ปรับปรุงพันธุ์พืช เพิ่มผลผลิตด้วยเทคนิค Ion beam bio-engineering 
นักวิทยาศาสตร์จีนได้ศึกษาถึงผลของอนุภาคไอออนต่างๆที่มีต่อต้นพืช และได้นำเอา ไอออนที่อยู่ในสถานะของ พลาสมา มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชในด้านต่างๆ เช่น ลักษณะของโครงสร้าง คุณภาพและผลผลิต รวมทั้งภูมิต้านทานต่อโรค-แมลงและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างภาพที่นำมาแสดงในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่น่าสนใจศึกษาติดตามเป็นอย่างยิ่ง |
 ผลของใบถั่วเหลืองที่เกิดจากการชักนำของ พลาสมาไอออน จำนวนแผ่นใบจะเพิ่มจาก 3 เป็น 4 ,5, 6, 7 และ 8 ใบ
|
 ลักษณะที่เปลี่ยนไปของต้นถั่วเหลืองที่แตกกิ่งก้านอีกมากมาย
|
 เมล็ดถั่วเหลืองที่ได้จากต้นที่ ชักนำด้วย พลาสมาไอออน (ซ้ายมือ) กับเมล็ดที่ได้จากถั่วเหลืองปกติพันธุ์เดียวกัน
|
 เมล็ดถั่วหลากสีที่ได้จากขบวนการ พลาสมาไอออน
|
 ข้าวโพดที่ติดฝักมากขึ้น (ซ้ายมือ)
|
 พืชที่ผ่านขบวนการนี้(ซ้ายสุด 3 แถว) ปลูกในสารอุ้มน้ำ เพื่อนำไปปลูกฟื้นฟูพื้นทรายที่เสื่อมโทรม
|
 เกษตรกรกำลังหว่านเมล็ดข้าวที่ผ่านการ Treat จาก Ion beam ด้วยเครื่องหว่านเมล็ด ซึ่งมีระยะการพักตัวและระยะเวลาการปลูกสั้นลง ไม่ไวต่อแสงและทนต่ออากาศที่หนาวเย็นได้ดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงกว่าเดิม (1,000 กิโลกรัม/ไร่) เพิ่มรายได้เป็น 10 เท่าต่อหนึ่งฤดูกาลเพาะปลูก
|

|
 สาร GA ที่มีอยู่ในใบแตงโมอันเกิดจากการชักนำด้วยขบวนการนี้ มีสูงกว่าในใบ แปะก้วย ถึง 80 %
|

|

|
ดอกคาร์เนชั่น ที่แตกต่างกันทั้งสีและฟอร์มที่เห็นทางขวามือนั้น เกิดจากขบวนการ Ion beam bio-engineering จากต้นแม่พันธุ์ทางซ้ายมือทั้งสิ้น | |