ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article

เป็น ที่ถกเถียงกันอย่างยืดเยื้อโดยที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า อาหารดัดแปรพันธุกรรมที่เกิดจากการตัดต่อถ่ายโอนยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นระหว่างพืชกับพืช  สัตว์กับสัตว์ด้วยกันเอง หรือข้ามสายพันธุ์ระหว่างพืชกับสัตว์ก็ตาม  ต่างก็ถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนจนเกิดกระทบกระทั่งกันขึ้นก็มี  โดยที่ไม่มีความชัดเจนในประเด็นที่ถกเถียงกันว่า อาหารดังกล่าวมีผลเป็นพิษเป็นภัยต่อสุขภาพของคนเราและกระทบถึงสภาพแวดล้อมธรรมชาติด้วยหรือไม่  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  ระหว่างที่ต่างฝ่ายต่างหยิบยกเหตุผลขึ้นมากล่าวอ้างหักล้างกันนั้น  อาหารดัดแปรพันธุกรรมก็ได้เพิ่มทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก  แล้วความเป็นจริงมันคืออย่างไร ?  บทความที่หยิบยกแปลมาให้อ่านกันนี้  เป็นความคิดเห็นของแพทย์แผนโบราณจีนกลุ่มหนึ่ง  ที่เปิดเผยทัศนะคติความคิดเห็นที่มีต่ออาหารดัดแปรพันธุกรรมว่าเป็นอย่างไร ?

ก่อนที่ จะได้เข้าถึงปัญหาข้อนี้  ควรจะได้อภิปรายทำความเข้าใจกับคำจำกัดความของคำว่า อาหารที่ “ปลอดภัย” กันเสียก่อน จากการประชุมร่วมกันขององค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ (World Health Organization) ในปี 1991 ที่ได้ตกลงบัญญัติความหมายของอาหารที่ “ปลอดภัย”เอาไว้ว่า: “ภายใต้เงื่อนไขที่สมเหตุสมผล จากการคาดคะเนว่าการบริโภคอาหารชนิดนั้นไม่ก่อให้เกิดเป็นพิษเป็นภัย ให้ถือว่าอาหารชนิดนั้นมีความ ปลอดภัย ต่อการบริโภค”

เรา จะใช้วิธีการอย่างไรในการประเมินว่าพืชอาหารที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมนั้นมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ทั่วโลกได้ยอมรับและนำมาใช้ในทางปฏิบัติตามหลักการที่ว่า  อาหารนั้นๆ มี(สมบัติ) ความเสมอเหมือนเท่าเทียมกัน จากหลักการอันนี้ เป็นการเน้นในการ ประเมิน ค่าความปลอดภัยของอาหารดัดแปรพันธุกรรม หาใช่เป็นการ ตัดสิน ว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัย  แต่เป็นการประเมินผลเปรียบเทียบความปลอดภัยระหว่างอาหารชนิดเดียวกันที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมกับที่ไม่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมเท่านั้น  และในการประเมินค่านั้นต้องตระหนักในเรื่องของ ประเด็นแยกแยะ ที่ทำให้การประเมินค่าความปลอดภัยของอาหารตัดต่อพันธุกรรมเป็นไปโดยมีอคติ


การนำเอาหลักการ ความเสมอเหมือนเท่าเทียมกัน มาเป็น กรณีแยกแยะ เราก็จะได้คำตอบโดยไม่ยาก
: ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับการอนุมัติให้ทำการผลิตในเชิงพาณิชย์นั้นล้วนมีความปลอดภัยทั้งสิ้น ตัวอย่างแรกอย่างเช่นมะเขือเทศที่คงความสดได้ยาวนานกว่าปกติก็ได้มีการวางจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับการถ่ายโอนยีนจากภายนอกที่ยังผลให้เกิดการยับยั้งการกระตุ้นการทำงานที่ก่อให้เกิดเอ็นไซม์ เอ็ททีลีน (Ethylene) ขึ้นจากยีนที่อยู่ภายใน mRNA ซึ่งตรวจไม่พบสารแปลกปลอมอื่นที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ กล่าวคือภายในผลของมะเขือเทศนั้นไม่มีส่วนที่ถูก เพิ่มเติม ขึ้น นอกเหนือจากที่มีอยู่ เมื่อนำมาบริโภค จึงถือว่ามันจึงปลอดภัยเช่นเดียวกับมะเขือเทศปกติธรรมดาทั่วๆไป

ยังมีตัวอย่างกรณีหนึ่งอันเป็นที่ข้องใจสอบถามกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับพืชตัดต่อพันธุกรรมที่มีความต้านทานต่อแมลงที่ว่า : พืชที่ถ่ายโอนยีนต้านทานแมลงที่มีพิษทำให้แมลงถึงตายได้นั้น เป็นพิษถึงคนด้วยหรือไม่? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ควรจักได้อธิบายและทำความเข้าใจถึงกลไกการต้านทานต่อแมลงของเจ้ายีนที่ว่านี้เสียก่อนว่าเป็นไปเช่นไร

ปัจจุบันการตัดต่อถ่ายโอนยีนพัฒนาให้เป็นพันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อแมลงนั้น ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ยีน Bt ที่เป็นยีนโปรตีนชนิดหนึ่งจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis แบคทีเรียชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งปกติเราได้นำมาใช้เป็นยาเชื้อ (โรค) ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยตรงมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ปี การวิจัยศึกษากลไกการกำจัดแมลงได้กระทำกันอย่างกว้างขวางละเอียดชัดเจน



ภาพวาดล้อเลียนพืชธัญหาร GMO ที่ฝ่ายต่อต้านจัดทำขึ้น


รหัสบนยีน Bt ที่สร้างโปรตีนเป็นพิษขึ้นนั้นเมื่ออยู่ภายในท้องไส้จะอยู่ในลักษณะรูปผลึก เมื่อแมลงกินอาหารที่เชื้อ Bt เข้าไปในลำไส้ที่มีสภาพเป็นด่างจัด (pH ที่10-12) ด้วยระบบการทำงานของน้ำย่อย ผลึกดังกล่าวก็จะละลายปลดปล่อยสารพิษออกมากระตุ้นให้สารพิษไวต่อปฏิกิริยาจับรวมตัวกับตัวรับภายในลำไส้  เกิดเป็นพิษจนแมลงถึงตายได้ สำหรับกลไกดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้เฉพาะแต่กับสัตว์จำพวกแมลงเท่านั้น สำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแล้วไม่เกิดผลกระทบแต่อย่างไร เพราะภายในกระเพาะของสัตว์ดังกล่าวอยู่ในสภาพของกรดจัด (pH อยู่ที่1-2 ) และภายระบบทางเดินอาหารก็ไม่มีตัวรับสารที่ Bt ผลิตขึ้นแต่อย่างใด เมื่อโปรตีน Bt ล่วงเข้าสู่ทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้ก็จะถูกน้ำย่อยที่เป็นกรดย่อยสลายแตกตัวทั้งหมดภายในไม่กี่วินาที จากการวิจัยและนำมาใช้งานนับสิบๆปี ผลที่ปรากฏนั้นได้รับการยืนยันว่า ยีนโปรตีน Bt ไม่สามารถทำให้เกิดเป็นพิษขึ้นกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกหรือปลาเหมือนกับพวกแมลงที่เป็นสัตว์เป้าหมายโดยตรง

พื้นที่เพาะปลูกอันกวางใหญ่ในอเมริกาที่ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมที่มียีนต้านทานแมลงนั้นมีทั้ง ข้าวโพด ฝ้าย ยังไม่เคยปรากฏผู้ใดเกิดอันตรายเป็นพิษเป็นภัยแม้รายเดียว (แต่เกิดอันตรายจากสารเคมียาฆ่าแมลงเสียมากกว่า) นอกเหนือจากนี้แล้ว  วิทยาการด้านนี้  เวลานี้ได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นถึงกับสามารถกำหนดโครงสร้างที่ต้องการให้ยีนไปสถิตอยู่ตามจุดที่ต้องการได้ หรือให้มีการทำงานภายใต้เงื่อนไขสภาวะที่เกิดขึ้นได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ข้าวที่มีความต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้นชนิดหนึ่ง ยีนที่ตัดต่อใส่เข้าไปจะถูกกำหนดให้มีอยู่แต่ที่ส่วนของลำต้นเท่านั้น เมื่อแมลงกัดกินจึงจะสร้างสารพิษขึ้นมา และจะไม่สร้างสารพิษเกิดขึ้นในเมล็ดพืชแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเบาใจได้ว่าจะมีความปลอดภัยต่อการบริโภคอาหารที่ได้รับการตัดต่อถ่ายโอนพันธุกรรม


ผู้คนมากมายกังวลใจว่าการบริโภคอาหารตัดแต่งพันธุกรรม (GMF) เข้าไปจะทำให้พันธุกรรมที่ตัดต่อใส่เข้าไปในอาหารนั้นไปเปลี่ยนแปลง ยีน ของร่างกายมนุษย์เราได้และจะตกทอดต่อๆไปยังลูกหลานรุ่นถัดไป ความวิตกกังวลใจเช่นนี้นับเป็นความเข้าใจผิด  ขาดความเข้าใจในในข้อมูลพื้นฐานที่ถือเป็นเรื่องธรรมดาอย่างแท้จริง เนื่องจากภายในเซลล์หนึ่งๆของสิ่งที่มีชีวิตนั้น ประกอบไปด้วยหน่วยของพันธุกรรมนับพันนับหมื่นหน่วยเลยทีเดียว เมื่อเราขบเคี้ยวขยอกกลืนอาหารเข้าไปหนึ่งคำ ก็กลืนกินเอาหน่วยของพันธุกรรมนับล้านๆเข้าสู่ร่างกายแล้ว และมนุษย์เรายังคงมีชีวิตดีอยู่ มีการสืบสายพันธุ์ดำรงคงอยู่เรื่อยมานับพันนับหมื่นปีจวบจนทุกวันนี้ ไม่เคยฉุกคิดวิตกกังวลใจต่อผลกระทบที่เกิดจากหน่วยของพันธุกรรมในอาหารที่ตัวเรากินเข้าไปทั้งที่เป็นพืชหรือสัตว์แต่อย่างใด ทั้งๆที่ได้กินมานามหลายชั่วอายุคนแล้ว  แล้วเหตุใดจึ่งเกิดข้อกังขาขึ้นกับอาหารดัดแปรพันธุกรรมเท่านั้น ? (เข้าทำนอง รู้มากชักขยาดขลาดกลัว)

ยังมีความจริง ที่ควรได้รับรู้ไว้ด้วยว่า จาการวิจัยค้นคว้าของนักวิชาการด้านพันธุศาสตร์พบว่า ในกลุ่มของหน่วยของพันธุกรรมที่มีอยู่ทั้งในพืช สัตว์ หรือแม้กระทั่งในจุลชีพนั้นมีแหล่งที่มาจากแหล่งเดียวกันทั้งสิ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อเราพูดถึง พืช สัตว์ หรือสิ่งที่มีชีวิตเล็กๆ นั่นเป็นการกล่าวถึงส่วนที่เป็นรูปร่างตัวตน  แต่เมื่อพูดถึงระดับของยีนแล้ว ไม่ว่ายีนของพืชหรือสัตว์นั้นมิได้มีความแตกต่างพิเศษเฉพาะตัวแต่อย่างใดเลย  ผู้คนต่างเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากธรรมชาติเท่านั้นที่มีความปลอดภัยในการบริโภค  แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านการตัดต่อยีนมาแล้วนั้นไม่มีความปลอดภัยเมื่อบริโภคเป็นอาหาร  นับเป็นความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง


ก่อนอื่น ควรทำความเข้าใจว่า    การปรับแต่งหน่วยพันธุกรรรม (ยีน) พืชนั้นหาได้เพิ่งเกิดขึ้นจากการตัดต่อถ่ายโอนที่กำลังถกเถียงกันในขณะนี้ไม่   หากแต่ได้เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์มาแล้วร่วมหมื่นปี (จากขบวนการผสมคัดพันธุ์ / ผสมข้ามพันธุ์ ก็เป็นการดัดแปรพันธุกรรมพืชวิธีหนึ่งเช่นกัน) การเรียกขานพืชที่ทำการตัดต่อถ่ายโอนพันธุกรรมว่า “พืชดัดแปรพันธุกรรม” แล้วพืชที่ผ่านการผสมคัดพันธุ์แบบอย่างดั้งเดิมที่ทำกันมามานับครั้งไม่ถ้วน มีการเปลี่ยนแปลงถ่ายโอนยีนมาแล้วนับจำนวนพัน ไม่ใช่พืชดัดแปรพันธุกรรมด้วยหรอกหรือ ? พืชพรรณธัญหารที่เรากินทุกวันนี้ยังถือได้ว่า “บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ” อยู่อีกหรือ ?

ถัด ต่อมา พืชผลที่เกิดตามธรรมชาตินั้นก็หาใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไปไม่  พืชพรรณต่างๆที่อุบัติขึ้นในธรรมชาตินั้นต่างก็สร้างสารที่มีพิษขึ้นในระดับที่แตกต่างกัน  อันเป็นกลไกปกป้องตัวเองอย่าหนึ่งที่เกิดขึ้นในการวิวัฒนาการตนเอง  เป็นกลไกต่อต้านป้องกันสัตว์หรือแมลงที่จะเข้ามากัดกินทำลายตัวมัน  ตัวอย่างเช่นมันฝรั่งป่ามีสารที่เรียกว่า หลงขุยเจี่ยน (龙葵碱) เป็นพิษต่อคนและสัตว์อย่างรุนแรง  แต่หลังจากผ่านการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เรื่อยมา  จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ปราศจากสารพิษดังสายพันธุ์ที่เพาะปลูกกันอยู่ทุกวันนี้  ในช่วงที่มีการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ธัญพืชป่านานาชนิดนั้น  ก็พบว่ายังมีพืชที่มีพิษร้ายแรงยิ่งกว่ามันฝรั่งเสียอีก  แม้แต่ถัวเหลืองนั้นก็ยังมีสารพิษที่ก่อให้กระเพาะเป็นตะคิวลำไส้บิดได้  มนุษย์ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขลดสารพิษในพืชที่ใช้เป็นอาหารได้ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภคจำนวนมาก  แต่ยังเห็นได้ว่าอาหารที่กินอยู่ทุกวันนี้นั้นก็ยังมีผลกระทบในทางที่ไม่ดีในระดับที่แตกต่างกันออกไป  โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นนั้นมีส่วนสัมพันธ์จากอาหารที่กินเข้าไปด้วยเช่นกัน



พืชพรรณธัญหารหลายชนิดที่ได้รับการสอดแทรก ยีน จากภายนอกเข้าไป
เพื่อหวังผลตามเป้าหมายที่ต้องการ อาทิเช่น ความต้านทานต่อโรค แมลง
ยาควบคุมวัชพืช เพิ่มผลผลิต รักษาความสดให้คงทน และผลิตสารที่ต้องการ เป็นต้น


นอกจากนี้แล้ว  ความเข้าใจที่ว่าอาหารชนิดนั้นมีปลอดภัยก็ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ดี  กล่าวคืออาหารชนิดนั้นปลอดภัยต่อคนกลุ่มหนึ่ง แต่กลับไม่ปลอดภัยต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง อย่างเช่น กุ้งหรือปูที่เป็นอาหารรสโอชาของคนส่วนใหญ่นั้น  เมื่อกลืนกินเข้าไปแล้วก่อเกิดอาการแพ้ขึ้นในคนกลุ่มน้อย อย่างนี้เป็นต้น บางคนกล่าวว่า  ก่อนที่จะได้มีการอนุมัติผลิตและจำหน่ายเป็นสินค้าได้นั้น  ควรที่จะได้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารดัดแปรพันธุกรรมในระยาวเสียก่อน  แต่ขอได้เข้าใจว่า  อาหารหลักๆที่เรากินกันทุกวันนี้นั้น  ก่อนที่จะผ่านกรรมวิธีมาจนกระทั่งเป็นอาหารสำเร็จรูปนำมาบริโภคนั้น  เราก็ไม่ได้ทำการตรวจสอบความเป็นพิษ และไม่ได้ทำการตรวจความปลอดภัยในระยะยาวแต่อย่างใด  ซึ่งก็ไม่เห็นมีผู้ใดยืนยันกล่าวหาว่าอาหารเหล่านี้ไม่มีความปลอดภัยแต่ประการใด  และถึงแม้เราจะรู้ว่าการกินอาหารบางจำพวกเป็นเวลานานๆจำนวนมากๆนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย (เช่นอาหารไขมันสูง โปรตีนสูง เป็นต้น) ก็ไม่เห็นมีผู้ใดออกมาคัดค้านต่อต้านกันเลย

การเพาะปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในพื้นที่กว้างใหญ่ (GMO) นั้นมีมาไม่น้อยกว่าสิบปีแล้ว มีผู้คนบริโภคกินกันไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านคน  การประชุมใหญ่ขององค์กรพัฒนาประชาชาติที่จัดประชุมขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารดัดแปรพันธุกรรมในปี 2,000 นั้น  มีตัวแทนของประเทศต่างๆเข้าร่วมถึง 400 คน  กอปรด้วยนักวิจัย  เจ้าหน้าที่รัฐ  นักธุรกิจอุตสาหกรรม  รวมทั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ที่ประชุมได้เชิญชวนให้ฝ่ายที่ต่อต้านอาหารดัดแปรพันธุกรรมได้นำเสนอหลักฐานความไม่ปลอดภัยที่กล่าวหา  แต่ก็ไม่มีใครหยิบยกหลักฐานที่ชัดเจนชี้ชัดแม้แต่รายการเดียว  ดังนั้นการพิจารณาถึง  ความปลอดภัยของอาหารดัดแปรพันธุกรรมจึงควรเป็นเรื่องปกติทั่วไป  โดยยึดถือหลักพื้นฐานของอาหารปลอดภัยทีบัญญัติไว้ว่า “มีความเสมอเหมือนเท่าเทียมกัน”มาเป็นเครื่องพิจารณา


หมายเหตุ : หัวข้อถกเถียงจากทั้งสองฝ่ายที่เห็นด้วยกับกับไม่เห็นด้วยในการปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมที่มีการตัดต่อถ่ายโอนหน่วยพันธุกรรมอันเรียกกันว่าพืชหรือสัตว์ GMO เพื่อใช้เป็นอาหารคนและสัตว์นั้น มีอยู่ 2 ประเด็นที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนลงไป ประเด็นแรกนั้นก็คือความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกาย ประเด็นที่สองก็คือผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม กลัวเกิดการปนเปื้อนของยีนที่ได้ทำการตัดต่อถ่ายโอนแพร่กระจายสู่ธรรมชาติ ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ได้หยิบยกเหตุผลมาโต้กัน ฝ่ายที่คัดค้านก็ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันได้อย่างชัดเจน เพราะยังมีความคลุมเครืออยู่ เนื่องจากเป็นแค่การสันนิฐานเบื้องต้นเท่านั้น แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การคัดค้านที่เกิดขึ้นแล้วอาจจะวิเคราะห์ได้ว่าขึ้นอยู่กับข้อ ได้เปรียบเสียเปรียบและ ผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ มากกว่าอื่นใด โดยมีการหยิบยกเอาความปลอดภัยต่อสุขภาพ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระบบนิเวศน์ธรรมชาติมาเป็นข้ออ้าง (ซึ่งยังพิสูจน์ไม่ได้) เมื่อพิจารณาตามเหตุผลที่ฝ่ายสนับสนุนยกมาอ้างแล้ว ดูออกจะได้เปรียบเชื่อถือได้มากกว่า  เพราะเป็นเหตุผลบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความเป็นจริง เนื่องจากได้มีการปลูกและบริโภคมานานนับสิบปีจากผู้บริโภคนับพันล้านคน ยังไม่มีผลกระทบเสียหายเกิดขึ้นอย่างชัดแจ้งแดงแจ๋ชนิดที่โต้แย้งไม่ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังฟันธงลงไปไม่ได้ เพราะผลของมันอาจต้องใช้เวลาที่ยาวนานมากกว่านี้ ฝ่ายที่คัดค้านไม่เห็นด้วยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นประเทศแถบยุโรปที่มีความก้าวหน้าด้านนี้ล้าหลังกว่าอเมริกาและคานาดาหลายช่วงตัว อาจจะหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อประวิงเวลาให้มีโอกาสไล่ตามได้ทันเสียก่อน แล้วค่อยสมยอมทีหลัง เพื่อไม่ให้เกิดเสียเปรียบเป็นรองประเทศอื่น (คัดค้านไม่เห็นด้วย แต่ก็ให้การสนับสนุนนักวิชาการตนเองวิจัยค้นคว้าไม่ยิ่งหย่อนน้อยไปกว่ากัน เข้าทำนองเกลียดตัวกินไข่นั่นแหละ)


ส่วน ประเทศไทยเรานั้น ผู้ที่สนับสนุนนั้นส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความรู้ ส่วนผู้ที่คัดค้านนั้นจะเป็นกลุ่มที่ไม่ใคร่เข้าใจในหลักวิชาการมากนัก ด้วยสาระเรื่องราวของประเด็นนี้ต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน  โดยเฉพาะทางด้านสาขา ชีววิทยา จุลชีววิทยา พันธุกรรมและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ชาวบ้านทั่วไปไม่สามารถใคร่ครวญแยกแยะได้อย่างถูกต้องตามหลักเหตุและผล จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ได้พิเคราะห์ด้วยตนเอง หากแต่จะเป็นการเห็นคล้อยตามคำชักจูงกันมากกว่า

ถ้าจะถกกันบนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ว่า มีความปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่ และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ธรรมชาติหรือไม่ตามหลักวิชาการแล้วด้วยการตัดเอาประเด็นอื่นๆออกทิ้งไปก็น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น  เพราะเหตุผลข้ออ้างของผู้ต่อต้านไม่เห็นด้วยในบ้านเราก็คือกลัวว่าเราจะไม่สามารถส่งสินค้าเหล่านี้ออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ (เพราะประเทศคู่ค้าเหล่านั้นไม่ยอมรับ หาใช่เหตุผลตรงตามประเด็นที่หยิบมาข้ออ้างแต่อย่างใด)  รวมทั้งข้อเสียเปรียบในทางการครอบครองลิขสิทธิ์พันธ์พืชที่ผลิตขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่
ดังนั้นปัญหาของประเทศไทยที่ว่า จะรับ - ไม่รับเอาพืชหรือสัตว์ GMO จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเด็นทั้งสองนี้ แต่คิดว่าน่าจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เพราะนั่นคือความอยู่รอดของประเทศและประชาชนชาวไทยมากกว่าข้อเท็จจริงทางหลักวิชาการ เนื่องจากเราเป็นประเทศที่ส่งออกพืชพรรณธัญหารเป็นหลัก ครานี้ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะตัดสินใจได้แล้วว่า ต้องการ หรือ ไม่ต้องการ พืช GMO    

ดูการโต้แย้งด้วยเหตุผลของผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน ผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากแม่วัวที่ตัดต่อยีน BST (เรียก rBST) ที่เป็นตัวผลิตฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่งน้ำนม และผลการตัดสินนั้น ศาลอนุมัติให้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวต่อไปได้ ที่เว็บไซท์
ไซท์


 
http://www.cfs.gov.hk/tc_chi/programme/programme_gmf/programme_gmf_wn.html




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google