ReadyPlanet.com


สาร GPIT


สาร GPIT ที่บอกว่าเป็นสารสมุนไพรนั้นเพิ่มผลผลิตได้อย่างไร ?


ผู้ตั้งกระทู้ จำลอง :: วันที่ลงประกาศ 2006-12-29 07:42:54 IP : 125.24.161.31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (475972)

สารชักนำพันธุกรรม GPIT มีกลไกการทำงานด้วยการกระตุ้น-ปลุกเร้าและชักนำการทำงานของ ยีน (หน่วยพันธุกรรมที่แสดงออกของลักษณะต่างๆภายนอกของพืช ตลอดจนกระบวนการทำงานภายในทั้งหมดของต้นพืช) ไม่ว่าจะเป็น ยีนที่ทำงานอยู่แล้ว (แต่ยังทำไม่เต็มร้อย) หรือ ที่พักเก็บตัวไม่ทำงานไม่แสดงผลออกมาแล้วนั้น ให้ฟื้นตื่นขึ้นมาทำงานใหม่ ดังนั้น พืชบางชนิดที่ได้รับสาร GPIT นี้แล้ว บางครั้งจะมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างออกไปจากเดิม เมื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วจะคล้ายกับพืช จีเอ็มโอ (แต่ไม่ใช่) ลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วๆไปก็คือ การเติบโตส่วนเหนือดินจะช้าลง แต่จะไปเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตส่วนใต้ดินมากขึ้น นั่นก็คือมีการแตกรากมากกว่าปกติ แทงลึกลงในดินมากกว่าเกือบเท่าตัว ช่วงข้อต้นจะสั้นลงเล็กน้อย มีการแตกกิ่งมากขึ้นไล่ตั้งแต่โคนต้นขึ้นไปเลย ทำให้มีกิ่งก้านมากกว่าเดิม ผลที่ตามมาก็คือมีปริมาณจำนวนของใบมากขึ้น ขนาดของใบใหญ่กว่าปกติเกือบเท่าตัว ใบหนาขึ้น สีใบเขียวเข้มและเป็นเงามัน เป็นตัวบ่งชี้ว่าจำนวนปริมาณของสารสีเขียว (Chlorophyll) ที่เป็นตัวปรุงอาหารส่งไปยังส่วนต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน  เมื่อองค์ประกอบเหล่านี้ประมวลรวมเข้ากัน จำนวนพื้นที่ผิวใบเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าๆตัว การรองรับเอาพลังงานแสงแดดก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น ขบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photosynthesis) จึงมีอัตรเร่งและเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ 50 จนกระทั่งถึง 405 % (เท่าที่วัดพบ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดและสายพันธุ์ของพืชนั้นๆ) เมื่อการทำงานของหน่วยพันธุกรรมดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ครบครัน ศักยะภาพในด้านต่างของขบวนการเมตทาโลลิซึ่มจึงเกิดขึ้นเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการงอก การเจริญเติบโต การแตกกิ่งออกราก การแทงยอดแตกใบ การออกดอกให้ผล คุณภาพทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณ ขนาด น้ำหนัก สี กลิ่น รส และสารอาหาร รวมทั้งความคงทนของผลผลิต (อายุการเก็บรักษา) ตลอดจนความต้านทาน-ทนทาน ต่อโรคและแมลง สภาพแวดล้อม (ความแห้งแล้ง อากาศหนาวเย็น น้ำท่วมขัง) ล้วนแต่เพิ่มความแข็งแรงเข้มข้นผิดไปจากปกติอย่างชัดเจน ด้วยศักยะภาพเหล่านี้เองที่ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตรลงได้เกือบครึ่ง เป็นการลดต้นทุนลงโดยทางอ้อม แต่ให้ผลผลิตเพิมขึ้นอย่างน่าทึ่ง เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะของพืชที่ใช้สาร GPIT นี้แล้ว เหมือนกับการให้สารฮอร์โมนแก่พืช (แต่ก็ไม่ใช่) ผลของฮอร์โมนนั้นจะไปเร่งการทำงานเฉพาะส่วนเฉพาะด้านเท่านั้น อย่างเช่น ฮอร์โมนเร่งราก ฮอร์โมนเร่งดอกออกผล มันก็เพียงแต่ทำให้มีการออกราก และออกดอกติดผลเพิ่มขึ้น แต่ระบบและขบวนการอื่นๆไม่ได้พัฒนาเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเลย (โดยเฉพาะการรองรับพลังงาน ขบวนการPhotosynthesis) เมื่อติดผลมากก็จริง แต่ขนาดผลจะไม่สม่ำเสมอ ขนาดผลไม่ใหญ่ เนื่องจากการสร้างอาหารไปบำรุงเลี้ยงไม่เพียงพอ และออร์โมนที่ให้นั้นจะมีการเสื่อมสิ้นไป แต่พืชที่ให้สาร GPIT นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนใดๆเลย มันจะมีการสร้างฮอร์โมนขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง เนื่องจากเป็นการทำงานด้วย ยีน ที่ควบคุมในขบวนการต่างๆทั้งหมด เป็นการทำงานที่ครอบคลุมภายในโดยสิ้นเชิง เป็นการทำงานด้วยกลไกธรรมชาติอย่างแท้จริง ด้วยการใช้สาร GPIT ที่เป็นสมุนไพรธรรมชาติ แค่ 1 - 3 ครั้งเท่านั้น ตลอดฤดูการเพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต  เมื่อมีการใช้ฮอร์โมนเร่งในปีนี้ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปีหน้าพืชก็จะโทรม ไม่ติดผลอีก หรือถ้าติดก็น้อย เนื่องจากผลิตอาหารไม่ทัน-ไม่เพียงพอ แต่ถ้าใช้สาร GPIT เป็นตัวชักนำการทำงานแล้ว จะให้ผลผลิตดกทุกปีโดยไม่มีอาการเสื่อมโทรมให้เห็นเลย จึงนับเป็นนววัตกรรมใหม่ และเทคนิคใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2007-01-02 06:27:02 IP : 124.120.72.85


ความคิดเห็นที่ 2 (488631)

แล้วอย่างนี้ เราต้องใส่ปุ๋ยอีก หรือไม่ครับ

กรุณาเปรียบเทียบ กับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก อีเอ็ม   แนวชีวภาพ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้สนใจ วันที่ตอบ 2007-01-20 17:47:06 IP : 203.148.162.198


ความคิดเห็นที่ 3 (490345)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สารนาซี 778 นั้นไม่ใช่สารอาหารพืช ดังเช่นปุ๋ยหรือแร่ธาตุอาหารเสริมต่างๆ สารนาซี 778 ทำงานเป็นตัวชักนำปลุกเร้าการทำงานของหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะและการทำงานของพืช ดังนั้นเมื่อได้ใช้สารนาซีไปแล้ว ก็ยังคงละเว้นไม่ใช้ปุ๋ยเลยนั้นคงไม่ได้ เพราะผืนดินที่เราทำการเพาะปลูกมานั้นได้ผ่านการเพาะปลูกมาหลายสิบปีแล้วความอุดมสมบูรณ์เหลือน้อยเต็มที หากไม่ใส่ปุ๋ยเลยผลผลิตอาจจะไม่ลดลงแต่อาจจะไม่เพิ่มหรือเพิ่มก็คงน้อย แต่ถ้ายังคงให้ปุ๋ยเท่าเดิม ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นจาก 20 ถึง 100 % แต่ถ้าเพิ่มปุ๋ยมากขึ้นผลผลิตก็คงเพิ่มขึ้นอีกไม่มากก็น้อย แต่เท่าที่ผ่านมาจากรายงานของผู้ที่ได้นำเอาไปใช้ตอบกลับมาว่า ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเกษตรได้ไม่ต่ำกว่า 50  % เลยทีเดียว  ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อะไรกับพืชก็ตามแต่ หากได้ใช้ สารนาซี 778 เป็นตัวนำร่องแล้ว ไม่ว่าคุณจะใช้ผลิตภัณฑ์ตัวใดๆประสิทธิภาพของสารนั้นจะเพิ่มขึ้นอีกมากมายแทบเหลือเชื่อเลยทีเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์ เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2007-01-23 12:08:09 IP : 124.120.76.16


ความคิดเห็นที่ 4 (547225)
ใช้กับพวกกล้วยไม้เช่น แวนด้า ช้าง จะได้ผลหรือไม่ ถ้าใช้ ใช้ครั้งแรก เมื่อไรเช่นหลังจากออกขวด หรือในช่วงไม้นิ้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น โจ้ วันที่ตอบ 2007-03-24 20:56:11 IP : 124.120.27.110


ความคิดเห็นที่ 5 (772952)

สาร GPIT สามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิดที่มีใบสีเขียว รวมทั้งกล้วยไม้ทุกชนิดทุกสายพันธุ์ ควรใช้ในช่วงไม้นิ้วโดยการสะเปรย์ เดือนละครั้งก็พอ กล้วยไม้ที่ได้รับสาร GPIT จะมีรากแทงออกมาจำนวนมาก ลักษณะของรากจะอวบขาวเลื้อยไปไกล การแตกยอดจะดีมาก ใบจะหนาและเขียวเข้มเป็นมัน ติดดอกเต็มที่ สีดอกเข้มและสดใส กล่าวได้ว่า ไม่ลองด้วยตนเอง ยากจะเชื่อว่า สรรพคุณเหลือเชื่อจริงๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวิทย์เหลืองลักษณ์ วันที่ตอบ 2007-09-07 19:42:28 IP : 125.24.161.239



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums