ReadyPlanet.com


ช่วยชี้อธิบายหน่อยนะครับ


ความเห็นที่ 1 (475972)

สารชักนำพันธุกรรม GPIT มีกลไกการทำงานด้วยการกระตุ้น-ปลุกเร้าและชักนำการทำงานของ ยีน (หน่วยพันธุกรรมที่แสดงออกของลักษณะต่างๆภายนอกของพืช ตลอดจนกระบวนการทำงานภายในทั้งหมดของต้นพืช) ไม่ว่าจะเป็น ยีนที่ทำงานอยู่แล้ว (แต่ยังทำไม่เต็มร้อย) หรือ ที่พักเก็บตัวไม่ทำงานไม่แสดงผลออกมาแล้วนั้น ให้ฟื้นตื่นขึ้นมาทำงานใหม่ ดังนั้น พืชบางชนิดที่ได้รับสาร GPIT นี้แล้ว บางครั้งจะมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างออกไปจากเดิม เมื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วจะคล้ายกับพืช จีเอ็มโอ (แต่ไม่ใช่) ลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วๆไปก็คือ การเติบโตส่วนเหนือดินจะช้าลง แต่จะไปเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตส่วนใต้ดินมากขึ้น นั่นก็คือมีการแตกรากมากกว่าปกติ แทงลึกลงในดินมากกว่าเกือบเท่าตัว ช่วงข้อต้นจะสั้นลงเล็กน้อย มีการแตกกิ่งมากขึ้นไล่ตั้งแต่โคนต้นขึ้นไปเลย ทำให้มีกิ่งก้านมากกว่าเดิม ผลที่ตามมาก็คือมีปริมาณจำนวนของใบมากขึ้น ขนาดของใบใหญ่กว่าปกติเกือบเท่าตัว ใบหนาขึ้น สีใบเขียวเข้มและเป็นเงามัน เป็นตัวบ่งชี้ว่าจำนวนปริมาณของสารสีเขียว (Chlorophyll) ที่เป็นตัวปรุงอาหารส่งไปยังส่วนต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน  เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้ประมวลรวมเข้ากัน จำนวนพื้นที่ผิวใบเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าๆตัว การรองรับเอาพลังงานแสงแดดก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น ขบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photosynthesis) จึงมีอัตรเร่งและเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ 50 จนกระทั่งถึง 405 % (เท่าที่วัดพบ ซึ่งจะ***ต่างกันไปตามชนิดและสายพันธุ์ของพืชนั้นๆ) เมื่อการทำงานของหน่วยพันธุกรรมดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ครบครัน ศักยะภาพในด้านต่างของขบวนการเมตทาโลลิซึ่มจึงเกิดขึ้นเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการงอก การเจริญเติบโต การแตกกิ่งออกราก การแทงยอดแตกใบ การออกดอกให้ผล คุณภาพทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณ ขนาด น้ำหนัก สี กลิ่น รส และสารอาหาร รวมทั้งความคงทนของผลผลิต (อายุการเก็บรักษา) ตลอดจนความต้านทาน-ทนทาน ต่อโรคและแมลง สภาพแวดล้อม (ความแห้งแล้ง อากาศหนาวเย็น น้ำท่วมขัง) ล้วนแต่เพิ่มความแข็งแรงเข้มข้นผิดไปจากปกติอย่างชัดเจน ด้วยศักยะภาพเหล่านี้เองที่ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตรลงได้เกือบครึ่ง เป็นการลดต้นทุนลงโดยทางอ้อม แต่ให้ผลผลิตเพิมขึ้นอย่างน่าทึ่ง เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะของพืชที่ใช้สาร GPIT นี้แล้ว เหมือนกับการให้สารฮอร์โมนแก่พืช (แต่ก็ไม่ใช่) ผลของฮอร์โมนนั้นจะไปเร่งการทำงานเฉพาะส่วนเฉพาะด้านเท่านั้น อย่างเช่น ฮอร์โมนเร่งราก ฮอร์โมนเร่งดอกออกผล มันก็เพียงแต่ทำให้มีการออกราก และออกดอกติดผลเพิ่มขึ้น แต่ระบบและขบวนการอื่นๆไม่ได้พัฒนาเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเลย (โดยเฉพาะการรองรับพลังงาน ขบวนการPhotosynthesis) เมื่อติดผลมากก็จริง แต่ขนาดผลจะไม่สม่ำเสมอ ขนาดผลไม่ใหญ่ เนื่องจากการสร้างอาหารไปบำรุงเลี้ยงไม่เพียงพอ และออร์โมนที่ให้นั้นจะมีการเสื่อมสิ้นไป แต่พืชที่ให้สาร GPIT นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนใดๆเลย มันจะมีการสร้างฮอร์โมนขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง เนื่องจากเป็นการทำงานด้วย ยีน ที่ควบคุมในขบวนการต่างๆทั้งหมด เป็นการทำงานที่ครอบคลุมภายในโดยสิ้นเชิง เป็นการทำงานด้วยกลไกธรรมชาติอย่างแท้จริง ด้วยการใช้สาร GPIT ที่เป็นสมุนไพรธรรมชาติ แค่ 1 - 3 ครั้งเท่านั้น ตลอดฤดูการเพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต  เมื่อมีการใช้ฮอร์โมนเร่งในปีนี้ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปีหน้าพืชก็จะโทรม ไม่ติดผลอีก หรือถ้าติดก็น้อย เนื่องจากผลิตอาหารไม่ทัน-ไม่เพียงพอ แต่ถ้าใช้สาร GPIT เป็นตัวชักนำการทำงานแล้ว จะให้ผลผลิตดกทุกปีโดยไม่มีอาการเสื่อมโทรมให้เห็นเลย จึงนับเป็นนววัตกรรมใหม่ และเทคนิคใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง



ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ลงประกาศ 02-01-2007 06:27:02 IP : 124.120.72.85
 
ตามข้อความด้านบน ผมลองอ่านดูแล้วมีส่วนที่ไม่เข้าใจอยู่บ้าง รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะครับ ตามคำถามด้านล่างนะครับ
 
 


ผู้ตั้งกระทู้ คนสวน :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-18 15:13:04 IP : 202.28.27.3


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (884360)

สารชักนำพันธุกรรม GPIT มีกลไกการทำงานด้วยการกระตุ้น-ปลุกเร้าและชักนำการทำงานของ ยีน (หน่วยพันธุกรรมที่แสดงออกของลักษณะต่างๆภายนอกของพืช ตลอดจนกระบวนการทำงานภายในทั้งหมดของต้นพืช) ไม่ว่าจะเป็น ยีนที่ทำงานอยู่แล้ว (แต่ยังทำไม่เต็มร้อย) หรือ ที่พักเก็บตัวไม่ทำงานไม่แสดงผลออกมาแล้วนั้น ให้ฟื้นตื่นขึ้นมาทำงานใหม่

GPIT คืออะไรครับ ถ้าสามารถปลุกการทำงานของยีนได้อย่างที่กล่าวไว้ แสดงว่าเป็นกลุ่มเดียวกับ Cis-Trans element หรือปล่าวครับ แลถ้าไปปลุกยีนที่ยังไม่แสดงออกให้แสดงออก ถ้าเป็นกรณีที่เป็นยีนที่เป็นลักษณะด้อยถุกกดทับการแสดงออกอยู่ด้วยคู่อัลลีนเดียวกัน มันจะไปปลุกยีนด้อยให้แสดงด้วยไหม

ถ้าเจ้า GPIT นี้ทำให้โครงสร้างของยีนเปลี่ยนไป หรือทำให้ลับดำเบสของพืชเปลี่ยนแปลง ก็เท่ากับการทำให้พืชนั้นกลายพันธุ์ด้วยใช่หรือไม่

สามารถบอกได้หรือไม่ครับว่าGPIT เป็นสารประกอบประเภทไหน ที่บอกว่าไม่ใช่ฮอร์โมน ไม่ใช่อาหารเสริม ไม่ใช่ปุ๋ย สรุปแล้วคืออะไรครับ

วันนี้แค่นี้ก่อนครับ มีคำถามอีกมากมายครับ เดี๋ยวมาถามใหม่ ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการแยกสารประกอบ และวิเคราะห์สารประกอบอยู่ครับ เพื่อเป็นการยืนยันผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกษตรกรสบายใจครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น คนสวน วันที่ตอบ 2007-12-18 15:34:01 IP : 202.28.27.3


ความคิดเห็นที่ 2 (895909)

GPIT ย่อมาจาก Gene Phenotype Induction Technique หมายถึงกรรมวิธีในการชักนำการแสดงออกของลักษณะภายนอกของพืช ซึ่งย่อมต้องมีความสัมพันธ์กับ Genotype ที่อยู่ภายในต้นพืชที่เป็นโครงสร้างของ ยีน ทั้งหมด (Genome) และสารที่นำมาใช้ในขบวนการนี้เป็นสมุนไพรจีนมากมายหลายชนิดที่มีสัดส่วนจำเพาะ (ไม่เปิดเผยทั้งชนิดและสัดส่วน) จึงประกอบไปด้วยสารอินทรีย์มากมายซึ่งยังไม่สามารถแยกแยะได้อย่างละเอียดครบถ้วน จึงได้ให้ชื่อเรียกรวมกันสั้นๆว่า สาร GPIT ดังนั้นถ้าถามว่าสาร GPIT คืออะไร ? ก็คงตอบได้ว่า เป็นสารสมุนไพร (จีน) ที่มีการทำงานแตกต่างจาก ปุ๋ย อาหารเสริม หรือ ฮอร์โมนพืช การทำงานของสารนี้เป็นไปในลักษณะของการชักนำ หรือปลุกเร้า การทำงานของ ยีน ที่มีการแสดงออกอยู่แล้ว หรืออาจจะไม่มีการแสดงออกก็มีขึ้นอยู่กับโอกาสและความประจวบเหมาะ

การทำงานของสาร GPIT นี้คงไม่เจาะลงลึกถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของยีน หากแต่เป็นการปลุกเร้า หรือชักนำให้มีการแสดงออกของยีนที่มีอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น หากแต่แสดงออกไม่เต็มที่ หรือไม่มีการแสดงออกมาให้เห็นเท่านั้น ผลของมันจึงไม่ใช่ การตัดต่อ ยีน อย่างแน่นอน และย่อมไม่ใช่เกิดการกลายพันธุ์ และไม่เป็นพืช จีเอ็มโอ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการแสดงออกของ ยีนเด่น หรือ ด้อยจึงไม่อาจสามารถบอกกล่าวทำนายได้ล่วงหน้า (เพราะมองไม่เห็น จนกว่าจะมีการแสดงออก) จึงขึ้นอยู่กับ Probability ของพืชชนิดนั้นๆมากกว่า อันนี้ต้องอาศัยการทดสอบ ทดลองดูผลเอาเอง ตัวอย่างเช่น ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ได้รับสารนี้แล้วจะมีการแตกกิ่งก้านมากกว่าปกติที่เป็นแค่ต้นเดี่ยวโดดๆที่ไม่ใคร่แตกกิ่ง หรือหากใช้ในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ก็จะทอยยอดเลื้อยเป็นเถาไปเลย หรือในส้มโชกุนที่ได้รับสารนี้ จะมีอัตราแทงกิ่งกระโดงเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และมีอัตราการเติบโตเร็วมาก รวมทั้งลำต้นทีไม่เคยมีหนามเลย กลับมีหนามแทงออกมาในบางต้น หรือในพืชไม้ใบประดับที่มีสีสัน แดงเหลือง หรืออื่นๆ ก็จะจางหายกลายเป็นสีเขียวมากขึ้น เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สารประเภทปุ๋ย ฮอร์โมน หรือ อาหารเสริมต่างๆ ไม่สามารถกระทำให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้นสารนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด

ส่วนการวิเคราะห์และแยกสาร GPIT นี้คงเป็นงานหนักหนาน่าดูทีเดียว เพราะลำพังสารประกอบในพืชแต่ละชนิดคงไม่ใช่มีแค่ 10 หรือ 20 ชนิด หากแต่มีนับเป็นพันชนิดเลยทีเดียว แต่ก็นับว่าเป็นความตั้งใจที่น่าสนับสนุนไม่น้อย คงต้องใช้เวลาและความอุตสาหะมากเลยทีเดียว 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2007-12-28 12:34:30 IP : 124.120.77.166



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums