ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article

 

ถ้า เอ่ยถึงโปรตีน อันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเพาะปลูกที่เกษตรกรได้ยินได้เห็นจากสื่อต่างๆนั้น ร้อยทั้งร้อยต่างก็เข้าใจว่าเป็นอาหารพืชโดยตรง และบริษัทผู้จัดจำหน่ายมักจะโฆษณาว่า เป็นอาหารทางด่วนสำหรับพืช เหมือนกับการให้น้ำเกลือสำหรับผู้คนที่ป่วยรักษาตัวบนเตียงคนไข้นั่นแหละ

แต่สำหรับ โปรตีน ที่หยิบยกมาแนะนำให้รู้จักกันวันนี้ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งเช่นกัน แต่มิได้ทำหน้าที่เหมือนโปรตีนที่โฆษณาประกาศขายกันปาวๆทั่วทั้งประเทศ หากแต่ทำหน้าที่ปกป้อง – คุ้มครองพืชที่ปลูกให้อยู่อยู่รอดปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย หรือแม้กระทั่งพวกแมลงก็ยังได้ผลด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังช่วยให้ต้นพืชเติบโตได้เร็วไว ให้ผลผลิตเพิ่ม ด้วยคุณภาพที่ดีกว่าเดิมอีกด้วย

รายละเอียดผลิตภัณฑ์

เชาหมี่นต้านไป๋ (超敏蛋白/ โปรตีนผู้ส่งสาร / messenger protein / hypersensitive protein) จัดเป็นผลิตภัณฑ์จำพวก Plant Health Promoter

ความเป็นมา

ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาวิจัย หน่วยพันธุกรรม (ยีน) ของมนุษย์นั้น พบว่า มนุษย์เรานั้น ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์ไหนก็ตาม ต่างมี ยีน ของร่างกายอยู่ร่วม 3 พันล้านหน่วย แต่ที่ทำงานแสดงออกนั้นมีเพียงแค่ 1 ในหมื่นเท่านั้น นั่นหมายความว่ายีนส่วนใหญ่ในยามปกติแล้วจะไม่ทำงาน แต่ถ้าหากยีนที่สงบเงียบเหล่านี้ตื่นตัวทำงานเกือบทุกตัวแล้วไซร้ คนเราจะมีอายุยืนยาวถึง 200 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว

 

 

เชาหมี่นต้านไป๋

ผลจากการทดสอบกับพืชหลายชนิด

ผลจากการทดสอบกับพืชหลายชนิด

เปรียบเทียบในยาสูบ ต้านทานโรค โมเซอิก ขวาไม่ได้ใช้

เปรียบเทียบในยาสูบ ต้านทานโรค โมเซอิก ขวาไม่ได้ใช้

 

จากความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์เราเมื่อตกอยู่ในภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายหรือในภาวะคับขันถูกกดดันแล้ว จะมีปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดเกิดขึ้นให้เห็นจากการกระทำอยู่เนืองๆ อย่างเช่น เมื่อร่างกายของคนเราถูกเชื้อโรครุกเข้าโจมตี ร่างกายของเราก็จะมีเม็ดโลหิตขาวเพิ่มขึ้นในปริมาณมากอย่างชัดเจน หรือไม่เมื่อยามเราเจอสิงโตแล้ววิ่งหนีการไล่ล่า เราจะวิ่งได้เร็วกว่ายามปกติ หรือไม่ก็ยกโอ่งหนักหนีไฟไหม้บ้านได้อย่างสบายๆ (นี่เป็นเรื่องแปลกที่เกิดขึ้น 2 รายการเลยทีเดียว พละกำลังมันเกิดมีมากมายได้อย่างไร และไอ้ที่แบกออกมานั้น แบกเอาโอ่งหนีไฟออกมาทำไม นั่นคือยีนบางตัวมันเกิดทำงานขึ้นมาแล้วละนั่น) 

อย่างไรก็ตาม ศักยภาพบางอย่างทางร่างกายก็สามารถที่จะสร้างให้เกิดขึ้นมาได้จากการฝึกปรืออยู่อย่างสม่ำเสมอ (เช่น การวิ่ง การกระโดด หรือการฝึกกำลังภายในของศิษย์บู๊ลิ้ม) หรือจากการฉีดสารโปรตีนแกรมม่ากลูโบลินที่กระตุ้นความต้านทานของร่างกาย หรือ การทำวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน (โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส วัณโรค ฝีดาษ หัดเยอรมัน อีสุกอีใส) ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ ถ้าเช่นนั้น ภายในต้นพืชจะมีกลไกสร้าง ความต้านทาน เหมือนดังเช่นในมนุษย์หรือไม่ เมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติต่อการดำรงชีพของมัน คำตอบคือ มีอย่างแน่นอน โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ถูกสังเกตเห็นจากนักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการีที่ทำการวิจัยถึงความต้านทานที่เกิดขึ้นภายในต้นพืชในปี 1963 จนกระทั่งถึงปี 1992 ดร. ไหว่ จงหมิน (韦忠民) นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนโพ้นทะเลที่ทำงานวิจัยในมหาวิทยาลัย Cornel สหรัฐอเมริกาได้ค้นพบ
สารโปรตีนชนิดหนึ่งในเชื้อแบคทีเรีย Erwinia amylovora ที่ทำให้เกิดโรคในพืชสร้างความต้านทานขึ้นมาได้ และได้ตั้งชื่อโปรตีนนี้ว่า เชาหมี่นต้านไป๋ (harpin protein)

จากการค้นพบความเป็นไปในปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้ความลับเกี่ยวกับความต้านทานในต้นพืชได้ถูกเปิดเผยขึ้น และทางวารสารวิทยาศาสตร์ (อเมริกา) ก็ได้รายงานผลงานชิ้นนี้อย่างเป็นทางการ ถือเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างสูง และในปี 1997 ดร.ไหว่ ก็ได้เข้าร่วมงานวิจัยกับ บริษัท Edenbiotechnology company ทำการพัฒนาสารโปรตีนชนิดนี้ขึ้นมาใช้งานในวงการเพาะปลูกอย่างกว้างขวาง – เชาหมี่นต้านไป๋

 

 เปรียบเทียบในต้นกล้าพริก ซ้ายไม่ได้ใช้

เปรียบเทียบในต้นกล้าพริก ซ้ายไม่ได้ใช้

เปรียบเทียบในมะเขือเทศ ซ้ายไม่ได้ใช้

เปรียบเทียบในมะเขือเทศ ซ้ายไม่ได้ใช้

 

ผลิตภัณฑ์

เชาหมี่นต้านไป๋ เป็นผลิตภัณฑ์ไบโอโปรตีนชนิดใหม่ที่ใช้งานได้อย่างกว้างขวางในการเพาะปลูก มีสรรพคุณที่หลากหลายรอบด้าน (ยังกะยาเทวดาอีกนั่นแหละ) มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่เด่นชัด เป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้มาตรฐาน จนกระทั่งสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เสปน และประเทศในแถบยุโรปหลายประเทศได้นำไปใช้กับการเพาะปลูก ใบยาสูบ ข้าว พืชผัก ผลไม้ นานาพรรณ ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีเด่นในด้านการป้องกันโรค –แมลงที่เกิดขึ้นกับพืชที่ปลูก อีกทั้งยังส่งเสริมการเจริญเติบโตและยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวได้นานวันส่วนผลทางด้านระบบนิเวศ ผลทางด้านเศรษฐกิจก็เห็นผลได้ชัดแจ้ง ปัจจุบันกว่า 30 ประเทศทั่วโลกยอมรับให้ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ ประเทศจีนได้จดทะเบียนเลขที่ PD20070120 เมื่อปี 2007 และเมื่อปี 2009 โรงงานยาสูบภายในประเทศ (จีน) ได้สนับสนุนขึ้นบัญชีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในไร่ยาสูบได้ และต่อมาในปี 2010 สำนักงานส่งเสริมกระทรวงเกษตรได้ทำรายงานยืนยันผลงานการใช้สาร เชาหมี่นต้านไป๋ ในการป้องกัน – ควบคุมโรคที่เกิดขึ้นในพืชตระกูลพริก โรคที่เกิดจากไวรัสในมะเขือเทศ และโรคข้าวแคระเส้นดำที่เกิดขึ้นในแหล่งปลูกข้าวทางใต้ของประเทศจีน

กลไกการทำงาน

เชาหมี่นโปรตีน เป็นองค์ประกอบที่สกัดได้จากสารกระตุ้นที่เชื้อแบคทีเรีย Erwiniaamylovora สร้างขึ้น (เรียกว่า HarpinEa) ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 403 ชนิด น้ำหนักโมเลกุล 44 DK อุดมไปด้วยสาร ไกลซีน (ประมาณ 21 %) ปราศจากสาร ซีสตีน เลขลำดับระเบียนยีนคือ AAC 31644 เมื่อทำการฉีดพ่นลงบนผิวใบ จะทำให้ตัวรับสัญญาณที่พื้นผิวใบทำงาน รับเอา สัญญาณเทียม นี้ส่งไปยังประสาทรับรู้ของต้นพืช (สัญญาณการรุกรานของเชื้อโรค) ก่อให้เกิดการสนองตอบที่รวดเร็วในการกระตุ้นเตือนให้ ยีน หลายชนิดสร้างสารต้านทานโรคขึ้นมาโต้ตอบเชื้อโรคอย่างรวดเร็ว (ใช้เวลา 3 – 5 นาที) ส่วนใหญ่จะเป็นสารจำพวก กรดซาลิลิก  และ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หลังจากนั้น 30 นาที ทั่วทั้งต้นพืชก็จะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียเชื้อรา และสารพิษที่เกิดจากการทำลายของแมลง ขณะเดียวกันนั้น ได้กระตุ้นให้พืชสร้าง แฟคเตอร์ (กรดจัสโมนิก และอีทธีลีน) ที่เกี่ยวโยงกับขบวนการชีวเคมีภายในเข้มข้นขึ้น เช่นขบวนการ แสงสังเคราะห์ ทำให้ต้นพืชเติบโตอย่างแข็งแรง เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพ และมีอายุเก็บรักษาที่คงทนยาวนานขึ้น

 

 เปรียบเทียบผลในกล้วย และ องุ่น

เปรียบเทียบผลในกล้วย และ องุ่น

เปรียบเทียบผลในพริก ซ้ายไม่ได้ใช้

เปรียบเทียบผลในพริก ซ้ายไม่ได้ใช้

 

คุณลักษณ์พิเศษ

โปรตีน เชาหมี่น 3 % ในรูปของผงเม็ดขนาดเล็กๆ มีผลชักนำการทำงานของพืชพรรณธัญพืช ไม้ยืนต้นไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับต่างๆรอบด้าน ผลหลักๆที่ปรากฏให้เห็นนั้นมีดังต่อไป

1. ชักนำให้ต้นพืชเกิดความต้านทานต่อเชื้อโรค - แมลงได้เป็นอย่างดี โปรตีนเชาหมี่น ก่อให้เกิดความต้านทานต่อเชื้อไวรัส, โรคdowny mildew, gray mold, แมลง aphids, whiteflies, spodoptera โรคและแมลงอื่นๆอีกร่วม 62 ชนิดที่ให้ผลปกป้อง และควบคุมได้ผลอย่างชัดเจน

2. ลดความสูญเสียหลังเก็บเกี่ยว ยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตได้ยาวนานขึ้น จากผลการทดลอง พืชผลที่ผ่านการใช้ โปรตีนชนิดนี้ สามารถรักษาความสดได้ยาวนานอีกตั้งแต่ 5 – 13 วัน

3. สามารถเร่งอัตราการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบราก ระบบลำต้น รวมทั้งระบบการให้ผลผลิต (ทั้งปริมาณและคุณภาพ) เพิ่มอัตราเร่งและประสิทธิภาพของกระบวนการ “แสงสังเคราะห์” เพิ่มอัตราความเร็วของการเจริญเติบโต ออกดอกเร็วขึ้น เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น

4. เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น ปรับปรุงคุณภาพได้ดีกว่าเดิม

เทคนิคและวิธีใช้

ให้ใช้น้ำสะอาดที่ปราศจากคลอรีน (ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปา) ละลาย โปรตีน เชาหมี่น แล้วฉีดพ่นลงที่หน้าใบ หรือหลังใบพืชก็ได้ ไม่จำเป็นต้องถึงกับเปียกโชก ฉีดพอแค่เปียกใบก็พอ สามารถใช้ผสมร่วมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือด่าง หรือสารจำพวก non – ionic  (ปราศจากประจุ) โดยไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด ให้ทำการละลายโปรตีน เชาหมี่น 1 – 2 นาที แล้วค่อยเติมสารอื่นตามทีหลัง จะให้ผลที่ดีกว่า ฉีดพ่นลงตรงส่วนที่ปลายยอด หรือกิ่งที่เพิ่งแตกใหม่ หรือใบอ่อนจะให้ผลตอบสนองที่ดีที่สุด

ปริมาณการใช้

พืชเศรษฐกิจ พืชผัก ไม้ดอก ให้ฉีดพ่นระยะที่เป็นต้นกล้า ช่วงย้ายปลูก หรือช่วงระยะที่มีอัตราการเติบโตเร็ว พื้นที่ 1 ไร่ ใช้โปรตีนเชาหมี่น 20 กรัม เจือจางกับน้ำ 20 – 30 ลิตร ฉีดพ่น 2 – 3 ครั้ง
ไม้ยืนต้น ผลไม้ ยางพารา ใช้โปรตีนเชาหมี่น 40 กรัม ผสมน้ำ 30 – 40 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อแตกใบอ่อน จนกระทั่งก่อนเก็บเกี่ยว 15 – 20 วัน ฉีดพ่น 3 – 5 ครั้ง

ข้อควรระวัง
• หลังทำการฉีดพ่นคล้อยหลังไปแล้ว 30 นาที มีฝนตกตามมา ให้ทำการฉีดพ่นใหม่
• เปิดซองแล้ว ต้องทำการใช้ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อละลายเจือจางแล้ว ต้องใช้ให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง
• โปรตีน เชาหมี่น นี้แพ้สารคลอรีน งดเว้นใช้น้ำประปาทำการเจือจางโดยเด็ดขาด
• เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงผลกระทบทำให้เสื่อมประสิทธิภาพของสารโปรตีนชนิดนี้ ห้ามใช้ร่วมกับสารที่มีฤทธิ์ที่เป็นกรดจัด – ด่างจัด (pH<5 /  pH>10) สารที่เป็นตัวอ๊อกซิไดซิ่ง สารป้องกันโรครา ยาฆ่าแมลง ที่มีประจุ ปุ๋ยที่อยู่ในรูปของ ไอโอนิก (+ / -) หลีกเลี่ยงสัมผัสกับแสงแดด แสงอัลตราไวโอเลต ที่จะทำให้สารออกฤทธิ์เสื่อมประสิทธิภาพ

【เลขที่ขึ้นทะเบียน (จีน)】PD20070120F070064
【สารออกฤทธิ์】โปรตีนที่ไวว่อง (hypersensitive protein)
【เนื้อสาร】3%
【รูปแบบ】ผงเม็ดขนาดเล็ก
【ระดับความเป็นพิษ】ต่ำ
【ประเภทของสาร】สารเสริมศักยภาพพืช

 

 

 

Other benefits

In addition harpin proteins has also been found to produce a wide range of benefits, including:
• Increased photosynthesis
• Increased nutrient uptake
• Cell-wall expansion
• Increased root systems
• Promotion of flower initiation and fruit set and size
• Increased fruit sugars
• Frost protection
• Reduction in nematode populations
• Reduction in cases of botrytis
• Increased yields of 8 – 20% in row crops
• Increased yields from 10 – 30% in vegetable crops
• Reduction of nematodes up to 50%
• Increased shelf life of fresh-cut vegetables up to 3 – 7 days.

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google