ReadyPlanet.com


สอบถามเรื่องสารKFB หรือไคว่ฝานป่าว


สวัสดีครับคุณสวิทย์ ขออนุญาติน๊ะครับ พอดีผมได้อ่านบทความเกษตรไฮเทคบทหนึ่ง ซึ่งโดนใจผมมาก ผมใคร่สนใจอยากจะนำสารKFB มาใช้ในสวน ก็เลยมีเรื่องรบกวนอยากจะสอบถามคุณนิดหนึ่งน่ะครับ ไม่ทราบว่า ไคว่ฝานป่าว ใช้ได้กับพืชทุกชนิดใช่ใหมครับในการโคลนนิ่งใบ กระผมสนใจอยากจะนำมาทดลองโคลนนิ่งกับใบมะละกอดูน่ะครับ ไม่ทราบว่าจะเกิดรากใหม วิธีการเป็นอย่างไร เช่นเอาส่วนตรงใหนของใบครับ โคนใบหรือว่าปลายใบ รบกวนคุณสุวิทย์ช่วยอธิบายหน่อยครับ อีกคำถามหนึ่ง ไม่ทราบว่าคุณสุวิทย์มีไคว่ฝานป่าวขายใหมครับ หาซื้อจากที่ใหนได้บ้างครับ และราคาเท่าไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ   



ผู้ตั้งกระทู้ ธุลีดิน :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-01 19:35:16 IP : 27.55.9.111


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1530648)

คุณธุลีดิน

ขอชมเชยที่สนใจบทความในหน้าเว็บไซท์ของห้างฯ แต่อยากให้คุณอ่านบทความให้ละเอียดสักนิดหนึ่ง คงเกิดความเข้าใจผิดเป็นแน่ว่า 

ไคว่ฝานป่าว นั้นใช้โคลนนิ่งใบพืชได้ ไคว่ฝานป่าว เป็นสารกระตุ้นให้เกิดราก (ฮอร์โมนชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง) ที่ใช้เป็นตัวช่วยในการชักนำให้เกิดรากในกระบวนการ โคลนนิ่งใบพืช ซึ่งต้องอาศัยอุปกรณ์ที่เป็นระบบ ป้อนปัจจัยที่พืชต้องการในเวลาที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการภายในของใบพืช ซึ่งจะสามารถทำให้ใบพืชเกิดรากได้

พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยใบในธรรมชาติก็มีอยู่ แต่ไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นพืชที่ใบมีการสะสมอาหารอย่างเพียงพอ (ใบหนา อวบ) อย่างเช่น กระบองเพชร ต้นคว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น แต่พืชชนิดอื่นๆนั้น มีอาหารสะสมไม่เพียงพอที่จะสร้างรากได้ทัน มันก็แห้งเหี่ยวตายไปเสียก่อน แต่ถ้าจะให้มันเกิดรากได้ทันก่อนที่มันจะแห้งตายไป ก็ต้องป้อนปัจจัยความต้องการให้มันทันท่วงที ดังนั้นจึงต้องใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรากเข้าช่วย มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำการป้อน แสง ความชื้น (น้ำที่มีสารอาหารละลายอยุ๋) อุณหภูมิ ที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ โดยอาศัย กระบวนการ แสงสังเคราะห์ สร้างอาหารขึ้นมาเลี้ยงใบ ให้มีการเกิดรากขึ้น ดังนั้นภายในโรงเรือนที่ใช้ดำเนินการขยายพันธุ์โดยวิธีโคลนนิ่งใบนั้น อย่าพรางแสงเป็นอันขาด เพราะจะขาดแสงที่ใช้เป็นพลังงานในการปรุงอาหารไปดำเนินกิจกรรมทาง ชีวเคมี ที่จะดำรงชีพต่อไปได้ นั่นก็คือ สร้างรากดูดซับ น้ำ อาหาร อากาศ และพลังงานมาเลี้ยงตัวเองเป็นเอกเทศได้

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2012-10-03 06:35:22 IP : 110.168.111.172


ความคิดเห็นที่ 2 (1530816)

ขอบคุณครับที่ตอบกลับ จะลองเข้าไปอ่านบทความให้ละเอียดอีกรอบหนึ่ง ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธุลีดิน วันที่ตอบ 2012-10-03 20:03:33 IP : 27.55.2.234



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums