข้าวไผ่รุ่นที่ 1 ที่เกิดจากการผสมระหว่างข้าวเคอเฉิน (科程) เป็นต้นแม่ และไผ่เขียวชิงจู๊ (青竹) ชนิดหนึ่งเป็นต้นพ่อ ต้นข้าวไผ่ที่เหลือเพียงต้นเดียวนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นไผ่ แตกใบตามข้อ จนกระทั่งอายุได้ 549 วันจึงแทงช่อดอกให้เห็น แต่ทว่าไม่ติดเมล็ด จึงทำการตัดทิ้งไป บำรุงเลี้ยงดูจนเวลาผ่านพ้นไป 736 วัน ข้าวไผ่กอนี้จึงแทงช่อดอกอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ให้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์ถึง 136 เมล็ด ปีถัดมา จง จางไหม่ จึงนำเมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปปลูกลงแปลงนา แต่งอกเพียง 80 ต้นเท่านั้น ในปี 1976 เดือนธันวาคม จง จางไหม่ ได้นำเมล็ดข้าวรุ่นที่ 2 นี้กลับไปยังศูนย์วิจัยจังหวัด เจียวหลิง (蕉岭县农科所) ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี 1993 ทำการผสมพันธุ์ข้าวไผ่ได้ถึงรุ่นที่ 13 จากระยะเวลาเก็บเกี่ยว 700 กว่าวัน หดสั้นลงเหลือ100 วันเศษๆ ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวไล่เรี่ยกับพันธุ์ข้าวทั่วๆไป

ต้นปี 2000 จง จางไหม่ ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ข้าวไผ่ที่มีกรรมพันธุ์คงมั่นอยู่ตัวแตกต่างกันหลายลักษณะ

ในปี 2003 จง จางไหม่ ได้นำเมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปมอบให้โรงเรียนเกษตรกรรมอันเป็นสถานศึกษาที่ตนเองได้สำเร็จการเรียนมา เพื่อให้ทางโรงเรียนได้ทำการวิจัยทดสอบในเชิงลึกต่อไป และ

ในปี 2004 ด้วยความร่วมมือของโรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจาหนงแอย๊ะเสวียะเซี่ยว (梅州农业学校) กับ สำนักงานวิชาการเมือง ไหมเจาสื้อ (梅州市科技局) ทำการทดสอบปลูก ข้าวไผ่ ในพื้นที่ทดลอง 320 โหม่ว (133 ไร่) รวมทั้งไร่นาของเกษตรกร 12,000 โหม่ว (5,000 ไร่) ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 500 ~ 600 กิโลกรัม / โหม่ว (1,200 ~ 1,440 กก. / ไร่) บางแห่งได้ถึง 800 กิโลกรัม / โหม่ว (1,920 กก. / ไร่)

คุณสมบัติพิเศษของข้าวไผ่นี้มิได้ให้ผลผลิตที่สูงเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ข้าวที่หุงสุกมีกลิ่นหอมของไผ่อ่อนๆ มีประกายมันวาว เนื้อนุ่ม อร่อยลิ้น ขณะนี้ทางรัฐบาลท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันขนานใหญ่ เนื่องจากเป็นข้าวพิเศษที่แตกต่างจากข้าวโดยทั่วไป ขณะนี้ทางมณฑลอื่นๆต่างได้ขอพันธุ์ข้าวไผ่ไปปลูกยังท้องที่ของตนเอง เพื่อปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ

คงต้องไปหาซื้อมาหุงต้มลองลิ้มชิมรสบ้างแล้วละว่า อร่อยกว่าข้าวหอมดอกมะลิของไทยเราหรือเปล่า 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google