เมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2015 คณะกรรมาธิการแห่งยุโรป (European Commission) ได้ออกมาประกาศชี้แจงว่า ได้อนุมัติให้พืชผลตัดต่อพันธุกรรม 10 ชนิดออกวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ และกล่าวย้ำว่า ก่อนที่จะได้มีการอนุมัติให้ผลิตผล - ผลิตภัณฑ์ตัดต่อพันธุกรรมใดๆออกจำหน่ายในท้องตลาดนั้น ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรอบด้านทุกขั้นตอน หนึ่งในขั้นตอนเหล่านี้ก็คือมีการพิจารณาร่วมกันของ European Food Safety และผู้เชียวชาญทางวิชาการ รวมทั้งสมาชิก States of the risk assessment ประเมินความเสี่ยงของอาหารตัดต่อพันธุกรรมเหล่านี้ และยืนยันว่ามีความปลอดภัยในการบริโภค
|

ชูป้ายต่อต้านผลิตผล GMO

สื่อแสดงพืช GMO

ชั้นจำเพาะวางแต่ ผลิตภัณฑ์ GMO
|
ก่อนหน้านี้ทาง European Commission ได้อนุมัติให้อาหารและธัญหาร 58 ชนิดนำเข้าจำหน่ายในท้องตลาดได้ ในจำนวนทั้งหมดนี้มี ข้าวโพด ถั่วเหลือง canola และ sugar beet รวมทั้งฝ้าย ฯลฯ ซึ่งทางสมาคม EuropaBio ได้กล่าวชมเชย European Commission ว่า เป็นการย่างก้าวสู่ทิศทางที่ถูกต้องอีกก้าวหนึ่ง และชี้ว่า เป็นผลดีต่อวงการวงการปศุสัตว์ในการนำเอามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และ ณ.ปัจจุบันนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ตัดต่อพันธุกรรมกว่า 40 รายการ ที่กำลังรอคำอนุมัติให้วางจำหน่ายได้ในท้องตลาด
|

ประเทศจีนก็มีการงัดข้อกันในเรื่องของ GMO เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย

ภาพล้อเลียนผลิตผล GMO
|
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2015 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้ออกแถลงการณ์ถึงการอนุมัติให้ผลิตภัณฑ์อาหารและธัญหารปศุสัตว์ตัดต่อพันธุกรรมออกวางจำหน่ายท้องตลาดได้ แต่มีผลบังคับแค่ 10 ปี เท่านั้น (นัยว่าเมื่อครบกำหนดแล้วจะมีการพิจารณาการต่ออายุหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผลกระทบของผลิตภัณฑ์นั้น) นับเป็นการอนุมัติผลิตภัณฑ์อาหารตัดต่อพันธุกรรมครั้งแรก หลังจากที่มีการอนุมัติเมื่อ เดือนสิงหาคม 2015 เป็นต้นมา และยังอนุมัติให้มีการนำเข้าดอกไม้สดตัดต่อพันธุกรรม 2 ชนิดเข้ามาจำหน่ายประเทศ
|

ประเทศที่ยินยอมให้ปลูกพืช GMO สีเขียว/ต่อต้าน สีแดง

ถั่วเหลืองพืช GMO ปลูกกันมากทีสุด
|
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยนั้น ถึงแม้จะต่อต้านและควบคุมพืชผลตัดต่อพันธุกรรม แต่ก็มีผลิตภัณฑ์เหล่านี้วางขายแล้วเกลื่อนตลาดเมืองไทย และใช้บริโภคไม่รู้ว่านานแล้วเป็นเวลาเท่าไร แต่เราก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเดินไปในทิศทางใด หรือจะต้องมีการสนับสนุนและค้านกันไปจนกระทั่งประเทศอื่นก้าวล้ำไปจนมองไม่เห็นฝุ่น เพราะเรามัวแต่ค้านหัวชนฝาอย่างเดียว โดยไม่ดูถึงข้อเท็จจริง (ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่บริโภคไปแล้วไม่รู้ว่ากี่สิบปี และปริมาณเท่าไรต่อเท่าไร) เพราะเราไม่เคยหันหน้ามานั่งจับเข่าคุยกัน มีแต่หันหน้ามาเผชิญหน้ากัน ไม่เคยมีบทสรุปเลยว่า จะเอากันอย่างไร
หมายเหตุ : ผลิตผล หรือผลิตภัณฑ์ตัดต่อพันธุกรรม หรือที่เรียกกันว่า ตัดต่อยีน ภาษาจีนเรียกว่า “จ่วนจีอยิน”(转基因) จ่วน 转แปลว่าเปลี่ยน จีอยิน 基因แปลว่า ยีน (ที่มาจากภาษาอังกฤษ gene)
|
|