ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?

 

ปลูกมะเขือเทศในกองหิน ต้นสูงเท่ากับตึก 2 ชั้น ได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 200 ผลต่อต้น

โดยที่ใบจากโคนต้นจรดปลายยอดยังคงความเขียวสดทั้งต้น ไม่เหลืองซีด ไม่หลุดร่วง ไม่โรยรา

เกษตรกรที่เคยปลูกมะเขือเทศคงไม่เชื่อแน่ว่า ในโรงเรือนเพาะปลูกแห่งนี้สามารถปลูกมะเขือเทศได้สูงเท่ากับตึก 2 ชั้น ให้ผลผลิตกว่า 200 ผลต่อต้น โดยที่ใบแรกๆที่โคนต้นยังคงความเขียวสดยึดติดลำต้นไม่หลุดร่วง ไม่โรยรา ถ้าไม่เชื่อ ก็เชิญตามมาพิสูจน์กัน

 

ฉากแรก พิธีกรสาวเจ้าเดิมที่ชื่อว่าลู่ไหม (陆梅) มาเป็นพิธีกรในรายการพิเศษที่ต่อเนื่องเป็นชุด  (series) ที่ชื่อว่า “คุณรู้ไหมเอ่ย” (你知道吗) ออกมาเกริ่นกล่าวเนื้อหาของเรื่องราวที่จะนำเสนอในวันนี้ เธอบอกว่าต้นมะเขือเทศที่สูงเท่าตึกสองชั้นปลูกอยู่ในโรงเรือนเพาะปลูก ณ.สถาบันการเกษตรและป่าไม้แห่งกรุงปักกิ่ง (北京市农林科学院/ BeijingAcademyof Agriculture and Forestry) โดยทางผู้จัดรายการได้ส่งผู้สื่อข่าวไปสอบถามผู้คนหลากหลายอาชีพที่มีอายุแตกต่างกันว่า “คุณรู้ไหม ต้นมะเขือเทศสูงแค่ไหน ?” คำตอบที่ได้ก็แตกต่างกันออกไป

คนแรกบอกว่า คงไม่สูงเท่าไร (อ้าว แล้วมันสูงเท่าไรกันล่ะเพ่)

สาวน้อยตอบว่า สูงกว่าหนูอ่ะ (แหมเอาตัวเองเป็นมาตรฐานเลยเชียวนะ แม่หนูน้อย) ส่วนสาวใหญ่บอกว่า หนึ่งฟุต (เหวอ !)

ชายน้อยตอบว่า 4 ถึง 5 เซนติเมตร (วุ้ย ยิ่งทียิ่งเตี้ยลงนะเนี่ย!!!)

ส่วนวัยรุ่นชายผู้นี้ตอบว่า ไม่รู้ซีครับ (แหมตอบได้ซื่อตรงดีนี่ ไมรู้ก็บอกว่าไม่รู้)

 

ส่วนคนสุดท้ายที่ยิงคำถามออกไป อาม่าตอบว่า อาราย จาถ่ายรูปอาม่าไปออกทีวีเหรอนี่ (เป็นงง เป็นงง สับสนไปแล้วอาม่าจ๋า) 

ฉากต่อมาตัดไปยังสถานโรงเรือนเพาะปลูกของสถาบันการเกษตรและป่าไม้แห่งกรุงปักกิ่งที่มีท่านอาจารย์ หลิว หมิงฉือ (刘明池) เป็นผู้ควบคุมดูแล วันนี้คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่เดินทางมาชมต้นมะเขือเทศที่มีความสูงเท่ากับตึก 2 ชั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเพาะปลูกพืชผักทั้งนั้น

จากการสุ่มถามผู้คนเกี่ยวกับมะเขือเทศต้นสูงใหญ่ดังกล่าว บางคนบอกว่า มันคงไม่ใช่มะเขือเทศเป็นแน่  คงเป็นปู่มะเขือเทศบ้าง บ้างก็ว่าเป็นมะเขือเทศกลายพันธุ์ มีบางท่านก็บอกว่าคนปลูกมีฝีมือขั้นเทพ บ้างก็ว่าทำการเปลี่ยนตอติดตา บางคนก็ตอบเข้าท่าหน่อยว่า อาจจะได้รับรังสี หรือไม่ก็ได้รับสารกระตุ้นประเภทฮอร์โมน ซึ่งคำตอบทั้งหมดนี้ ไม่มีข้อใดถูกต้องเลย มะเขือเทศที่ปลูกนี้เป็นสายพันธุ์ธรรมดาที่ปลูกอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่าใช้เทคนิคที่ศึกษาเรียนรู้มาทางด้านวิทยาศาสตร์ - ชีววิทยามาประยุกต์ใช้เท่านั้นเอง

 

การปลูกพืชไร้ดินนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ เพอร์ไลต์ ผสมกับอินทรียวัตถุ แต่อาจารย์หลิวไม่ใช้อินทรียวัตถุเลย คงใช้แต่ เพอร์ไลต์เพียงอย่างเดียว (เรียกว่าใช้เพียวๆ) อาจารย์หลิวยังกล่าวอีกว่า การที่ไม่ใช้อินทรียวัตถุเลยนั้นก็เพื่อเป็นการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะกว่าได้วัตถุอินทรีย์นั้น ต้องใช้เวลาย่อยสลายตัวเป็นเวลานับร้อยนับพันปีเลยทีเดียวส่วนเพอร์ไลต์นั้นเป็นสารอนินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ หลังจากใช้งานสมประโยชน์แล้วก็สามารถนำไปหว่านใส่ลงพื้นดิน เป็นวัตถุปรับปรุงบำรุงดินได้อีกต่างหาก




สารเพอร์ไลต์นั้นเป็นหินแร่ชนิดหนึ่งที่มีน้ำหนักเบา เนื่องจากมันได้ผ่านการขยายพองตัวออกเหมือนกับเมล็ดข้าวโพดที่ได้รับความร้อยแล้วระเบิดออกเป็นป๊อปคอร์น นั่นแหละ คุณสมบัติหลักนั้นคือมีน้ำหนักบา มีรูพรุนเล็กๆจำนวนมาก ระบายน้ำได้ดี สามารถอุ้มน้ำได้ประมาณ 70 % ผู้ที่สนใจใคร่รู้ว่า เพอร์ไลต์ คืออะไร สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%8C

เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่ใคร่ได้สัมผัสกับแร่หินนี้เท่าไร (แม้แต่เกษตรกรก็เถอะ) เมื่อไปสอบถามว่า เพอร์ไลต์ คืออะไร จึงได้รับฟังตำตอบชวนขำที่คาดคิดไม่ถึง

เด็กน้อยตอบว่า ผมยังไม่เคยกินเลยฮับ ไอ้เพอร์ไลต์นี่น่ะ (ฮา)

เด็กโตหน่อยตอบว่า น่าจะเป็นไข่มุกที่บดละเอียดแล้ว เติมเกลือลงไปหน่อยนะ ผมว่า

วัยรุ่นผู้นี้คาดเดาเอาด้วยความเข้าใจผิด เนื่องจาก เพอร์ไลต์ในภาษาจีนนั้นเรียกว่า เจินจูเหยียน 珍珠岩ซึ่งคำว่า เหยียน (岩) ไปพ้องกับเสียงกับคำว่าเกลือ 盐 (อ่านว่าเหยียนเหมือนกัน แต่คนละความหมาย อักษรสองตัวแรกอ่านออกเสียงว่าเจินจู แปลว่าไข่มุก ส่วนคำว่า เหยียน ตัวสุดท้ายนั้นแปลว่า หิน หรือภูเขาหินก็ได้  หนุ่มน้อยผู้นี้เลยเหมาเอาความหมายตามเสียงอ่านซะเลย (ก็ถูกต้องอยู่นะน้อง)

ส่วนน้าสาวคนนี้ ตอบไปคนละเรื่องเลยว่า ที่บ้านเลี้ยงหอยตัวหนึ่ง ภายในเปลือกหอยจึงเกิด

ไข่มุกขึ้นมาเม็ดหนึ่ง (คุณน้าครับ เราคุยกันเรื่องอะไรกันครับ)

ส่วนสาวเจ้านางหนึ่งตอบว่า เอามาให้อิฉันดูหน่อยได้ไหม ? (คือว่า ยังไม่เคยเห็นอ่ะ ดูแล้วเห็นแล้วอาจจะตอบได้นะจ๊ะ)

 

ฉากถัดมาก็เป็นการแนะนำให้รู้จักกับ เพอร์ไลต์ และ อินทรียวัตถุ ที่ใช้ในการปลูกพืชไร้ดิน (กองสีขาวคือเพอร์ไลต์ กองสีดำคืออินทรียวัตถุ) แต่อาจารย์หลิวเลือกใช้แต่ เพอร์ไลต์ เพียงอย่างเดียว ไม่ใช้อินทรียวัตถุที่มีธาตุอาหารพืชผสมเจือปนอยู่ ถ้าเช่นนั้นต้นมะเขือเทศที่ปลูกโดยให้ผลผลิตสูงถึงปานนั้น ได้รับอาหารมาจากไหนกันเล่า พืชมันต้องกินต้องดื่มเหมือนกันนะ สารเพอร์ไลต์นั้น เมื่อผ่าความร้อนสูงๆมาแล้วก็จะระเบิดพองตัวออก ทำให้มีน้ำหนักเบา และมีช่องว่างอากาศเล็กๆจำนวนมาก (ให้ดูข้อมูล เพอร์ไลต์จาก วิกิพีเดีย) ซึ่งจะสามารถดูดซับน้ำไว้ได้จำนวนหนึ่ง ประมาณ 70 %


ไม่ต้องบอกนะครับว่าเป็นผลมะเขือเทศคนจีนเรียก ฟานเฉีย (番茄) หรือถ้าเรียกให้ไพเราะหน่อยว่า ซีหงสื้อ (西红柿) ก็ได้เช่นกัน (ลูกพลับแดงตะวันตก)

ไม่ต้องบอกนะครับว่าเป็นผลมะเขือเทศคนจีนเรียก

ฟานเฉีย (番茄) หรือถ้าเรียกให้ไพเราะหน่อยว่า

ซีหงสื้อ (西红柿) ก็ได้เช่นกัน (ลูกพลับแดงตะวันตก)

มะเขือเทศผลนี้เป็นพันธุ์พิเศษครับ

มะเขือเทศผลนี้เป็นพันธุ์พิเศษครับ

 

การปลูกมะเขือเทศในดิน เมื่อเติบโตได้ความสูงเมตรกว่าๆ ใบล่างไล่จากโคนต้นก็พลันเหลืองซีด พาให้ต้นทรุดโทรมไป จึงทำให้เติบโตได้ไม่เต็มที่ตามอายุขัยที่แท้จริงของมัน (เรียกว่าตายก่อนวัยก็ได้นะจ๊ะ) สาเหตุหลักสำคัญที่เราละเลยไปก็คือ รากขาดอากาศหายใจครับ (ออกซิเจนไม่เพียงพอ) เมื่อเป็นดั่งนี้จึงทำให้ระบบรากที่ควรจะพัฒนาต่อไปได้อีกต้องยั้งหยุดขาดตอนลง ทำให้ขาดน้ำขาดอาหารที่จะไปเลี้ยงลำต้นและผล จึงทำให้ต้นโตไม่ได้เต็มที่ตามศักยภาพของมัน ผิดกับมะเขือเทศที่ปลูกใน เพอร์ไลต์ ที่มีอากาศจัดจ่ายให้อย่างเหลือเฟือ ดังนั้น

อย่ามองข้ามอากาศธาตุในดิน มันทรงความสำคัญมาก มากจนกระทั่งต้นมะเขือเทศเติบโตสูงชะลูดได้ 5 เมตรเศษ จะเห็นว่าใบทั้งหมดก็คงยึดติดคาต้นเขียวขจีตั้งแต่โคนต้นจรดปลายยอดโน่น ผลผลิต 200 ผลจึงเป็นเรื่อง ธรรมด๊าธรรมดา (นี่คือความชาญฉลาดที่เรียนรู้แล้วสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานใช้ประโยชน์ได้) คงมีคำถามตามมาว่า แล้วมะเขือเทศจะได้แร่ธาตุอาหารมาจากไหนเล่าครับ ตรงนี้ตอบได้ไม่ยาก ก็มาจากน้ำยังไงเล่าครับ น้ำที่มีแร่ธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต ละลายไปพร้อมกับน้ำทางท่อน้ำพีวีซีสีดำที่เสียบติดกับหัวจ่ายน้ำที่มีลักษณะเหมือนกับเข็มเล่มใหญ่ปักลงไปในวัสดุปลูกเพอร์ไลต์ นั่นเอง

ภาชนะที่อาจารย์หลิวใช้บรรจุวัสดุปลูกนั้นแตกต่างจากภาชนะปลูกที่ใช้กันทั่วไป จะสังเกตเห็นได้ว่า มีขาสูงกว่า ด้านใต้ของภาชนะนั้นมีรูอยู่ตรงกลาง ซึ่งออกแบบมาให้สารละลายอาหารพืชส่วนเกินระบายลงท่อพีวีซีที่วางไว้ด้านล่าง ไหลกลับไปสู่บ่อพักเก็บ เพื่อนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ ไม่ปล่อยสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งปริมาณน้ำที่ประหยัดได้นี้คิดคำนวณแล้วไม่น้อยกว่า 50 %เลยทีเดียว ดูรากจากที่ดึงขึ้นมาจากภาชนะปลูก อู้ฮู รากหนาแน่นจริงๆนะเนี่ย

ความลับอีกอย่างก็คือกระจกที่ใช้กางกั้นโรงเรือนนั้นเป็นกระจกพิเศษ ไม่ได้เป็นกระจกใสเรียบที่ใช้กับโรงเรือนเพาะชำ –เพาะปลูกทั่วๆไป แต่เป็นกระจกใสที่มีผิวหน้าเป็นปุ่มปมเล็กๆ ทั้งนี้กระจกลักษณะที่ว่านี้สามารถกระจายแสงได้ดีกว่ากระจกใสธรรมดา เมื่อทิศทางของลำแสง (อาทิตย์) เปลี่ยนมุม จึงทำให้แสงแดดกระจายได้ทั่วถึง 360 องศา ทำให้ต้นมะเขือเทศได้รับแสงแดดทั่วทุกมุมใบ ทุกๆใบ จึงทำให้ขบวนการแสงสังเคราะห์เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว (นี่คือประเด็นที่เราพยายามบอกเกษตรกรว่า แสงแดดนั้นคงความสำคัญยิ่งต่อการเพาะปลูก แต่ในเมื่อปลูกในโรงเรือนเช่นนี้ไม่ได้ ก็ต้องใช้ทางเลือกทางอื่นที่จะช่วยขบวนการแสงสังเคราะห์เพิ่มขึ้น นั่นก็คือใช้สารชักนำพันธุกรรม นาซี 778)

มีตัวอย่างความสำคัญของแสงแดดที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของผิวสีของผลไม้ นั่นก็คือแอปเปิล แอปเปิลสีนั้นปัจจุบันผลสีแดงทั้งผล เนื่องจากเกษตรกรจีนนั้น นำเอาแผ่นฟิล์มสีเงินสะท้อนแสง

ไปปูวางไว้ใต้ต้น แสงที่สะท้อนขึ้นไปมีผลทำให้สร้างสีแดงขึ้น ทำให้ผลแอปเปิลมีสีแดงสวยสดทั้งลูก

คราวหน้าจะนำเสนอ การปลูกมะเขือเทศในเขตุพื้นที่ทะเลทราย โดยขุดดินฮิวมัสที่ใช้ปลูกอยู่เดิมอก แล้วขนทรายเข้าแทนที่ ปลูกในกองทรายล้วนๆ ปลูกโดยไม่ต้องใช้ยาเคมี แต่ต้นเติบโตแข็งแรงงามดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นก่ายกองมากกว่าที่ปลูกในดินที่มีฮิวมัสเสียอีก สนใจเรียนติดตามเรียนรู้เทคนิคดีๆแล้วนำไปปรับใช้นะครับ

สวัสดี (จะไปขนทรายมาปลูกต้นไม้ครับ)

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google