บอกอำลาควันไฟไปได้เลย 

|
จากการใช้ฟืนหรือเศษวัสดุหลังเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจำพวกต้นถั่วเหลืองซังข้าวโพด ฟางข้าว เปลือกถั่ว หรือเศษหญ้าแห้งอื่นๆ เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม หรือไม่ก็ทำลายทิ้งด้วยการเผานั้น ความร้อนที่ได้จากการเผาเชื้อเพลิงโดยตรงเหล่านี้นั้นค่อนข้างต่ำเอามากๆ แค่ 10 15 % ของปริมาณเต็ม 100 อีกทั้งยังก่อเกิดควันไฟที่แผ่กระจายไปทั่วในบรรยากาศ เป็นมลภาวะก่อเกิดเป็นพิษต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคทางระบบหายใจ และมีผลกระทบบดบังวิสัยทัศน์ในการเดินทางทางรถยนต์และทางอากาศอีกด้วย
|
ท่อและบ่อป้อนวัตถุดิบ ที่เห็นเป็นซังข้าวโพดที่ปกติต้องทำลายทิ้ง ถ้าไม่เผาก็ต้องขนไปทิ้งตามแหล่งทิ้งขยะ
|

|
นับแต่นี้ต่อไป สภาพบรรยากาศที่ว่านี้จะค่อยๆลดน้อยลงไป จากการศึกษาและวิจัยการนำเอาเศษสิ่งเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยวพืชสวนพืชไร่มาใช้ประโยชน์โดยการนำมาผลิตเป็นไบโอแก๊สเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ชุมชนในชนบทที่ห่างไกลจากตัวเมือง นับเป็นการนำเอาทรัพยากรไร้ประโยชน์ที่ต้องทิ้งต้องขว้างมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างคุ้มค่า
วัตถุดิบที่เห็นในรูปซ้ายมือก็คือเปลือกถั่วลิสง |
 ถังเก็บกักแก๊สที่มีความจุ 1,000 ลูกบาศก์ เมตร ที่อำเภอซาซานชุน
|
 เครื่องจักรผลิตกำลังไฟฟ้าที่เดินเครื่อง ด้วยแก๊สเชื้อเพลิงแห้งจากเศษวัสดุ เหลือหลังเก็บเกี่ยว
|
เมื่อความก้าวหน้าและพัฒนาการทางด้านวิทยาการก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ เป็นแรงหนุนส่งให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนสะดวกสบายยิ่งขึ้น การบริโภคใช้พลังงานต่างๆก็ย่อมเพิ่มเป็นเงาตามตัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงเหลว อย่างน้ำมันจากแหล่งธรรมชาติ นั่นหมายถึงการร่อยหรอสิ้นเปลืองไปโดยไม่มีวันหวนกลับคืนมา อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงและแพงขึ้น แพงขึ้นตลอดมา เพื่อเป็นการหาพลังงานมาทดแทนพลังงานที่ค่อยๆหมดไปจากโลก นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาหาทางวิจัยผลิตเชื้อเพลิงหมุนเวียนขึ้นมาให้มีได้ใช้ตลอดไป นั่นก็คือพลังงานเขียว หรือพลังงานจากพืชที่เราเรียกว่า ไบโอฟิวน์ นั่นเอง แต่การผลิตไบโอฟิวน์ หรือที่เรียกว่า เชื้อเพลิงเหลวชีวมวลนั้น ต้องใช้ธัญพืชหรือพืชอาหารของคนเราและสัตว์เลี้ยงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต จึงเท่ากับเป็นการเบียดบังแก่งแย่งวัตถุดิบจากแหล่งผลิตเดียวกัน เป็นการทำให้ราคาอาหารที่ใช้บริโภคแพงขึ้นไปด้วย หนทางที่ถูกที่ควรแล้วนั้นควรจะเป็นการนำเอาเศษพืชผลหลังเก็บเกี่ยวที่ต้องกำจัดทิ้งขว้างไปทำให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมและมีเหตุผลมากกว่ากัน ดังนั้นเตาไบโอแก๊สจึงได้ถูกคิดค้นผลิตขึ้นมาใช้งานเพื่อการนี้โดยเฉพาะ |
 เศษฟางข้าวที่ก่อนหน้านี้ต้องกำจัดทิ้ง ปัจจุบันกลับ กลายเป็นสิ่งมีค่าใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
|
บริษัท จี่หนานไป่ชวนถงช่วงซื้อแยะ จำกัด (济南百川同创实业有限公司) บริษัทเอกชนที่ทำการค้นคว้าวิจัยสร้างอุปกรณ์ผลิตไบโอแก๊สจากเศษชิ้นส่วนหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชไร่ทุกชนิด จากการวิจัยทดสอบร่วม 4 ปี จึงสามารถสร้างโรงงานต้นแบบที่ใช้งานได้จริงสมบูรณ์แบบ ด้วยความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์ยูเครน 8 ท่าน ทำให้ประสบความสำเร็จในการสร้างโรงงานแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้ขึ้นที่เมืองลี่เฉินชวี อำเภอซาซานชุน นครจี่หนาน มณฑลซานตง จากการลงทุน 6,000,000.00 บาท ใช้พื้นที่ก่อสร้างโรงงาน 3,500 ตารางเมตร เป็นโรงงานผลิตในระบบอัตโนมัติ เพียงแค่คอยป้อนใส่วัตถุดิบให้อย่างต่อเนื่องเท่านั้น ก็สามารถผลิตไบโอแก๊สได้ในอัตราเร็ว 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ในราคาต้นทุนเฉลี่ย 1.00 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สชนิดนี้เพื่อทำอาหารและต้มน้ำสำหรับหนึ่งครัวเรือนที่มีสมาชิก 3 คน นั้น สิ้นเปลืองแค่ 150.00 บาทต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งสามารถประหยัดเงินได้ 2,000.00 ถึง 6,000.00 บาท ต่อปี จากเดิมที่เคยใช้ถ่านหิน และแก๊ส LPG ตามลำดับ ปริมาณการผลิตที่ว่านี้ไม่เพียงแต่ป้อนเป็นเชื้อเพลิงส่งจ่ายไปตามท่อให้แก่บ้านเรือนในเมืองกว่า 400 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้นกว่า 1,430 คนเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งจ่ายเผื่อไปให้แก่หมู่บ้านใกล้เคียงอีก100 กว่าหลังคาเรือนอีกด้วย ถือเป็นโรงงานที่จ่ายพลังงานได้ถึง 2 รูปแบบ นั่นก็คือแก๊สหุงต้ม และไฟฟ้าไปพร้อมๆกัน |
 กลุ่มบุคคลที่เดินทางมาศึกษาดูงาน เพื่อนำกลับไปก่อสร้างติดตั้งในชุมชนของตนเอง
|
ข้อดีและข้อได้เปรียบของโรงงานผลิต ไบโอแก๊สชนิดนี้นั้น วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นแก๊สเชื้อเพลิงนั้น ล้วนเป็นเศษวัสดุหลังเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจำพวกพืชไร่ที่ต้องเสียทั้งเวลา-แรงงานและค่าใช้จ่ายในการกำจัด เท่ากับเป็นการนำสิ่งของไร้ค่าให้กลายกลับมีค่าขึ้นมา สามารถนำมาผลิตโดยไม่ต้องผ่านการบ่มหมักแต่อย่างใด เพียงแค่อย่าให้มีความชื้นเกิน 20 % เท่านั้น เชื้อเพลิงลุกไหม้นี้เป็นเชื้อเพลิงสะอาด ไม่มีควันและกลิ่น เนื่องจากสามารถควบคุมการเผาไหม้ได้หมดจด ดังนั้นจึงไม่เป็นการสร้างมลภาวะให้เกิดขึ้นแก่บรรยากาศแวดล้อม ทำให้สุขภาพชุมชนดีขึ้นอีกต่างหาก ผลสำเร็จครั้งนี้ ได้ทำให้หน่วยงานตามชนบทอื่นๆในประเทศจีน ต่างหันมาก่อสร้างโรงงานแบบอย่างที่ว่านี้ตามมาไม่ขาดสาย เนื่องจากวัตถุดิบมีต่อเนื่องตลอดทั้งปีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว |
 กลิ่นและควันไฟในครัว ต่อแต่นี้ไปไม่มีให้ เห็นให้ดมแสบตาแสบจมูกอีกแล้ว
|
ส่วนประกอบของแก๊สชีวมวลที่เกิดขึ้นจากขบวนการสันดาปที่อับอากาศขาดออกซิเจน มีดังนี้ 15.27 %, carbon monoxide 3.12 %, oxygen 56.22 %, nitrogen 1.57 %, methane 0.03 %, propane 0.05 %, propylene | |