ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?

 

หากถามว่า ไก่เบตง มาจากไหน ?

คำตอบกำปั้นทุบดินก็คือ ก็มาจากเบตงน่ะซี !

คงไม่มีใครอ่าน เบตง เป็นบะ - เตง หรอกนะครับ (แต่ก็ไม่แน่ อย่างที่แช่แป้งไว้แล้วยังอ่านผิดได้เลย คอนกรีต นั่นไง) เบตง อ่านว่า เบ - ตง เป็นชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา และเป็นอำเภอที่อยู่ชายแดนใต้สุดของประเทศไทย (ไม่ใช่จังหวัดนะครับ เป็นแค่อำเภอเท่านั้น มีบางท่านเข้าใจผิด คิดว่าดินแดนใต้สุดของไทยนั้นคือ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส อาจจะเป็นได้ว่าเส้นทางรถไฟไทยสายใต้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ผู้ใช้บริการเปรียบเปรยเสียงครวญครางขณะวิ่งเคลื่อนที่ไปตามราง เมื่อครั้งใช้หัวฉุดเครื่องจักรไอน้ำว่า “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” (เลียนเสียง ฉึก–ฉัก ฉึก–ฉัก ของเครื่องจักร) นั้น สิ้นสุดระยะทางที่นี่ ก็เลยเข้าใจว่า ดินแดนใต้สุดนั้นคือที่นี่ ที่สุไหง-โกลกนี่แหละ)

เมื่อพูดถึงไก่บ้าน อันเป็นไก่พื้นเมืองที่ขึ้นชื่อในบ้านเมืองเรานั้น ไก่เบตง ไก่สายพันธ์นี้มีชื่อเสียงโด่งดังติดอันดับประเทศทีเดียว หากใคร, ท่านใดได้แวะมาเยือนเมืองในหมอกทางใต้แห่งนี้แล้วไม่ได้ลิ้มชิมลอง ไก่เบตง ผักน้ำ กบภูเขา ตัวเท่ายักษ์ (คงไม่เท่ายักษ์หรอกนะครับ อำกันเล่นน่ะ ถ้าเป็นยักษ์ ก็คงเป็นยักษ์แคระนั่นแหละครับ) และ ปลาจีน (ที่เรียกว่า ฉ่าวอยี๋ / หลี่อยี๋ หรือปลาหลีฮื้อ – เฉาฮื้อ ในภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นปลาตะเพียนและปลาไนสายพันธุ์หนึ่ง) ก็ถือว่ายังมาไม่ถึงเบตง

รายการที่กล่าวมานั้นคือ อาหารจานเด็ดของเมืองเบตง แต่ถ้าละเลยไม่กล่าวถึง หมูย่าง เข่าหยกและ เส้นหมี่ ของที่นี่ ก็คงถูกต่อว่าจากชาวเบตงเป็นแน่แท้ อาหารทั้ง 3 อย่างนี้ก็อร่อยเหาะไม่เบาเชียวนะ จะบอกไห่ (หมูย่างเบตงจะมีรสชาติติดเค็ม และอมรสของสมุนไพรร่วม10 ชนิดเลยทีเดียว กลิ่นนั้นหอมชวนกิน แตกต่างจากหมูย่างเมืองตรัง ที่ออกรสหวานจากน้ำผึ้ง แต่ทุกวันนี้หมูย่างเมืองตรังหันเหมาใช้ แบะแซ แทนน้ำผึ้ง เพราะอะไรต่อมิอะไร มันแพงไปทั้งแผ่นดิน ชาวบ้านเขาบ่นว่ามายังงั้น เมื่อน้ำผึ้งมันแพง ก็ต้องเอา แบะแซ ที่ราคาถูกกว่ามาใช้แทนซีจ๊ะ (ต้องรู้จักปรับตัว ไม่งั้นเดี๋ยวจะสูญพันธุ์เหมือนไก่เบตง) ว่าจะบอกกล่าวเล่าเรื่องของไก่เบตง แต่ฝอยเรื่อยเปื่อยไปหน่อยหนึ่ง (ถือว่าอ่านเป็นความรู้ประดับตัวละกัน) ถ้าใครยังไมเคยเห็นไก่เบตงมาก่อน ก็หาดูได้จากเว็บไซท์ต่อไปนี้

http://www.gotoknow.org/posts/112521และหรือที่

http://pirun.ku.ac.th/~b5310103287/his-betong.html

(เว็บนี้เวลาเข้าไปอ่าน แนะนำให้ ทำการ ไฮไลท์ข้อความตัวอักษรเสียก่อน จะทำให้อ่านง่าย สบายตาขึ้น เนื่องจากพื้นหลังนั้นเป็นลายลูกเจี๊ยบที่ดูแล้วชวนให้ละลานตา เวียนหัว)

http://pirun.ku.ac.th/~b5310103287/KUbetong.html

 

 ผักน้ำ - ซีหยังช่าย

ผักน้ำ - ซีหยังช่าย

เข่าหยก (หมูสมุนไพรตุ๋น)

เข่าหยก (หมูสมุนไพรตุ๋น)

ไก่เบตง (ภาพจากภัตราคาร อัน อัน เหลา)

ไก่เบตง (ภาพจากภัตราคาร อัน อัน เหลา)

หมูย่างทั้งตัว

หมูย่างทั้งตัว

หมูย่าง

หมูย่าง

 

ไก่ เผียวจี (瓢鸡) ตือต้นตระกูลของ ไก่เบตง

ลักษณะพิเศษที่ผิดแผกแตกต่างจากไก่สายพันธุ์อื่นทั่วไปอย่างชัดเจนของไก่ เผียวจี ก็คือ ไม่มีขนหางหลักและขนยาวที่ปลายปีก ชาวบ้านเรียกว่า ไก่หางกุด ซึ่งลักษณะดังกล่าวนั้นดูจะเป็นข้อด้อยของไก่สายพันธุ์นี้มากกว่าที่จะเป็นข้อดี ซึ่งทำให้การแพร่ขยายพันธุ์นั้นเป็นไปในทางลบมากกว่าเป็นบวก (จะเฉลยให้ฟังต่อไป) หากไม่ใช่เนื้อที่มีรสชาติโอชะกว่าไก่สายพันธุ์อื่นแล้ว ไก่เบตงก็ไม่น่าเลี้ยงมากนัก หากไม่มีการปรับปรุงพันธุ์ หรือหาวิถีทางอื่นมาช่วยขจัดข้อด้อยที่มีอยู่ เหมือนดังทางการจีนเริ่มทำการอนุรักษ์คุ้มครองไม่ให้สูญพันธุ์ไปเมื่อเร็วๆนี้นี่เอง ติดตามต่อไป ..แอ่น แอน แอ๊น ...........(ซาวด์จากหนังภาพยนตร์สมัยกรุงเก่า จำกันได้ไหม?)

จากข้อมูลทางวิชาการส่วนใหญ่รายงานว่า ไก่เบตงนั้น นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยครั้งแรกที่อำเภอเบตง โดยจีนกวางไส (คนจีนในมณฑล กว่างซี / 广西) ผ่านทางประเทศมาเลเซีย จึงทึกทักเหมาเอาว่า น่าจะมีแหล่งกำเนิดที่มณฑล กว่างซี (ที่เรารู้จักกันว่า กวางไส) แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่ ทั้งนี้จากการติดตามสืบสาวของนักวิชาการพันธุสัตว์จีนเร็วๆนี้ ระบุในรายงานว่า ไก่เผียวจีสายพันธุ์นี้ (ที่เราตั้งชื่อให้ว่า ไก่เบตง) มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ มณฑล อยิ๋นหนาน (ยูนนาน / 云南) ประเทศจีนที่อยู่ใกล้กับเขตุแดนไทยมากที่สุด ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากบ้านเมืองเราเท่าไรนัก ครานี้ก็คงตอบได้อย่างถูกต้องชัดเจนได้เลยว่า ไก่เบตงนั้นมาจาก ยูนนาน ครับ แต่เหตุที่ทำให้เราเข้าใจไขว้เขวไปเช่นนั้น เนื่องจากมณฑล อยิ๋นหนาน กับมณฑล กว่างซี นั้นมีเขตุมณฑลชนชิดติดกัน เมื่อชาวจีนกว่างซี อพยพมาเมืองไทยพร้อมกับชาวจีน กว่างตง (กวางตุ้ง / 广东 มณฑลกว่างตง ก็อยู่ติดกับ มณฑล กว่างซี อีกทั้งยังมีสำเนียงภาษาพูดที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย ครานี้ก็พอมองเห็นความสัมพันธ์ทั้งหมดนี้ได้ค่อนข้างชัดเจนนะครับ ว่าชาวจีนกวางตุ้ง จีนกวางไส กับไก่เบตงนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร)

ไก่เบตง (เผียวจี) นั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ อำเภอเจิ้นหยวน (镇沅县) มณฑล อยิ๋ยหนาน (云南) โดยมีพื้นที่เลี้ยงกระจายอยู่ที่เถียนป้า (田坝) อันป่าน (按板) กู่เฉิง (古城) เอินเล่อ (恩乐) เจ่อตง (者东) และยังมีการเลี้ยงกันเล็กน้อยที่ชนบท ไหมจื่อเซียง (梅子乡) อำเภอหนิงเอ่อเซี่ยน (宁洱县) และในชนบท ถวนเถียนเซียง (团田乡) ในอำเภอม่อเจียงเซี่ยน (墨江县) ชาวจีนที่นั่นเรียกกันว่าไก่ เพียวจี (瓢鸡 / คงไม่เรียก ไก่เบตง เป็นแน่ ด้วยเห็นว่ามีลักษณะเหมือนกับกระบวยน้ำเต้า) มีประวัติการนำมาเลี้ยงเป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้ว ลักษณะที่โดดเด่นก็คือ ไม่มีหาง นั่นก็คือไม่มีส่วนปลายของกระดูกสันหลังที่เป็นตำแหน่งของก้น (ไม่มีตูดนั่นเอง) จึงไม่มีต่อมไขมันที่หาง (เนื้อจึงคงไม่เหม็นสาบ) ไม่มีขนหางหลัก ชาวบ้านเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า ไก่หางด้วน ส่วนขนคลุมตรงส่วนหางนั้นลู่ลง ไก่เผียวจี นั้นปราดเปรียวว่องไว ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีนิสสัยชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง มีซากเนื้อเนียนนุ่ม คุณภาพเนื้อดีกว่าไก่พื้นบ้านโดยทั่วไป เนื้อเนียนแน่น มีกลิ่นหอม รสชาติใกล้เคียงพอๆกับเนื้อไก่ฟ้าเลยทีเดียว

ในปี 2009 กรมการเกษตรแห่งยูนนาน ได้ออกเอกสารฉบับที่ 15 ประกาศว่า ไก่ เพียวจี ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ปีกที่สุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่ต้องเร่งรีบทำการคุ้มครองสงวนพันธุ์เอาไว้ และในปี 2011 เดือนมกราคม วันที่ 15 ทางกระทรวงเกษตรแห่งประเทศจีนได้ออกเอกสารประกาศฉบับที่ 1,325 บรรจุให้ ไก่เพียวจี อยู่ในรายชื่อพันธุ์สัตว์ที่ต้องรักษาทรัพยากรพันธุกรรม ได้มีการรวบรวมไก่เพียวจีที่หลงเหลืออยู่ในอำเภอเจิ้นหยวนเอาไว้ได้ทั้งสิ้น 28,065 ตัว เมื่อสิ้นสุดเดือนมิถุนาของปี 2011 คิดเป็นมูลค่าของทรัพยากรพันธุกรรมร่วม 2,806,500 หยวน (เท่ากับ 14 ล้านบาท โดยประมาณ ) และไก่ เพียวจี ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น หนึ่ง ในจำนวนไก่ 6 สายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อลือชาของมณฑลยูนนาน ในงาน “เกษตรสายรุ้งเจ็ดสีแห่งยูนนาน” ที่จัดขึ้นในเมือง ผู่เอ่อซื่อ (普洱市) ดินแดนแห่งใบชา ประกอบไปด้วยวัว-ควาย 6 สายพันธุ์  หมู 6 สายพันธุ์ แพะ- แกะ 6 สายพันธุ์  และปลาอีก 6 สายพันธุ์ ใครสนใจไคร่รู้ก็จงก้าวเข้าสู่ประตูอินเตอร์เน็ตได้ที่หน้า เว็บไซท์

http://www.ynszxc.gov.cn:8888/animalvote/ViewA.aspx

เป็นงานมหกรรม - ดำเนินกิจกรรมในการลงมติคัดเลือกปศุสัตว์ที่โดดเด่นแห่งมณฑล ยูนนาน
(มีรูปให้ดูด้วย)

 

 

 

 

 

 

ในปี 1980 ทีมคณะสำรวจทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์ของเมือง เจิ้นหยวน พบว่า ไก่สายพันธุ์ เพียวจี นั้น มีจำนวนลดน้อยหลงเหลืออยู่เพียง 300 กว่าตัว และได้ทำการสำรวจอีกครั้งในปี 2006 ปรากฏว่าจำนวนตัวนั้นลดฮวบเหลืออยู่แค่ 201 ตัวเท่านั้น อันเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงการเริ่มต้นสูญพันธุ์เป็นแน่แท้ ด้วยความวิตกกังวลของคณะกรรมการอำเภอ เจิ้นหยวน จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น สัตวแพทย์ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ช่วยกันรณรงค์ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชน ส่งเสริมเกษตรกรทำการขยายพันธุ์ไก่ โดยได้มีการกำหนดราคาซื้อ – ขายไก่ เพียวจี ในราคาที่สูงกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป โดยรัฐบาลท้องถิ่นได้ทำการกว้านซื้อในราคากิโลกรัมละ 400 บาท (สูงกว่าไก่พื้นบ้านเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว) จากมาตรการดังกล่าว โน้มน้าวชักจูงให้ชาวบ้านเกิดกำลังใจทำการเพาะพันธุ์ขยายการเลี้ยงในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งมีการโปรโมทอย่างต่อเนื่อง (จัดงานปศุสัตว์สายรุ้งเจ็ดสีแห่งยูนนานที่ว่านั่นแหละ) ทำให้บางครั้งยามขาดแคลนไก่ ทำให้ราคาไก่ เผียวจี สูงถึง หนึ่งพันบาทต่อกิโลกรัมก็เคยปรากฏมีมาแล้ว

ปัจจุบันทางการได้จัดตั้ง ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ไก่ เพียวจี ที่ได้มาตรฐานขึ้นที่ เมือง เอินเล่อเจิ้น ทำการเลี้ยงไก่สายพันธุ์ดังกล่าวเป็นจำนวนถึง 2,000 ตัว เป็นแม่ไก่ไข่ 1,000 แม่ ไก่พ่อพันธุ์ 30 กว่าตัว โดยตั้งเป้าให้ตัวผู้ 1 ตัว คุมตัวเมีย 10 ตัว เพื่อทำการผลิตไก่พันธุ์ให้ได้ปีละ 25,000 ตัว จัดตั้งโรงฟักขนาดเล็กขึ้นที่ สามารถฟักลูกไก่ได้ 20,000 ตัว / ปี มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเลี้ยงประมาณ 200 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 100 ตัว คิดเป็นตัวเลข 21,000 ตัว

รูปทรงร่างกายของไก่ เผียวจี ด้านหน้าสูงลาดต่ำลงบั้นท้าย (หน้าสูงท้ายต่ำ) สะโพกเต็ม ดูแล้วเหมือนดั่งกระบวยน้ำเต้า (คงเป็นมุมมองของคนจีนที่นั่น) ขนเป็นมันวาว รูปร่างสวยงาม จึงได้ชื่อว่า ไก่เผียวจี (ไก่กระบวยน้ำเต้า) จัดเป็นไก่ 2 ประสงค์ คือเลี้ยงเพื่อกินเนื้อหรือไข่ก็ได้ แล้วแต่ความพึงพอใจ น้ำหนักตัวเมียเพื่อโตเต็มวัยอยู่ที่ 1.8 ~ 2.8 กิโลกรัม ตัวผู้ 2.3  ~ 3.2 กิโลกรัม หัวมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ กะโหลกป้าน ส่วนใหญ่เป็นหงอนจักร ส่วนที่เป็นหงอนกุหลาบก็มีแต่เป็นส่วนน้อย ขนส่วนใหญ่เป็นสีแดง มีเหมือนกันที่ขนออกเป็นสีม่วงแดง เหนียงสีแดงสดขนาดปานกลาง ตัวกะทัดรัด ไม่มีขนหาง ขนบั้นท้ายลู่สู่เบื้องล่าง เนื้อเนียนแน่น กล้ามเนื้อสะโพกใหญ่แข็งแรง ไขมันหน้าท้องหนา จึงทำให้ลำตัวส่วนท้ายกลมหนา ขาไม่สั้นไม่ยาว เนื้อเป็นสีแดง ผิวหนังบางครั้งก็ออกดำ  มีจะงอยปากที่หนา  งองุ้ม จะงอยปาก แข้ง ขา ออกเขียว หงอนตัวผู้หนาและตั้งตรง 6 – 8 หยัก สีขนหลักจะเป็นแดง ลายดำขาว หรือขาวทั้งตัว ขนเป็นมันแวววาว ตัวเมียมีหงอนขนาดเล็กกว่า มีขนขึ้นโดยรอบ ขนสีมีลายเหลืองดำ สีเงินแซมขาวหรือแซมดำ ดำ หรือดำเทา ดำ หรือ ขาวทั้งตัว หรือขาวอมเทา สีขนลูกไก่จะออกเป็นลายบาร์ น้ำตาลอมเหลือง ขาวหรือดำก็มีเนื่องจากชาวจีนเห็นว่า ไก่เพียวจี ไม่มีหาง ไม่มีตูด (มีหัว ไม่มีหาง) เข้าตำราลักษณะที่ไม่ดี ถ้าใครเลี้ยงไว้ในบ้านก็จะทำให้ไม่มีลูกหลานสืบสกุล จึงไม่นิยมเลี้ยงขยายพันธุ์กัน เมื่อยังไม่โตเต็มที่ก็ถูกจับเชือดกินซะแล้ว (แบบนี้ก็สูญพันธุ์น่ะซีท่าน) จึงทำให้ประชากรไก่ชนิดนี้ ลดหดลงไปเรื่อยๆ จำนวนมีแต่ลดลง ไม่มีเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

จากการคาดเดาความเป็นมาทางประวัติสายพันธุ์ของไก่เผียวจี น่าจะเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างไก่บ้านกับไก่ป่าที่ไม่มีหาง ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่บนเขาสูง ในสภาพอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ไก่ป่าเหล่านี้เกิดการผ่าเหล่า กลายพันธุ์เป็นไก่ป่าที่ไร้ขนหางไป ไก่บ้านที่เลี้ยงไว้ได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ปราศจากหางติดมา จึงแสดงลักษณะดังกล่าวออกมาในรุ่นหลังๆ จนกระทั่งเป็นไก่ไร้ขนหางถาวรที่เรียกว่า เผียวจี นี่เอง

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาดูจากไก่ไร้หาง เผียวจี กับไก่ เบตง ในบ้านเราแล้ว ยังคงมีความแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจน ถึงแม้ไก่ที่เมืองจีน และไก่ที่เมืองไทยจะไร้ขนหางหลักและจนปีกสั้นแล้ว แต่สีขนของไก่เบตงจะไม่แปรปรวนมากเท่ากับไก่ เผียวจี ไก่เบตงบ้านเราส่วนมากจะมีขนสีแดง เหลืองทอง แม้จะเป็นขนสีอื่นบ้าง อย่างสีขาว (พบเห็นได้น้อยมาก) หรือสีขนลายผสมนั้นมีน้อยกว่ากันมากทีเดียว ความแตกต่างอีกข้อหนึ่งก็คือ ไก่เผียวจีนั้น ไม่มีการเอ่ยถึงปัญหาของการพัฒนาของขนหุ้มตัวเหมือนกับไก่เบตงของเรา ด้วยไก่เตงนั้น จะมีการพัฒนาขนตามตัวช้ามาก กว่าจะขึ้นเต็มตัวได้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่บ้านสายพันธุ์อื่นๆ จึงก่อให้เกิดปัญหาการป้องกันอากาศหนาวเย็น และการกลุ้มรุมดูดเลือดจากยุงและแมลงอื่นๆ (เป็นฝีดาษกันมาก) และการที่แม่ไก่ให้ไข่น้อยก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรบ้านเราไม่นิยมเลี้ยงกัน (ต้นทุนลูกไก่สูง เลี้ยงยาก) เมื่อไก่โตได้ที่ส่งตลาด ราคาก็ไม่ได้สูงกว่าไก่บ้านมากสักเท่าไร จึงทำให้ประชากรไก่เบตงลดน้อยลงเช่นกัน

หากเราจะนำเอากลยุทธ์แบบอย่างที่จีนนำมาใช้นั้น เราก็คงนำมาใช้ไม่ได้ เนื่องจากอุปนิสัยทัศนะนิยมในการกินไม่เหมือนกัน ชาวจีนนั้นให้ความสำคัญกับการกินเป็นที่สุด และพิถีพิถันในการเลือกกินของดีๆ ถึงแม้ว่าราคานั้น สูงลิบลิ่ว ก็ยังขวนขวายซื้อหามากินกัน แต่กับพี่ไทยเรานั้น ถ้าแพงเกินไปก็อย่าซื้อหามากินเลย (กินมาม่าดีฝ่า) และการที่จะให้หน่วยงานรัฐบาลดำเนินการรับซื้อไก่เบตงในราคาแพงเพื่อดึงราคาไก่ให้สูงขึ้นเหมือนดั่งที่ประเทศจีนใช้เพื่อกระตุ้นโน้มน้าวให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงกันเพิ่มขึ้นแล้วละก้อ ชาวบ้านคงรวยไม่เท่าทันบุคลากรของรัฐเป็นแน่ (เตะหญ้าเข้าปากหมู เตะหมูเข้าปากช้างเลยละนั่น) เอาละครับ ไหนๆก็หลงอ่านมาถึงนี้แล้ว เดี๋ยวจะเบื่อเสียก่อน แวะเข้าไปดูหนังเรื่อง ไก่เบตง (เผียวจี) กันดีกว่า คลิกเข้าไปเลยที่

http://video.baomihua.com/11387657/17992614

มีการกล่าวเกริ่นถึงไก่ที่หายากในมณฑลยูนนาน และแล้วพิธีกรหญิง (เจ้าประจำ) ก็ออกมารายงานว่า มีไก่หายากที่ประหลาด ประหลาดตรงไหนให้ตามไปดู แล้วก็ชวนให้มาดูชาย 3 คนนั่งโซ้ยไก่ต้มกัน ซึ่งแต่ละคนก็บอกว่า ไก่ไม่มีตูด พันธุ์นี้ รสชาติสุดยอด เนื้อนุ่ม กลิ่นหอมหวาน แล้วทางฝ่ายถ่ายทำรายการก็ชวนกันขึ้นรถไปดูบ้านเดิมของไก่ไร้ตูดสายพันธุ์นี้กัน สถานที่ว่านี้ก็คือ เมืองผู่เอ่อสื้อ ในอำเภอเจิ้นหยวนเซี่ยน ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นเขาสูง รายรอบไปด้วยป่าเขาลำน้ำ ได้มีการเปรียบเทียบให้เห็นระหว่างไก่บ้านทั่วไปกับไก่ เผียวจี  (มีขนหาง – ไม่มีขนหาง) และยังนำเอาไก่ที่ถอดถอนขนจนล่อนจ้อนมาเทียบเคียงให้ชมอีก โดยมีคุณ หลีวเฉียง (เลขากรรมการพรรคฯ ตำบล เถียนป้าเซียง) อธิบายให้ฟังว่า ไก่เผียวจีนั้น มีอวัยวะ 5 ส่วนที่ขาดหายไปจากไก่ปกติทั่วไป และกล่าวว่า ไก่สายพันธุ์นี้พบเห็นได้ถิ่นที่แห่งนี้เท่านั้น ถิ่นที่อื่นๆทั่วทั้งประเทศจีนไม่เคยปรากฏมาก่อน (จึงสรุปได้ว่า ไก่เบตงนั้นมีแหล่งกำเนิดที่นี่เป็นแน่แท้) ได้มีการตรวจสอบ ดีเอ็นเอ ของไก่ เผียวจี สรุปได้ว่า เกิดจากการผ่าเหล่ากลายพันธุ์โดยธรรมชาติ จัดเป็นไก่สายพันธุ์ใหม่ในกลุ่มสัตว์ปีกที่มีอยู่ จากการสำรวจของทีมงานอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์ พบว่ามีไก่ชนิดนี้หลงเหลืออยู่แค่ 201 ตัว ซึ่งอาจจะทำให้สูญพันธุ์ได้ จึงได้ทำการศึกษา ค้นหาข้อมูลเพื่อนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอนุรักษ์ไก่สายพันธุ์นี้ต่อไป ก็ได้พบนิยายปรัมปราเกี่ยวกับไก่สายพันธุ์นี้ดังนี้ เรื่องเล่าว่า ...

 

 

 

 

มีครอบครัวหนึ่งในถิ่นที่แห่งนี้ สะใภ้สาวได้ตั้งท้องขึ้น แม่ผัวจึงฆ่าไก่ต้มยาจีนบำรุงครรภ์มาให้กิน สะใภ้แต่พบว่า ตูดไก่ ที่นางชอบกินนั้นแหว่งหายไป ถึงถามแม่ผัวว่า ตูดไก่นั้นหายไปไหน แม่ผัวตอบว่า แม่ชอบกิน แม่ได้กินไปแล้ว นางจึงต่อว่าต่อขานแม่ผัวว่า ตูดไก่นั้นช่วยบำรุงครรภ์ เหตุใดจึงแอบเอาไปกิน แม่ผัวก็ไม่พอใจ กล่าวตอบว่า ฉันกิน หรือ เธอกิน มันก็เป็นคนในครอบครัวเดียวกันนั่นแหละ โกรธกันไปใย ? แต่สะใภ้ก็ไม่หายโกรธ ความสัมพันธ์จึงเลวร้ายลงเรื่อยๆ เมื่อมีสำรับไก่ขึ้นโต๊ะ แม่ผัวก็จะแย่ง ตูดไก่ กินทุกครั้งไป ทำให้ลูกสะใภ้น้อยใจ ผูกคอตาย โดยก่อนตายได้กล่าวบนบานว่า ถ้านางตายไป ขอให้นางได้ไปเกิดเป็นไก่ที่ไม่มีตูด เพื่อที่แม่ผัวจักได้ไม่มีโอกาสได้กินตูดไก่ต่อไป (แสดงว่าตูดไก่นี่ถ้าจะอร่อยจริงแฮะ ถึงกับยอมตายได้นะเนี่ย)

ถึงแม้ว่าจะเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ก็มีข้อคิดความเชื่อในหมู่ชาวบ้านที่นั่นว่า ถ้าครอบครัวใดเลี้ยงไก่นี้ไว้บ้าน ก็จะทำให้ประสบกับวิบัติขาดผู้สืบสายพันธุ์ เนื่องจากไก่พันธุ์นี้มีอวัยวะไม่ครบส่วน จึงไม่มีผู้สนใจเลี้ยงขยายพันธุ์ เมื่อเติบโตพอกินได้ ก็จะรีบเชือดกินทันที และโดยที่ถือว่าเป็นไก่อัปมงคล จึงไม่มีการให้ไก่สายพันธุ์นี้เป็นสิ่งกำนัลต่อกัน (คนจีนสมัยก่อนนิยมให้ไก่แก่เพื่อนบ้าน เนื่องในโอกาสวันดีคืนดีต่างๆ) ไก่นี้จึงขาดโอกาสในการแพร่ขยายพันธุ์ไปโดยปริยาย (ผู้ที่ได้รับกำนัลไก่มา ใช่ว่าจะฆ่าแกงกินเสียทั้งหมดไม่ แต่ได้นำไปเลี้ยงต่อเพื่อขยายพันธุ์ก็เป็นได้)

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาไก่ เผียวจี สูญพันธุ์ ทางการจึงต้องหาทางเพิ่มประชากรไก่ให้ได้ นั่นก็คือเปลี่ยนทัศนะคติไม่ดีที่มีมาแต่เดิมเสียใหม่ แล้วทำการหยุดฆ่า พร้อมทั้งทำการชักนำส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เลี้ยงกัน วิธีโน้มน้าวใจก็คือ การตั้งราคารับซื้อไก่ เผียวจี ให้สูงกว่าไก่พื้นบ้านทั่วไปเป็นเท่าๆตัว กลยุทธวิธีนี้ดูจะได้ผลดีเอามากๆ ทางการก็ใช้จิตวิทยามาล่อใจนักชิมชาวจีนให้มากินไก่ชนิดนี้กัน (คิดว่าคงได้ผลดีจริง เพราะเนื้อไก่ที่ว่านี้รสชาติมันก็โอชะตามความเป็นจริงเสียด้วย แต่ถ้านำมาใช้ในประเทศไทย ผลที่ได้คงเป็นไปอีกแบบต่างหากแน่นอน คุณล่ะ คิดว่าเป็นเช่นไร ?) เมื่อราคาซื้อขายกระเตื้องสูงขึ้น ก็เกิดการเลี้ยงขุนกันยกใหญ่ แต่ก็ยังประสบปัญหาที่ยุ่งยากในการขยายพันธุ์ ปัญหาที่ว่านี้ก็คือ การผสมพันธุ์ สาเหตุก็เกิดจากโครงสร้างทางร่างกายที่บางส่วนขาดหายไป เช่นจะงอยตูดที่ขาดหายไป ทำให้ขนหางยาว และขนปีกที่เป็นตัวช่วยพยุงตัวในยามขึ้นคร่อมสมสู่ทำได้ไม่ดีพอ อีกทั้งขนส่วนท้ายที่ลู่ลงนั้น เป็นอุปสรรคปิดกั้นการการสัมผัสในยามฉีดเชื้อ จึงทำให้การผสมติดของไข่มีเพียง 40 – 50 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าไก่ทั่วไปที่สูงถึง 85 เปอร์เซ็นต์

วิธีแก้ไขปัญหาการผสมให้ไข่ติดเชื้อง่ายๆก็คือ แนะนำให้ชาวบ้านตัดขนบั้นท้ายไก่ตัวเมียออกให้โล่งเตียน ให้เป็นการง่ายสำหรับตัวผู้ขึ้นขี่คร่อม แต่ก็ไม่สามารถคลี่คลายปัญหาได้ลุล่วงทั้งหมด ทางการจึงหาวิธีใหม่ที่ค่อนข้างได้ผล นั่นก็คือ การผสมเทียม โดยการรีดเชื้อจากตัวผู้ฉีดใส่ไก่ตัวเมีย ปรากฏว่าช่วยการผสมติดสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

หลังจากที่ทางการได้ใช้มาตรการชักจูงให้เกษตรกรหันมาบำรุงพันธุ์ไก่ เผียวจี ไก่ในลำดับต้นๆนั้น ไม่มีความเสถียรในลักษณะของสายพันธุ์ ทางการจึงได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ออกเป็นจำพวก ทั้งชนิดของสีขน รวมทั้งลักษณะเด่นที่ไร้ขนหางคงที่ไม่แปรปรวน ได้สายพันธุ์แท้ขึ้นมา ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ เพี่ยวจี ได้ปลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่โตที่ยูนนาน เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ (จีน) แล้ว ...

แล้วไก่เบตง ในบ้านเรา จะมีโอกาส เกิด บ้างหรือเปล่า ? ช่วยหาคำตอบให้ด้วยเถอะ

หมายเหตุ

แบะแซ คือน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากการหมักแป้งที่ได้มาจาก ข้าว ข้าวสาลี แป้งมันสำปะหลัง หรือ แป้งข้าวโพด มีลักษณะเหนียวหนืด ชาวบ้านเอามาเจือกับน้ำผึ้งแล้วกรอกใส่ขวดเร่ขายตามบ้านพักอาศัยทั่วไปในราคาค่อนข้างสูง โดยอ้างว่าเป็นน้ำผึ้งจากธรรมชาติแท้ๆเชียวนา เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่น ได้มีการเอารังผึ้งติดห้อยกับกิ่งไม้มาประดับโชว์ให้ดูด้วย ราคาจึงได้แพงกว่าน้ำผึ้งเลี้ยง (อย่าบอกใคร ผมก็หลงเชื่อมาแล้วเหมือนกัน อย่าได้ดูถูกการตลาดภูมิปัญญาชาวบ้านไปเชียวนะ)

เผียวจี (瓢鸡) ถ้าจะแปลกันให้ถูกต้องตามหลักภาษาแล้ว ต้องเรียกว่า ไก่เผียว เนื่องจาก จี / 鸡นั้น ก็แปลว่า ไก่ นั่นเอง แต่เมื่อนำมาใช้กันในภาษาไทยแล้ว มันให้ความรู้สึกที่ ห้วนและแข็งกระด้างเกินไปในการออกเสียง จึงต้องแปลทับศัพท์กันไป เมื่อฟังแล้วชวนให้รื่นหูดีกว่ากันเยอะเลย (ว่าไหม ?)

ไก่ที่มีเนื้ออร่อยที่สุด

จากการที่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการไก่มากว่า 40 ปี ได้ลิ้มลองรสชาติเนื้อไก่มาก็หลายสิบชนิด จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว บอกได้เลยว่า ไก่ที่มีเนื้อโอชะ อร่อยปากที่สุดนั้น คือ ไก่ คอล่อน ครับ เมื่อได้ลิ้มลองครั้งแรกในชีวิตนั้น บอกได้เลยว่า ตัวเรานี่หลงโง่งมไปซะนาน ทำไมจึงมองข้ามของดีๆไปได้ แต่ .. นั่นเป็นเรื่องที่ตำหนิกันไม่ได้ ไก่คอล่อนไม่เป็นที่นิยมกินกัน จึงไม่นิยมเลี้ยงกันตามไปด้วย สาเหตุเนื่องจากลักษณะของตัวมันนั่นแหละ ที่ไม่มีขนรอบคอ เมื่อมองดูแล้ว ทำให้นึกถึง อีแร้ง ซึ่งเป็นนกที่กินซากศพ ก็เลยพาลไม่กินไก่คอล่อนด้วยเลย (เขาเรียกว่า ภาพหลอนลวงตา พาให้โง่) ส่วนเนื้อไก่ที่อร่อยรองลงมานั้นก็คือ ไก่ เก้าชั่งครับ แต่ต้องเป็นไก่ที่โตเต็มที่แล้วนะครับ ไอ้ที่น้ำหนักตัว 4 – 5 กิโลกรัม น่ะ มันยังเด็กๆอยู่เลย ต้องให้ได้อย่างน้อย 7 – 9 กิโลกรัม นี่สิ กินแล้วเลิกกินไก่เนื้อขนขาวไปเลย (รสชาติเหมือนเคี้ยวกล่องกระดาษยังไงยังงั้น)

ส่วนร้านอาหาร ที่ขึ้นเมนูว่า ไก่เบตง นั้น อย่าได้ไปหลงเชื่อเชียวนา เพราะทุกวันนี้มันหาได้ยากเต็มที ที่เสริฟมาให้ดีใจเล่นว่าได้กินไก่เบตงนั้น มันก็คือไก่พื้นบ้านแท้เท่านั้นเอง แต่ถ้าเจอไก่บ้านเทียม (สาม หรือ 4 สายเลือด) ก็จงทำใจเถอะครับว่าถูกหลอกอย่างจังเข้าแล้ว โยม

จากการเพ่งพิศวงการปศุสัตว์ของจีนมาหลายปี แล้วนำมาเปรียบเทียบกับปศุสัตว์ไทย บอกได้ว่า มันแสนเศร้าใจ เอาแค่เรื่องไก่ตัวเดียว เราก็แพ้หลุดลุ่ยแล้ว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ เราดีกว่าจีนมาก แต่ทุกวันนี้ ไก่ที่มีชื่อทุกสายพันธุ์ ถูกทางการเข้ามาดูแล อุ้มชู จนกลายเป็น อุตสาหกรรม ไก่พื้นบ้าน เป็นสินค้าส่งออกที่ทำเงินเข้าสู่ประเทศมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นไก่ดำ ไก่สามเหลือง ไก่ไหหลำ ฯลฯหรือกระทั่ง ไก่เผียวจีนี่ด้วยเช่นกัน

 

 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google