ReadyPlanet.com


อยากทราบข้อมูล การปลูกพืชในนั้นที่ไม่ใช่แบบ hydoponic


ผมอยากทราบถึงข้อมูลการของการก่อสร้าง ต้องปลูกในกระถางหรือเปล่า ขอบเขตพื้นที่ทำงานของเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า  การปลูกพืชในน้ำครับ การปลูกต้นไม้ ปลูกประเภทไหนได้บ้าง ถ้าปลูกต้นไม้ที่อยู่บนบก จะเกิดอะไรขึ้น  แล้ว การใช้เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า นั้นมันจะส่งผลอย่างไร ถ้าเกิดผมนำไปใช้ในพื้นที่สาธาณะ สมมุติ ถ้าเกิดคนตกลงไปในบ่อน้ำ  ข้อดี-ข้อเสีย

 

ถ้ามีข้อมูลอะไรที่มีประโยชน์ ต่อการนำไปใช้เพิ่มอีกที่ผมไม่ได้กล่าวไป ช่วยบอกผมหน่อยนะครับ ผมเป็นภูมิสถาปัตนิกน่ะครับ คือจะนำเอาข้อมูลพวกนี้ไปใช้ในการออกแบบ พื้นที่สาธาณะ น่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

(ถ้าผมพูดอะไรผิด ขอโทษด้วยครับ)



ผู้ตั้งกระทู้ API :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-13 11:19:11 IP : 125.24.131.162


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1405669)

เรียนคุณ API

ผมขอชี้แจงข้อมูลการปลูกพืชในน้ำโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องเติมออกซิเจน แต่เป็นการเหนี่ยวนำให้ต้นพืชสร้างรากที่สามารถดูดซับ ออกซิเจน ในน้ำได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะว่าไปแล้ว มันก็เป็นการปลูกพืชด้วยวิธีการเหมือนกับการปลูกแบบ hydroponic ทั่วๆไปในปัจจุบันนั่นแหละครับ (not hydoponic) แตกต่างกันที่ว่า วิธีการหนึ่งนั้ง ต้องอาศัยอุปกรณ์เติมอากาศให้กับรากพืช แต่อีกวิธีหนึ่งนั้นเป็นการกระตุ้นให้รากของพืชนั้นช่วยตัวเองได้ในการดูดอากาศจากในน้ำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งต้องพึ่งเทคนิค 2 อย่างในการชักนำให้พืชสร้างรากดังกล่าวได้

เทคนิคที่หนึ่งก็คือ การโคลนนิ่ง ซึ่งจะกระตุ้นให้ชิ้นส่วนที่นำมาขยายพันธุ์นั้นมีการแตกรากที่รวดเร็ว และมีปริมาณมาก

สอง เทคนิคการกระตุ้นให้รากดูดอากาศในน้ำได้ ซึ่งวิธีการนั้นก็คือการสร้างสนามแม่เหล็กให้เกิดขึ้น ครอบคลุมบริวณที่เราทำการโคลนนิ่งพืช ซึ่งกระทำพร้อมๆกันไป โดยใช้เวลาระยะหนึ่งที่รากพัฒนาเติบโตพอสมควรแล้ว ต้นพืชที่ได้โดยวิธีการที่ใช้ร่วมกันนี้แล้ว สามารถนำไปปลูกในน้ำได้เลย ไม่ว่าจะเป็นพืชขนาดเล็กหรือใหญ่อย่างไม้ยืนต้นก็สามารถนำไปปลูกในน้ำได้ ปัญหาอยู่ที่ว่า คุณสามารถทำอย่างไรให้ไม้ใหญ่นั้นพยุงตัวอยูในน้ำได้โดยไม่ล้มคว่ำลงไปเท่านั้น และมีความคุ้มเพียงในในการนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติ (สร้างเพื่อเป็นตัวอย่างสาธิตก็คงพอไหว)

ผมเข้าใจว่าคุณ เอพีไอ คงเข้าใจไขว้เขวบางประการ ที่เข้าใจว่าต้องใช้ตระแกรงเหล็กปล่อยไฟฟ้าเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กตลอดเวลา ไม่ใช่อย่างที่คิดหรอกครับ เพราะฉะนั้น การที่กลัวว่าจะเกิดเป็นอันตรายขึ้นในที่สาธารณะชนนั้นก็เลิกวิตกกังวลไปได้เลย

หากสนใจในเรื่องนี้ก็แนะนำให้แวะเวียนเข้าไปดูที่เว็บไซท์

http://kfzx.zwkf.net/list.asp?tab=&menuid=466&menujb=3  (เว็บหน้านี้ให้คลิกหัวข้อเรื่องที่มีตัวหนังสือ

  [图]

สีแดง จะมีรูปภาพให้ดู ถ้าอ่านภาษจีนได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นปัญหา ก็ทัศนาดูเอาเพียงแค่รูปภาพก็คงช่วยได้บ้างนะครับ

http://kf.zwkf.net/ เว็บหน้านี้เป็นโฮมเพจ ของ การโคลนนิ่งพืช ลองคลิกเข้าไปดูเอาเองนะครับ เพราะว่ามีเรื่องราวหลากหลาย ที่มีทั้งรูปประกอบและไม่มีรูปให้ดู (อ่านอย่างเดียว โอ๊ย แย่เลยเรา อ่านไม่ออก)

http://flower.zwkf.net/ ส่วนเว็บหน้านี้เป็นเรื่องราวทางวิชาการในการปลูกพืชในน้ำ ก็อย่างที่บอก ต้องลองคลิกดูเอาเอง ว่าอันไหนมีรูป อันไหนไม่มี

และขอบอกกล่าวเอาไว้ ณ. ที่นี้ว่า ความก้าวหน้าทางการ้กษตรของจีนนั้นรุดหน้าไกลเกินกว่าที่เราคาดคิด เพราะเราขาดความเข้าใจในด้านการสื่อสารทางภาษาหนังสือ (จีน เพราะจีนไม่ใช้ภาษาอังกฤษในเอกสารบันทึกการวิจัย ทดลอง  ถึงมีก็น้อยจนแทบจะไม่มี)

เว็บไซท์ที่หยิบยกมาให้นั้น เป็นเว็บไซท์ที่จัดทำขึ้นของ สถาบันวิจัยทางการเกษตรของเมือง ลี่สุ่ยซื่อ เท่าที่เคยเข้าไปดูใน้ว็บไซท์นี้เมือ่ 6-7 ปีที่แล้วมา ได้มีคณะนักวิชาการจากประเทศไทยไปเยี่ยมชมมาแล้ว แต่เหตุใดจึ่งไม่นำเอาผลงานของเขามาประยุกต์ใช้ในประเทศเราเลย ข้อสงสัยนี้คงอนุมานได้ว่า ไม่สามารถสื่อสารในระดับลึกซึ้งได้ เห็นลักษณะการทำงานแล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ไทยทำอยู่แล้ว (แต่ไม่เข้าใจมากไปกว่านั้น) และที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดที่เหล่าข้าราชการไทยเราไปดูงานนั้น ส่วนใหญ่แล้ว จุดมุ่งหมายก็คือ ไปเที่ยวกัน มากกว่า

ความก้าวหน้าทางการเกษตรของจีนนั้นยังมีอีกมากมาย หากแต่ว่าผมไม่ใคร่มีเวลาแปลมาให้อ่านกัน เอาแค่เข็นผลิตภัณฑ์ นาซี 778 ให้เข้าใจได้ใช้กัน ก็เหนื่อยแสนสาหัสแล้ว (ที่คิดว่า จีนนั้นไม่เท่าไรหรอก ยาสมุนไพรอะไรจะดีปานนั้น โอ๊ยปริมาณที่ใช้มากกว่า เคมีเกษตรเป็นสิบเท่าตัวเลย และท้ายสุด อะไรจะแพงปานนั้น) จึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ นาซี 778 จึงไม่ได้รับการเหลียวแล และเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2011-01-30 11:15:39 IP : 115.87.85.154



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums