ReadyPlanet.com


อยากทราบว่า ผลการทดลองนี่้ได้รับการตีพิมพ์ เป็น journal หรือไม่ค่ะ


 ควรจะมีเอกสารอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ น่ะค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ noname :: วันที่ลงประกาศ 2011-12-29 20:53:33 IP : 202.44.135.242


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1462870)

เรียนคุณ noname

ไม่ทราบว่า คุณโนเนม กระทู้ถามถึงการทดลอง ไม่ทราบว่าหมายถึงการทดลองอะไร ? จึงไม่สามารถให้คำตอบได้ตรงประเด็น ส่วนเอกสารอ้างอิงที่ต้องการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ (ของคุณโนเนม) รวมถึงการตีพิมพ์ใน Journal อะไรเทือกนั้น ก็ไม่สามารถหยิบยกมาให้ศึกษาได้เช่นกัน

ต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วย แต่ถ้าคุณ โนเนมยังต้องการคำตอบที่ถามมา ก็ขอให้ระบุให้ชัดเจนอีกครั้ง แล้วเราจะค้นหาคำตอบมาให้

และขอขอบคุณที่ให้ความสนใจในเว็บไซท์ของเรา

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2011-12-30 04:08:37 IP : 115.87.105.7


ความคิดเห็นที่ 2 (1463146)

ถ้าหากไม่ฉุกคิดสักนิดหนึ่ง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้ยินชื่อบริษัทผู้ผลิตมาก่อนเลย หรือบริษัทฯจัดจำหน่ายนั้นๆ เป็นบริษัทเล็กๆ โนเนมแล้วละก้อ มักจะมีคำถามที่ไม่เชื่อในสรรพคุณ หรือประสิทธภาพของสินค้าตัวใหม่นั้นๆ และมักจะถามหาถึง เอกสารรับรอง เอกสารตรวจสอบความปลอดภัยจิปะถะ (โดยเฉพาะนักวิชาการ) แต่ถ้าสินค้านั้น จัดจำหน่ายโดยบริษัทใหญ่โต ยี่ห้อดังๆแล้ว ดูเหมือนว่าข้อกังขาต่างๆจะถูกละเลยไปเสียหมดสิ้น แล้วจริงๆนั้น เขาไว้วางใจในตัวผลิตภัณฑ์ หรือ บริษัทฯ กันแน่ ? (สินค้าตัวเดียวกันนี่แหละ)

และในอีกมุมมองหนึ่งก็คือ สินค้าบริโภคที่กินๆกันทุกเมื่อเชื่อวัน อย่างข้าวสาร น้ำตาล เกลือ ฯลฯ ก็ไม่เคยเห็นเรียกร้องหนังสือรับรองแต่อย่างใด อย่างกรณีของ นาซี 778 ทั้งๆที่ผลปรากฏให้เห็นนั้นชัดเจน ผู้ใช้ก็ยืนยันมั่นเหมาะ ว่าเป็นความจริง แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่เชื่อในสายตาที่เห็น หากได้เห็นเอกสารยืนยันจึงจะปักใจเชื่อ จึงไม่อาจเข้าใจได้ว่า เขาผู้นั้น เชื่อในตัวอักขระ บนแผ่นกระดาษแผ่นนั้น หรือผลที่ปรากฏให้เห็นเป็นจริงกันแน่ ?

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2012-01-02 20:39:20 IP : 180.214.208.78


ความคิดเห็นที่ 3 (1463541)

คุณ Noname ลองไปอ่านในหัวข้อ Brief Intro of GPIT ตรงเมนูบาร์ข้างบนดูนะค่ะ

หากเข้ามาในเว็บไซท์แล้วอ่านดูไม่ละเอียดแล้วไม่เจอในสิ่งที่หานั้น

อ่านฉาบๆฉวยๆแบบนี้ ก็ไม่ทราบว่าจะถามหาเอกสารอ้างอิงไปเพื่ออะไร

หากมีปัญญา ความสามารถ ก็ลองเข้าไปอ่านในเว็บไซท์แม่ดูแล้วกันค่ะ

http://www.gpit.org/

ผู้แสดงความคิดเห็น รติพร วันที่ตอบ 2012-01-05 12:47:20 IP : 124.121.240.57


ความคิดเห็นที่ 4 (1517989)

ตอบคุณ สุวิทย์ เหลืองลักษณ์  และ  รติพร ก่อนอื่นต้องขอพูดในเรื่องของ งานวิจัยตีพิมพ์นะครับ

คุณรู้ไหมว่า การที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ต้องเป็นงานวิจัยที่เห็นผลจริงๆถึงจะได้ตีพิมพ์

และการที่สินค้าของคุณมีเอกสารงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติรับรอง นั้น จะเป็นตัวบ่งชี้ชัดว่าสินค้าของคุณ ดีจริงใช้แล้วเห็นผลจริง

ผู้แสดงความคิดเห็น ศ.ดร. ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา วันที่ตอบ 2012-08-15 03:51:10 IP : 192.168.182.124


ความคิดเห็นที่ 5 (1519725)

เรียนท่าน ศ.ดร. ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา ที่นับถือ

ขอพระคุณเป็นอย่างสูงที่ได้แสดงความคิดเห็นมา ณ. ที่่นี้ เรื่องงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารงานวิจัยนั้นเป็นที่นับถือในวงวิชาการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างถึง แหล่งงานวิจันนั้นๆด้วย นักจัย-นักวิชาการไทยเรานั้น เกือบทั้งหมดศึกษาภาษาอังกฤษ งานวิจัยส่วนใหญ่ก็มักคุ้นกับวารสารที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ในส่วนที่เป็นงานวิจัยของประเทศจีนนั้น นักวิชาการจีนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นรายงานที่เป็นภาษาจีนเกือบทั้งสิ้น เนื่องจากจีนนั้น เขามีคำศัพท์ทางวิชาการที่เป็นภาษาจีนเอง มีบ้างที่เป็นศัพท์ใหม่ๆทางวิชาการที่ต้องหยิบยืมเอามาใช้ แต่ถ้าสามารถบัญญัตฺเองได้ เข้าก็จะบัญญัติให้คำศัพท์นั้นตรงกับความหมาย หรือออกเสียงให้คล้องจองกับศัพท์เดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทำได้ยากมากในภาษาจีน อย่างคำว่า aids (โรค) คนไทยสามารถออกเสียงได้เหมือนเจ้าของภาษา แต่ภาษาหนังสือจีนนั้น มิได้เป็นการออกสำเนียงเสียงด้วยตัวสะกด (เหมือนภาษาไทย) ดังนั้นศัพท์คำนี้ จะออกเสียงเป็น อ่ายฉือ (艾滋) ไป ซึ่งถ้านักวิชาการจีนสนทนาด้วยกันแล้ว คงจะทำความเข้าใจกันได้ค่อนข้างยากลำบากเป็นแน่ สิ่งที่ผมบอกกล่าวนั้น ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรค์ในการเข้าถึงงานวิจัย หรืองานวิชาการของประเทศจีนของนักวิชาการไทย ไม่เพียงแต่นักวิชาการไทยเท่านั้นที่ขาดความเข้าใจความเป็นไปในด้านต่างๆของประเทศจีน มีทัศนะคติต่อจีนในมิติที่ผิดพลาด ยังเข้าใจว่า ประเทศจีนนั้น ยังคงล้าหลังประเทศตะวันตกมากโข แต่มันหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ หาไม่แล้ว เราจะไม่เห็นการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวไกลไปกว่าไทยเรามากนัก อย่างรถไฟความเร็วสูง การส่งจรวด ดาวเทียมออกไปโคจรรอบโลก และ ฯลฯ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออื่นๆก็ตามแต่ จีนสามารถผลิตได้ดีไม่แพ้อเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น แต่สินค้าจีนที่เห็นในประเทศไทยนั้น มัน โหลดโท่ย นั้น เป็นด้วยสาเหตุ 2 ประการ หนึ่ง สินค้าที่นำเข้ามาขายเมืองไทยนั้น พ่อค้าคัดเอาแต่ราคาถูกมาขาย (ถ้าแพงมันขายไม่ได้) หรือสอง ถ้าพ่อค้านำเอาสินค้าคุณภาพสูงราคาแพงมาขาย ก็คงขายไม่ออก เพราะคนไทยเราติดแบรนด์เนมสินค้ายุโรป - ญี่ปุ่น ถ้าเป็นสินค้าคุณภาพระดับเดียวกัน คนไทยก็คงไม่เลือกสินค้าจีนเป็นแน่ ดังนั้นในบ้านเราจึงมีแต่สินค้าจีนราคาถูกเกลื่อนเมือง (ที่จีนผลิตขายให้กับชาวบ้านชนบท เพื่อว่าจะได้มีผลิตภัณฑ์ไว้ใช้งานได้ แม้ว่าจะใช้ได้ไม่ดีพอ เพราะกำลังทรัพย์ต่ำ แต่ถ้าจะซื้อสินค้าแพงมาใช้ ก็ไม่มีขีดกำลังทรัพย์พอที่จะซื้อได้) ข้อนี้จึงเป็นเรื่องของการแข่งขันกันด้านการตลาด เพราะจีนเปิดตลาดโลกตลาดเมืองไทยช้ากว่าญี่ปุ่น อเมริกาและยุโรป แต่คิดว่าอีกไม่นาน เมื่อจีนเรียนรู้การตลาดสากลมากขึ้น ก็คงสามารถตีตื้นขึ้นมาได้เหมือนสินค้าเกาหลีที่ตามมาทีหลังอย่งแน่นอน

ดังนั้นอุปสรรค์ที่หนักหนาในการเข้าถึงความเป็นไปด้านต่างๆของประเทศจีนนั้น ก็คือ การสื่อสาร นั่นเอง เราขาดการติดต่อกับประเทศจีนมาเป็นเวลานาน เพราะรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้สั่งยกเลิกสอนภาษาจีน ปิดโรงเรียนจีนทั่วประเทศจีน เนื่ิองด้วยเป็นช่วงที่มีการรุกขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ อย่าว่าแต่คนไทยเลย แม้แต่ลูกหลานมังกรจีน ก็ไม่กระดิกหูในภาษาจีน อย่าว่าแต่จะขีด เขียน อ่าน พูดเลย ฟังก็ไม่รู้เรื่องแล้วละ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจกันทั่วประเทศจีน ถ้านักท่องเที่ยวเชื้อสายจีนที่เดินทางจากอินโด สิงคโปร์ มาเลย์ ลาว พม่า กัมพูชา พุดจาต้าอ่วยกับเขาด้วยภาษาจีนแล้ว นั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับเขา แต่ถ้าเป็นลูกมังกรจีนจากเมืองไทย พูดจาภาษาจีนกับเขารู้เรื่องเข้าใจ นั่นคือ เรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างที่สุด

ดังที่ได้บอกกล่าวมาให้ทราบ นักวิชาการไทย อ่านภาษาหนังสือจีนไม่ออก จึงขาดความเข้าใจในแวดวงด้านนี้ จีนก็มีวารสาร งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาเหมือนฝรั่ง แต่ตีพิมพ์เป็นภาษาจีนเกือบทั้งสิ้น ถ้าต้องการทำความเข้าใจ ก็ต้องทำการแปลให้เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย หาใช่ว่า เราขาดความเข้าใจในภาษาหนังสือเขา (จีน) แล้วก็จะไม่มีงานพิมพ์รายงานในวารสาร มีครับ มีมากมายก่ายกอง มากกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำไป เพราะประเทศจีนนั้นกว้างใหญ่ ประชากรก็ล้นประเทศกว่า พันสามร้อยล้านคน คนเก่งเขาย่อมมีมากเป็นเงาตามตัว แต่ที่เราไม่นำมาแสดงนั้น เนื่องจากเราก็ไม่สันทัดในศัพท์วิชาการ แต่ถ้าต้องการเอกสารรายงานที่เป็นภาษาจีน เราก็สนองให้ได้ (แล้วอาจารย์ต้องการบ้างไหม ? เราจัดให้ได้อย่างแน่นอน) และขอย้ำอีกครั้งว่า สินค้า ดี ไม่ดี มีประสิทธิภาพหรือไม่ หาได้ขึ้นอยู่กับตัวอักขระบนแผ่นกระดาษไม่ แต่อยู่ที่ความจริงที่เกิดจากการใช้สอยมากกว่า   

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2012-08-20 18:55:08 IP : 113.53.153.143



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums