ReadyPlanet.com


มะกรูดตายจากน้ำท่วม


คือว่าผมมีสวนมะกรูดอยู่ภาคกลางปลูกไว้เกือบ 2000 ต้นปลูกมาได้2ปีได้ น้ำมาเมื่อ3 สัปดาห์ที่แล้วจมมิดไปหมดเลย ปกติถ้าเขื่อนบางโฉมศรีไม่แตกก็คงไม่ท่วม! หมดครับ ผมยังมีใจรักที่จะปลูกมะกรูดอยู่ จะถมที่ให้สูงแล้วปลูกก็คงไม่คุ้ม(พ.ท.ที่ปลูกนั้นก็ถมไว้บ้างแต่ไม่ใช่สูง2 ม.ครึ่งเหมือนน้ำท่วม) คำถามคือว่าถ้าปลูกใหม่ภายใน3-4ปีแล้วน้ำท่วมอีก โดยที่ผมใช้นาซี778รดโคนหรือฉีดพ่นทางใบตั้งแต่เริ่มปลูก ต้นมะกรูดจะมีทางรอดไหม (ถ้าตายบ้างก็ไม่เป็นไรถ้ารอดซัก80-90%)และมี case studyของลูกค้าไหมครับว่าน้ำท่วมแล้วไม่ตายนอกจากถั่วแระที่showในเวปไซท์ ผมจะได้ตัดสินใจลองอีกทีหนึ่ง (ไม่อยากเจ้งซ้ำแล้วซ้ำอีก)



ผู้ตั้งกระทู้ sonny :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-11 09:38:17 IP : 24.14.172.209


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1451104)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในคุณสมบัติของสาร จีพีไอที (นาซี 778) ที่มีกลไกการทำงานโดยการจัดระเบียบของหน่วยพันธุกรรมภายในต้นพืช (ชักนำการแสดงออกของลักษณะ และกระบวนการทางชีวเคมีภายในต้นพืช)

และต้องทำความเข้าใจในด้านพันธุกรรมประกอบกันด้วย จึงจะเข้าใจในหลักการทำงานของสารดังกล่าว

พืชทุกชนิดมีหน่วยพันธุกรรมที่แตกต่างกัน มีลักษณะที่แตกต่างกัน มีส่วนของลักษณะที่เรียกว่า เด่น และลักษณะ ที่เรียกว่า ด้อย ซึ่งลักษณะทั้งสองนี้ ส่วนใหนจะทำงานแสดงให้ปรากฏ ย่อมขึ้นอยู่กับการ รวมกลุ่ม เข้าด้วยกัน จนสามารถข่มอีกลักษณะหนึ่ง ไม่ให้แสดงออกมาได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง (ความต้องการของคนเรา ไม่ใช่ความต้องการของพืช หรือสัตว์ก็ได้ อย่างเช่น มะพร้าวกะทินั้น เป็นลักษณะด้อยของพืช แต่เป็นความต้องการของคนเรา จึงบังคับให้มันเป็นไปตามตัณหาความต้องการของคนเรา)

ดังนั้น พืช ทั้งหลายจึงมีความทนทานต่อน้ำท่วมขังไม่เท่ากัน พืชบางชนิดทนน้ำได้ดีมากในธรรมชาติ แต่บางชนิดไม่สู้น้ำเลย (มะละกอ) แต่ถ้าพืชชนิดนั้นๆ มียีนทนน้ำอยู่ แต่ไม่มีการทำงาน หรือแสดงออกแล้ว หากได้รับการกระตุ้น ชักนำให้ฟื้นตื่นขึ้นมาทำงานอีก พืชชนิดนั้นก็จะมีความทนทานต่อน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี

กรณีพืชที่ทนน้ำท่วมขังที่ปรากฏขึ้นในบ้านเราก็มี ข้าว มะยงชิด มันสำปะหลัง (รายงานมาเมื่อเร็วๆนี้ จากลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้หนแรก ว่าท่วมมาเป็นเดือนแล้ว ใบยังเขียวตั้งอยู่) ดังนั้น หากคุณซอนนี่ อยากจะรู้ว่า ถ้าใช้กับมะกรูดแล้ว จะช่วยได้ไหม คำตอบนี้ คงตอบฟันธงให้ไม่ได้ คุณต้องทดลองดูผลเอาเอง ซึ่งเหตุผลก็ได้ชี้แจงไปให้ทราบแล้ว ได้ผลอย่างไร อย่าลืมขยายความให้เกษตรกรได้รับทราบเป็นทานด้วยนะครับ

ขอบคุณหลาย

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2011-10-14 08:04:01 IP : 110.168.101.17



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums