ReadyPlanet.com


อยากทราบหญ้าชนิดใหม่ที่นำเข้ามาครับ


 อยากทราบว่าหญ้าชนิดใหม่ที่นำเข้ามาจากบราซิล

คือหญ้าชนิดไหนครับ เห็นเขาเรียกกันว่าหญ้าบราซิล  ไม่ใช่หญ้าหวานนะครับ

ลำต้นสูง   เห็นบอก CP  นำเข้ามาทดลอง

ใครพอทราบบ้างครับ เห็นว่าเหมาะแก่การนำมาทำ ไบโอแมส นะครับ



ผู้ตั้งกระทู้ อิกคิว :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-14 14:17:27 IP : 58.11.36.176


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1427884)

เท่าที่รู้ หญ้าบราซิล เป็นหน้าปูพื้นชนิดหนึ่ง (ความจริงเป็นพืชตระกูลถั่ว แต่เรียกว่าหญ้า เพราะใช้ปลูกประดับสนาม หรือปลูกคลุมดิน)

หรือไม่ก็อาจจะเป็นหญ้าในประเทศบราซิล ที่เป็นลูกผสมเนเปียร์ ที่มีชื่อเียกว่า อาลาฟัล แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นชนิดเดียวกับที่บอกว่า ซีพี นำเข้ามาปลูกหรือเปล่า มิอาจทราบได้ ทางที่ดี ลองสอบถามไปยัง ซีพี ดู น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่า หากข้อมูลที่ว่า ซีพี นำเข้ามาปลูก

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2011-06-14 22:03:38 IP : 124.120.167.242


ความคิดเห็นที่ 2 (1428094)

ขอบคุณมากครับที่ตอบคำถาม  รบกวนถามต่อนะครับ

คงจะเป็นตระกูลเนเปียร์ นี่แหละครับ  แต่  พันธิ์ผสมเยอะจริงๆ

หญ้าตอนนี้ที่นำมาปลูก พันธิ์ไหนที่โตเร็ว เหมาะแก่สภาพอากาศประเทศไทย  ผลผลิตต่อไร่สูงที่สุดหรือครับ

ใช่หญ้าจักรพรรดิ์หรือไม่  

ผู้แสดงความคิดเห็น อิกคิว วันที่ตอบ 2011-06-16 11:43:23 IP : 58.9.63.60


ความคิดเห็นที่ 3 (1428144)

เรียนคุณ อิกคิว

หญ้าจักพรรดิ์ที่คุณอิกคิวบอกกล่าวมานั้น น่าจะเป็นหญ้าที่โตเร็วและเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรา หลังจากที่เรา (ยะลาทักษิณาวัฒน์) ได้นำเสนอข้อมูลไปแล้ว ทางไอที ฟาร์ม ก็ได้นำเข้ามาปลูกในเมืองไทย ซึ่งก็ปรากฏว่าเติบโตได้ดี และยังมีข้อดีอื่นๆอีกมากมายที่คุณอิกคิวสามารถเข้าไปดูได้ที่หหน้าเว็บไซท์ http://www.thaicattle.net และมีรายละเอียดผลของการปลูกในประเทศไทยที่หน้า webbord ข่าวสาร ของ

ไอที ฟาร์ม (IT Farm) http://www.thaicattle.net/webboard/index.php?topic=7569.0

และที่จั่วหัวข้อข่าวที่ว่า ไผ่ราชันย์ หรือหญ้าเมืองจีน แต่ที่นี่ = หญ้าจักพรรดิ์

ที่ระบุว่าคุณลุงลิ้ม และ ผอ.ต้อย เป็นผู้นำเข้ามาจากประเทศจีน และคุณลุงลิ้มยังบอกว่า ถ้าจะแปลให้ถูกต้อง ต้องเป็น หญ้าจักพรรดิ์นั้น คงเข้าใจคลาดเคลื่อน ไม่ลึกซึ้งได้ดีพอ

จากข้อมูลที่ทางยะลาทักษิณาวัฒน์นำเสนอนั้น ไม่ใช่ไผ่ หากแต่เป็นหญ้าไผ่ราชันย์ ซึ่งเป็นการแปลได้ถูกต้องแล้ว (คือราชันย์ มิใช่จักพรรดิ์) เพราะคำว่า จักพรรดิ์นั้น เรียกว่า ฮว๋างตี้ (ฮ่องเต้) และเริ่มใช้คำๆนี้ตั้งแต่ ฉินสื่อฮว๋าง (จิ๋นซีฮ่องเต้) ได้ทำการปรบปราม ซานฮว๋าง (3 ราชันย์) และอู่ตี้ (5 ราชา) ในปี 221 ก่อน คศ. ฉินสื่อฮว๋างต้องการสมญานามที่ยิ่งใหญ่กว่า ราชา และราชันย์ (คือฮว๋าง และตี้) จึงได้นำเอาทั้ง 2 คำนี้มาผูกเข้าด้วยกัน เรียกว่า ฮว๋างตี้ (จักพรรดิ์) ซึ่งยิ่งใหญ่กว่า ฮว๋าง และ ตี้ โดยแน่แท้

และเว็บไซท์ที่ทางเราได้แนะนำให้นั้น ได้มีการเปลียนแปลงไปแล้ว หากต้องการเข้าชม รูปภาพข้อมูลของหญ้าชนิดนี้ สามารถเข้าไปดูได้ที่หน้าค้นหาของกูเกิ้ล

http://www.google.co.th/search?hl=zh-CN&q=%E6%96%B0%E5%9E%8B%E7%9A%87%E7%AB%B9%E8%8D%89&gs_sm=si&gs_upl=22991l22991l0l1l1l0l0l0l0l260l260l2-1l1&biw=1579&bih=945&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi

ลองคลิกเข้าไปได้เลย มีให้ดูจุใจเต็มตาทีเดียว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2011-06-16 18:57:49 IP : 115.87.94.7


ความคิดเห็นที่ 4 (1428328)

ต่อ

ลืมบอกไปว่า เราก็ได้นำ หญ้าลูกผสมสายพันธู์นี้เข้ามาปลูกทดสอบ สรุปผลได้ว่าเป็นหญ้าที่เหมาะสมกับสภาพของดินฟ้าประเทศไทย โตเร็ว และให้ผลผลิตสูงมาก  แต่เราไม่ได้จัดจำหน่าย หากผู้ใดสนใจจะปลูกก็สั่งซื้อได้ที่ ไอทีฟาร์ม (ท่อนละ 5 บาท)

เราเคยนำพันธุ์ไม้ต่างๆจากเมืองจีนเข้ามาทดลองปลูกหลายชนิด แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะส่วนใหญ่แล้วปรับตัวเข้าไม่ได้กับสภาพอากาศบ้านเรา ถ้าใครที่สนใจเรื่องไม้โตเร็วที่เคยฮือฮามาพักหนึ่งสิบกว่าปีที่แล้ว ที่เรียกว่า เพาโลว์เนีย คนขายกล้าพันธุ์รวย แต่คนซื้อไปปลูกนั้นซวยไป เพราะปลูกไปแล้ว มันโตแค่ช่วงแรกเท่านั้น แต่หลังจากนั้นมันก็เป็นไม้แคระไปเลย ป,ุก 20 ปี มันก็ไม่โต ไม่ยืด เอาแต่แตกกอใหม่เท่านั้น

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้นั้น เพราะโดยแท้จิงแล้ว เพาโลว์เนีย ในประเทศจีนนั้นเขาไม่ใช้เมล็ดปลูกกัน (เหมือนกับการปลูกสักในบ้านเรานั่นแหละ) เพราะป้องกันการแปรปรวนทางพันธุกรรม เขาใช้รากขยายพันธุ์ปลูก ทุกวันนี้ต้น เพาโลว์เนียที่ปลูกไว้ก็ยังยืนต้นแตกกออยู่ ออกดอกตลอดทั้งปี ต้นไม่โต ไม่สูง แต่โคนใหญ่เบ้อเริ่มเลยเชียว เพราะเป็นฐานในการแตกต้นใหม่ไปเรื่อยๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2011-06-18 09:21:53 IP : 110.168.126.119



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums