ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


อาร์ติโชค (artichoke) article

อาร์ติโชค (artichoke) เป็นชื่อเรียกพืชต่างประเทศชนิดหนึ่ง ชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ เยรูซาเลม อาร์ติโชค (Jerusalem artichoke) ชาวจีนเรียกว่า หยางเจียง (洋姜 = ขิงฝรั่ง) มีชื่อทางวิชาการว่า Helianthus tuberosus L ประเทศไทยเราเพิ่งนำเข้ามาปลูกวิจัย ตั้งชื่อให้พเราะเพราะพริ้งว่า แก่นตะวัน เป็นพืชล้มลุกอายุยืนหลายปีสายพันธุ์เดียวกับทานตะวัน (Family: Asteraceae Compositae Genus: HelianthusSpecy: tuberosus) มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ  แพร่พันธุ์สู่ประเทศจีนจากการนำเข้ามาของชาวยุโรป จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อว่า กุ่ยจื่อเจียง (鬼子姜 = ขิงฝรั่ง/ชาวจีนมักจะเรียกฝรั่งว่า กุ่ย ซึ่งแปลว่า ผี เป็นคำเรียกที่ติดดูแคลน) ส่วนที่นำมาบริโภคนั้นคือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นที่สะสมอาหารลึกลงไปในดิน  เรียกกันว่า หัว  มีรูปทรงกลมออกรีเหมือนกับหัวเผือกในบ้านเรา แต่ทว่ามีรูปสันฐานไม่แน่นอนคงที่ อาจจะมีรูปทรงบิดเบี้ยวแตกต่างกันมากมายหลายรูปแบบ  มีผิวเปลือกเป็นสีแดง เหลือง หรือขาว เนื้อเนียน และกรอบ แต่ไม่นิยมกินสดเพราะรสชาติไม่อร่อยลิ้น  อาร์ติโชคปรับตัวเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไป ลำต้นสูง 2 – 3 เมตร ใบรีเป็นรูปไข่  ดอกสีเหลืองคล้ายดอกบัวตองที่ขึ้นอยู่ทางภาคเหนือในประเทศไทย  ปลูกกระจายกันทั่วไปทางเขตุทางเหนือและทางใต้ของประเทศจีน  อาร์ติโชคปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขึ้นได้ในที่ๆขาดความอุดมสมบูรณ์  ปลูกง่าย  ทนแล้ง  ทนอากาศหนาวเย็น  ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนาน จากการวิเคราะห์สารประกอบที่มีอยู่ในหัวของมันนั้นประกอบไปด้วย น้ำ 79.8%, คาร์โบไฮเดรท 16.6%, โปรตีน 1.0%, เยื่อใย 16.6%, เถ้า 2.8% และไวตามินจำนวนหนึ่ง คาร์โบไฮเที่มีอยู่ทั้งหมดนั้นอยู่ในรูปของ อินนูลินถึง (inulin) 78 %  ในหัวของอาร์ติโชคนั้นมีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย0.09%,  threonine  0.8%,  isoleucine  0.09%,  methionine  0.09%, 0.24%, histidine 0.06%,
arginine  0.12%, phenylalanine  O.13%.

ประเทศจีนได้มีการปลูก อาร์ติโชคกันมานานแล้ว  ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์ และใช้เป็นพืชสมุนไพรบำรุงร่างกาย  สำหรับประเทศไทยเรา  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพิ่งจะได้มีการนำพันธุ์จากประเทศอิสราเอลเข้ามาทดลองปลูกทำการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้  แนวทางการวิจัยเพื่อนำมาใช้เป็นพืชอาหารสัตว์และผลิต เอทานอล เชื้อเพลิงทดแทนชีวภาพ  ปรากฏว่าขึ้นงอกงามได้ดี  และเตรียมการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยปลูกเป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่ง

รายละเอียดมากกว่านี้จะได้นำเสนอให้อ่านกันในโอกาสต่อไปเร็วๆนี้ หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่หน้าเว็บไซท์    
http://www.doa.go.th/fieldcrops/jeru/001.HTM


 

Artichoke

อาร์ติโชค (artichoke) มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาจีนว่า จวี๊อยี่ (菊芋) แปลความได้ว่า เผือกเบญจมาศ เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกับเบญจมาศที่ให้หัวเหมือนเผือกนั่นเอง   ดังได้กล่าวมาแล้วว่า อาร์ติโชค นั้นปรับตัวได้ดี และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เข้มแข็งมาก ทนทั้งแล้งและอากาศที่หนาวเย็น โดยธรรมชาติจะฟื้นตื่นจากการพักตัวที่อุณหภูมิ 6~7  ℃  และแตกตาแทงยอดงอกเป็นต้นอ่อนเมื่ออุณหภูมิถึง 8~10℃ ต้นอ่อนทนอากาศหนาวเย็นได้ถึง 1~2℃   เมื่อมีช่วงแสงต่อวันยาว 12 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 18~22℃ มีผลเสริมส่งต่อการสร้างหัวใต้ดินเป็นอย่างดี หัวที่ฝังอยู่ลึกในดินอย่างน้อย 1 เซ็นติเมตรที่อุณหภูมิ–25 ~–40 ℃ จะพักตัวอยู่ได้เป็นเวลานาน

 

 

อาร์ติโชคได้รับการคัดเลือกให้เป็นพืชฟื้นฟูผืนดินเสื่อมโทรมที่เป็นทรายในที่แห้งแล้งได้อย่างดีเยี่ยม  มันสามารถแตกตาแทงยอดโผล่ขึ้นสู่อากาศเบื้องบนที่ถูกทรายกลบทับหนาถึง 50 เซ็นติเมตรได้อย่างสบายๆ  อีกทั้งระบบรากที่หนาแน่นของมันยังเกาะยึดดินทรายไว้ได้เป็นอย่างเหนียวแน่น  จัดเป็นพืชอนุรักษ์ดินที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง  จีนนำไปปลูกในทะเลทรายเป็นการทดสอบร่วม 170 ไร่ ในเขตแห้งแล้งที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยนิด ปรากฏว่าพืชชนิดอื่นๆพากันแห้งเหี่ยวเสียหาย  แต่อาร์ติโชคยังคงเติบโตได้เป็นปกติ เมื่อขุดลึกลงในดินประมาณ 1 เมตร จะเห็นระบบรากที่ชอนไชประสานกันอย่างหนาแน่น  การปลูกอาร์ติโชคอนุรักษ์ดินนั้นจึงเป็นหนทางที่ดีและมีต้นทุนต่ำเอามากๆ  ใบที่แห้งเหี่ยวจะช่วยปกคลุมดิน และเมื่อเน่าเปื่อยก็จะถูกย่อยสลายเป็นอินทรีย์สารเพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่พื้นผิวดินอีกโสดหนึ่ง


 

Artichoke

 

Artichoke


 

การปลูกอาร์ติโชคเพื่อฟื้นฟูพื้นที่แห้งแล้งในทะเลทรายนั้น  เมื่อทำการปลูกแค่ครั้งเดียวก็สามารถแพร่ขยายพันธุ์รุกพื้นที่คืบออกไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตรา 20 เท่าตัวต่อปีเมื่อขยายพันธุ์ด้วยหัวของมัน  และยังแพร่กระจายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่ถูกลมพัดพาไปยังที่ห่างไกลออกไปได้อีกทางหนึ่ง  นอกจากนั้นแล้ว อาร์ติโชคยังเป็นพืชที่แทบจะไม่มีโรคและแมลงรบกวน  นอกจากการใช้แรงงานในการปลูกและเก็บเกี่ยวแล้ว ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆแทบจะไม่มีเลย นับเป็นการลงทุนต่ำและให้ผลได้เร็ว  จากรายงานการปลูก อาร์ติโชคฟื้นฟูพื้นที่ทะเลทรายในประเทศจีนนั้นต้นทุนค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 500 – 600 บาท/ไร่ เท่านั้น หลังจากปลูกไปแล้ว 3 ปี จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 3,600 กิโลกรัม/ไร่ จะขุดเอาหัวไปขยายพันธุ์ นำไปจำหน่ายหรือแปรรูปก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ความต้องการ


 

Artichoke


 

Artichoke
ลักษณะลำต้นของอาร์ติโชกจะมีขนเล็กๆอยู่มากมาย
ขนเหล่านี้เป็นตัวช่วยระบายความร้อนให้แก่มันเป็นอย่างดี

 

Artichoke
ดูกันให้ชัดๆ ลักษณะของหัว อาร์ติโชก เหมือนแง่งขิงมากเลยทีเดียว

 

Artichoke
ดอกของอาร์ติโชก มีสีเหลืองสดสวย

 

Artichoke Product
ผลิตภัณฑ์จากหัวอาร์ติโชก มีทั้งแป้ง และ ไฟเบอร์

 

Artichoke Product
ผลิตภัณฑ์จากหัวอาร์ติโชก มีทั้งแป้ง และ ไฟเบอร์

 

Artichoke
ต้นอาร์ติโชกที่ปลูกใน ญี่ปุ่น มีขนาดต้นสมบูรณ์ สูงใหญ่

 

Artichoke Product
ผลิตภัณฑ์จากหัวอาร์ติโชก Inulin

 

Artichoke Product
ผลิตภัณฑ์ในรูปเส้นใยอาหารอัดเม็ด (Fiber)


 

อาร์ติโชก
การปลูกอาร์ติโชกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำแห่งหนึ่งในประเทศจีน
เป้นการฟื้นฟูสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และได้ผลผลิตอีกต่างหาก


 

อาร์ติโชค เป็นพืชที่มีคุณค่าเอนกอนันต์ ทุกส่วนของมันนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทั้งหมด หัวของมันประกอบไปด้วย กรดอมิโนหลายชนิด น้ำตาล และไวตามินอีกหลายตัว นำมาบริโภคสดหรือปรุงสุกก็ได้  นำมาบดเป็นแป้ง ผลิตน้ำตาล แอลกอฮอล์ ยา อาหารเสริมบำรุงสุขภาพ เป็นต้น  ใบและหัวของมันใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ด้วย

น้ำตาลในหัวอาร์ติโชคนั้นส่วนใหญ่จะเป็น ฟลุกโตส ที่เหมาะกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน  ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ-ลำไส้  เนื่องจากเป็นแหล่งอาหหารที่ดีของจุลินทรีย์  Lactobacillus และ  Bifidobacteria ทำให้มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมามีกลิ่นและแก๊สแอมโมเนียลดน้อยลง

สารในหัวอาร์ติโชคยังยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Coliform, Salmonella, E. coli และ Clostridium mujme. ที่ทำให้เกิดโรคบางอย่างได้ และยังใช้เป็นสารต้านโรคมะเร็ง  ลดความอ้วนได้อีกด้วย
ปัจจุบันได้มีการนำเอาแป้งที่ได้จากหัวอาร์ติโชคมาผลิต เอทานอล เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันฟอสซิลกันขนานใหญ่ และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าผลผลิตจากพืชชนิดอื่นๆในพื้นที่เท่าๆกัน

อาร์ติโชคจึงเป็นพืชที่น่าจับตามอง และส่งเสริมให้เป็นพืชทางเลือกของเกษตรกรอีกชนิดหนึ่ง  ถ้ามีการวางแผนการผลิต การแปรรูป การใช้งานและการตลาดที่เหมาะสมก็จะเป็นพืชทำเงินอีกชนิดหนึ่งในอนาคต


ผู้ที่สนใจแหล่งผลิตอาร์ติโชค และขิง แหล่งใหญ่สามารถแวะเวียนเข้าไปชม หาข้อมูลได้ที่
http://www.china-hongsheng.com.cn/cpzs1.htm







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google