ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก

 

การเพาะปลูกทุกวันนี้ต้องให้เครดิตแก่สารควบคุม-กำจัดวัชพืช ที่ทำให้การเพาะปลูกเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลดี เพราะสามารถลดต้นทุน แรงานและเวลาได้มากโข ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วยการกำจัด - ทำลายวัชพืชที่คอยแก่งแย่งแสงแดด อากาศ น้ำและปุ๋ยกับพืชที่ปลูก

การทำสวนทำไร่ไร่ทุกวันนี้ จำเป็นต้องอาศัยสารควบคุม-กำจัดวัชพืชมาช่วยในการเพาะปลูก หาไม่แล้วก็จะประสบกับความลำบาก ต้องเสียเวลาไปกับการเขตกรรมทำลายวัชพืช ผลผลิตได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรืออาจจะไม่ได้เก็บผลผลิตเลยก็เป็นได้ ซึ่งสารกำจัดวัชพืชดังกล่าวนี้มีทั้งประเภทเจาะจงเลือกทำลาย กับประเภทที่ไม่เจาะจงทำลาย โดยประเภทเลือกทำลายนั้นยังแยกออกเป็น 

1. เจาะจงฆ่าทำลายวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่เกษตรกรใช้กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืชใบเลี้ยงคู่อย่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย มันฝรั่งเป็นต้น
2. เจาะจงฆ่าทำลายวัชพืชใบเลี้ยงคู่ที่เกษตรกรใช้กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอย่าง ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลีเป็นต้น

แม้ว่าสารควบคุม – กำจัดวัชพืชเหล่านี้สามารถกำจัดวัชพืชได้ดีก็ตาม แต่ก็มีผลกระทบต่อพืชประธานที่ปลูกด้วยเช่นกัน หากแต่ผลกระทบนั้นน้อยจนสังเกตเห็นไม่ชัดเจน แต่ผลกระทบที่สาหัสสากรรจ์นั้นอยู่ที่สารเหล่านี้ตกค้างสะสมในดินเป็นเวลานานวันจนดินเสื่อมโทรม สภาพดินเป็นพิษ ปลูกพืชไม่ได้อีกต่อไป (น่าเป็นห่วงนะ ว่าไหม)

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น 3 แห่งในแหล่งพื้นที่เพาะปลูกอันกว้างใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ที่หยิบยกมาให้ได้ชมได้เห็นจากคลิปวิดีโอต่อไปนี้ เป็นเครื่งยืนยันได้ชัดเจนว่า พระเอก (ยากำจัดวัชพืช) กำลังกลับกลายเป็นผู้ร้ายไปแล้ว ชมคลิปที่


คุณหวัง อันเฉวียน (王 安泉) เป็นชาวกานสู (甘肃) ประกอบอาชีพปลูกมันฝรั่งป้อนโรงงานแปรรูปที่ผลิตมันฝรั่งแผ่น –มันฝรั่งเส้น มีออร์เดอร์ซื้อ – ขายล่วงหน้าในปริมาณที่สูงมาก ในการปลูกฤดูหนึ่งๆนั้นต้องใช้พื้นที่ปลูกถึง ส4,000 โหม่ว (ร่วม1,700 ไร่) และสภาพพื้นดินที่เหมาะแก่การปลูกมันฝรั่งนั้นต้องเป็นดินร่วนปนทราย สภาพพื้นที่ดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ แถบไน่เหมิงกู่ (内门古/ มองโกเลียใน) ปัญหาด้านการตลาดนั้นไม่มีแน่ แต่ปัญหาที่คุณหวังเริ่มปวดเศียรเวียนเกล้าก็คือ พื้นที่ปลูกแล้วละครับ เพราะมันฝรั่งนั้นปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมไม่ได้ ต้องย้ายพื้นที่ปลูกไปเรื่อยๆจนการหาพื้นที่ปลูกใหม่ยากขึ้นทุกทีๆ คุณหวังจึงต้องใช้วิธีปลูกในที่เก่า โดยแบ่งพื้นที่ปลูกเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งของ 4,000 โหม่วนั้นปลูกข้าวโพด และเนื้อที่อีกกึ่งหนึ่งใช้ปลูกมันฝรั่ง แล้วในปีถัดไปก็สลับพื้นที่ปลูกกันไป แรกๆก็สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ครอปถัดๆมาก็ประสบกับปัญหาที่คาดคิดไม่ถึง นั่นก็คือทั้งข้าวโพดและมันฝรั่งเติบโตได้ไม่ดี ให้ผลผลิตที่ต่ำเอามากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันฝรั่งที่ปลูกนั้นมีอาการเหี่ยวเฉาจากโคนไปหายอด ทิ้งใบบนเหลือไว้แค่ สี่ ห้าใบเท่านั้น แล้วต้นก็ชะงักงันไป ส่วนข้าวโพดนั้นเมื่อแทงใบได้ สี่ ห้าใบเท่านั้น ก็เหลืองซีด แล้วก็แคระแกร็นไปดื้อๆโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการต้นพืชใบใบเหลืองซีด เหี่ยวเฉาและแห้งไปในที่สุดที่เกิดขึ้นกับต้นข้าวสาลีในแปลงปลูกของสาวเจ้านามว่า จัง เสี่ยวฟา (张小花/ คุณมาลีน้อย แซ่จัง) ที่เช่าที่มาปลูกข้าวสาลี สาวเจ้าจาง เสี่ยวฟา เช่าที่จากทางการ 170 โหม่ว (ประมาณ 76 ไร่) ในมณฑล เหอหนาน (河南) ทำการปลูกข้าวสาลี เมื่อยามปลอดจากงานไร่ ส่วนใหญ่ก็จะพำนักพักอยู่ในตัวเมือง (คงประกอบอาชีพอย่างอื่นอยู่ด้วยมั๊ง) วันหนึ่ง นางได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนบ้านที่ช่วยดูแลไร่ว่า ให้มาดูต้นข้าวสาลีที่ปลูกไว้ ใบมีอาการเหลืองซีดใกล้ตายหมดทั้งแปลง จาง เสี่ยวฟา รีบรุดไปดูแปลงข้าวสาลีด้วยความร้อนรน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ต้นข้าวสาลีใบเริ่มเหลืองซีด ถ้าฟ้าครึ้มไม่มีแดด ต้นข้าวสาลีก็จะเหี่ยว แต่ถ้าแดดออกจ้าก็จะแห้งไปเลย ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร มืดมนไปหมด

จากมณฑลเหอหนานตรงดิ่งไปยังมณฑล เฮยหลงเจียง (黑龙江) เป็นพื้นที่ราบสูงที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ เป็นพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองมานานแสนนาน  คุณตู้ ฉวนชิว (杜传秋) เป็นเกษตรกรปลูกถั่วเหลืองในแถบนี้มานานเป็นสิบๆปี พร่ำบ่นกับเพื่อนเกษตรกรที่ปลูกถั่วเหลืองด้วยกัน ถึงผลผลิตที่ลดน้อยถอยถดลงทุกๆปี จากที่เคยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 4,000 ถึง 5,000 ชั่งต่อ 11 โหม่ว (ประมาณ 2,400 ถึง 3,000 กิโลกรัม) แต่ทุกวันนี้เก็บเกี่ยวได้แค่ 1,700 ชั่งเท่านั้น (ราวๆ 1,000 กิโลกรัม) หดหายไป 2 เท่าตัวเลยเชียวนะนี่ แม้จะได้มีการใส่ปุ๋ยเพิ่ม แต่ปรากฏว่าผลผลิตก็ไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ก็เท่ากับเพิ่มต้นทุนไปปลี้ๆเปล่าๆ เมื่อพิจารณาดูแล้ว ต้นถั่วเหลืองที่ปลูกแม้จะเป็นสายพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง แต่กลับเจริญเติบโตในลักษณะ สาละวันเตี้ยลงทุกๆ แล้วสาเหตุมันเกิดจากอะไรกันล่ะ ยังหาสาเหตุไม่พบเลย

President of the International Security Conference Pesticide and Environmental Hiroshi Matsumoto and Kenneth Racke Yongfu Awards Party

President of the International Security Conference

Pesticide and Environmental Hiroshi Matsumoto and

Kenneth Racke Yongfu awards party

คุณ ตั่ง หย่งฝู ผู้วิจัยคิดค้นสารย่อยสลายพิษยาฆ่าหญ้า

คุณ ตั่ง หย่งฝู ผู้วิจัยคิดค้นสารย่อยสลายพิษยาฆ่าหญ้า

 

เมื่อเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้ได้ทำการปลูกถั่วเหลืองซ้ำๆซากๆมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี เหล่าเกษตรกรที่นี่ต่างลงความเห็นว่า ควรจะเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่อย่างอื่นแทนดู ข้าวโพดคือพืชทางเลือกใหม่ที่เห็นว่าได้ราคาดี และคาดว่าจะสามารถคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับถั่วเหลืองที่ปลูกได้ แต่ทว่า แม่เจ้าเอย ผลที่ปรากฏมันหนักหนาสาหัสกว่าปลูกถั่วเหลืองเสียอีก ข้าวโพดที่หว่านปลูกลงดิน เมื่อแทงยอดผลิใบไม่กี่ใบก็พลันซีดขาวชะงักงัน แคระแกร็นไปทั้งแปลงปลูก ไม่เติบไม่โตให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย เกษตรกรที่นี่จึงต้องทนกัดฟันหันกลับมาปลูกถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตน้อยดังเดิม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับแปลงปลูกพืชไร่ทั้งสามแห่งนั้นเป็นเพียงเล็กน้อยส่วนหนึ่งที่หยิบยกมาบอกกล่าวเท่านั้นเหตุการณ์ที่เหมือนๆกันนี้ ปรากฏให้เห็นทั่วไปในพื้นที่เพาะปลูกของประเทศจีน หนักบ้าง เบาบ้าง ขึ้นอยู่กับการใช้สารควบคุม – กำจัดวัชพืชมากหรือน้อยกว่ากันเท่าไร

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ อยู่ในความสนใจของเกษตรกรนายหนึ่งในมณฑลเหอหนาน (河南) นามว่า ตั่ง หย่งฝู (党永富คุณรวยไม่เลิก) ที่ได้ติดตามผลที่เกิดขึ้นหลังการใช้สารกำจัดวัชพืชมาอย่างต่อเนื่อง เรื่องของเรื่องนั้นเป็นดังนี้

เมื่อปี 1997 พี่ชายของตั่ง หย่งฝู เข้าไปทำงานในเมืองซีอัน (西安) เมื่อกลับมาบ้าน ได้ซื้อเอายากำจัดวัชพืชติดมือกลับมาให้น้องชายที่ทำไร่อยู่ที่บ้านได้ใช้เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน (เวลานั้นประเทศจีนเพิ่งผลิตยากำจัดวัชพืชได้ สองสามชนิดใหม่ๆ) ตั่ง หย่งฝู ครุ่นคิดอยู่เรื่อยมาว่า ยากำจัดวัชพืชสามารถฆ่าทำลายล้างต้นหญ้าได้ ย่อมส่งผลกระทบต่อพืช (ประธาน) ที่ปลูกไม่มากก็น้อย เนื่องจากทั้งหญ้าและพืชที่ปลูกนั้นต่างก็เป็นต้นพืชด้วยกันทั้งคู่ คุณตั่งมิได้คิดเปล่า ยังได้ทำการทดลองเปรียบเทียบดูผลลัพธ์อีกด้วย จากการเฝ้าสังเกตุและทดสอบ คุณตั่งฟันธงลงไปเลยว่า ปรากฏการณ์สร้างความเสียหายกับต้นพืชนั้นเกิดจากพิษยากำจัดวัชพืชที่ต้นพืชได้รับโดยตรง (ฉีดพ่น) และจากการที่พืชดูดซับเอาสารพิษที่ตกค้างสะสมในดินเป็นเวลานานสิบๆปีเข้าสู่ลำต้น ทำให้เป็นพิษเหี่ยวเฉาแห้งตาย และคุณตั่งก็มิได้เอาแต่เฝ้าสังเกตุเพียงอย่างเดียว แต่ได้เพียรพยายามหาวิธีแก้พิษล้างไต (โทษครับ คนละเรื่องแล้วละครับ นั่นมันเรื่องของคน) แก้พิษล้างยา มุ่งมั่นเอาการเอางานร่วม ยี่สิบปี จึงประสบความสำเร็จในการคิดค้นหาสารมาย่อยสลายพิษยากำจัดวัชพืชที่ต้นพืชได้รับ (ทั้งจากการฉีดพ่นฆ่าหญ้าในแปลงปลูก และที่ต้นพืชดูดซับเอาจากในดิน) เกษตรกรที่ประสบปัญหาทั้งสามท่าน (คุณหวัง คุณจาง และคุณตู้) ได้นำไปใช้ ปรากฏว่าได้ผลอย่างดียิ่ง

เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้ประจักรเห็นจริง ได้มีการทดสอบในแปลงปลูกข้าวสาลี พบว่าแปลงที่ฉีดยาฆ่าหญ้าร่วมกับสารแก้พิษนั้นมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่า สาม ถึง ห้าเท่าตัวเลยทีเดียว ทั้งนี้สอดคล้องเป็นจริงที่เห็นได้ชัดเจนในห้องปฏิบัติการ (ต้นข้าวโพดที่ทดลองปลูกเปรียบเทียบในกระถาง เติบโตเร็วผิดกัน) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การที่เราใช้สารควบคุม – กำจัดวัชพืชกับพืชที่เราปลูกนั้น มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตโดยมิต้องสงสัย แปลงปลูกพืชที่ใช้สารย่อยสลายพิษยาฆ่าหญ้านั้น สามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นราวๆ สิบเปอร์เซ็นต์

แล้วสารย่อยสลายพิษสารกำจัดวัชพืชนี้คือสารอะไรกัน จึ่งให้ผลดีปานนั้น คุณเฉียว ฉวนลิ่ง (乔 传令 / นักวิจัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยผลกระทบสารพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม) กล่าวว่า สารย่อยสลายพิษที่ว่านี้เป็น น้ำย่อย (enzime) ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งปฎิกริยา (catalytic) ทำให้สารมีการสลายตัวเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (จากสารเป็นพิษเปลี่ยนเป็นสารที่ไร้พิษ) แล้วได้ผลจริงหรือ ? เรามาดูกัน นักวิชาการได้นำเอาเหยือกแก้วมา 2 ใบ ใส่น้ำสะอาดลงไปในระดับเท่าๆกัน เติมสารพิษลงไปทั้งสองเหยือก แต่อีกเหยือกหนึ่งนั้นได้เติมสารย่อยสลายพิษลงไปเล็กน้อยจำนวนหนึ่ง ทำการคนให้เข้ากัน (แล้วอย่างไรต่อไป) ก็เอาปลาทองหย่อนใส่ลงไปเหยือกละสองตัว เวลาล่วงไปหนึ่งชั่วโมง ปลาก็ยังอยู่ดี (ไม่มีปัญหา ฮ่ะ ฮ่ะ) ผ่านไปอีกหนึ่งชั่วโมง ปลาในหยือกที่มีแต่สารพิษเริ่มออกอาการ (แคร่กๆ บุ๋งๆ หายใจไม่ออกน่ะครับ) เวลาผ่านไปเป็นชั่วโมงที่สาม ปลาทองในเหยือกก็สงบ

แน่นิ่ง (คร่อกๆ ผมตายกับพิษยาฆ่าหญ้าน่ะครับ ผมสองตัวขอลาไปก่อนนะครับ พบกันใหม่ถ้าเปิดดูคลิปซ้ำ)
คุณตั่งกล่าวว่า อย่าได้ละเลยดูดายตัวเลขผลผลิตที่ขาดหายไป สิบเปอร์เซ็นต์ที่ขาดหายไปอันเกิดจากผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชนั้นมิใช่เรื่องเล็กๆเลยนะท่าน ประเทศจีนมีการใช้สารกำจัดวัชพืชปีหนึ่งๆร่วม หนึ่ง1,500 ล้านโหม่ว (ประมาณ 670 ล้านไร่) ถ้าผลผลิตที่ได้ต่อโหม่วเท่ากับหนึ่งร้อยชั่ง ส่วนที่ขาดหายไป 10 เปอร์เซ็นต์นั้นเท่ากับ 150 ล้านชั่งเลยทีเดียว (ประมาณ 250 ล้านกิโลกรัม) สามารถเลี้ยงดูประชากรได้ร่วมสี่ล้านคนสบายๆ

เมื่อดูคลิปวิดีโอเรื่องนี้จบแล้ว ให้หวนกลับมามองการเกษตรในบ้านเราบ้าง สถานการณ์การเพาะปลูกในประเทศไทยก็คงคล้ายคลึงกับประเทศจีน ที่การเพาะปลูกในยุคนี้ต้องอิงกับสารเคมีทางการเกษตรอย่างแนบแน่นจนฝังใจเกษตรกรค่อนประเทศ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันจนไม่รู้จะแก้ไขกันอย่างไร การเพาะปลูกทุกวันนี้ทำกันเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ หากไม่ใช้สารควบคุม – กำจัดวัชพืช ใช้เพียงกำลังคนป้องปราบก็จะทำให้การงานล่าช้าจนไม่ทันการ ความเสียหายก็บังเกิด อีกทั้งยังเพิ่มต้นทุนการผลิตอีกหลายเท่าตัว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อรู้สาเหตุที่ก่อความเสียหายแล้ว ไม่ดิ้นรนหาทางแก้ไขผ่อนปรนให้ทุเลาลงก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าให้อภัย (หน่วยงานที่รับผิดชอบ) เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสารกำจัดวัชพืชนี้จะสะสมทับถมทวีหนักหนาสาหัสขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง เราก็จะสูญเสียทรัพยากรณ์แผ่นดินที่ล้ำค่าผืนนี้ไป ทำกการเพาะปลูกไม่ได้อีกต่อไป นั่นคือหายนะที่น่าสรึงกลัวยิ่ง ถึงแม้เราจะคิดค้นหาเจ้าสิ่งที่จะนำมาแก้ไขปัญหาเองไม่ได้ แต่ในเมื่อมีผู้คิดค้นนำมาใช้งานได้ และยินดีที่จะแบ่งปันให้เรานำมาใช้ แล้วเราจะอยู่นิ่งเฉยอยู่อีกฤา ?

สารย่อยสลายพิษสารกำจัดวัชพืชที่คิดค้นขึ้นนี้ สามารถใช้งานได้ง่ายๆ เพียงแค่เติมร่วมกับยาฆ่าหญ้าที่จะฉีดพ่น วัชพืชก็จะถูกทำลายตายไปตามฤทธิ์ยา และสารนี้ยังเข้าไปสลายพิษที่ได้รับจากการฉีดพ่นครั้งนี้ด้วยเช่นกัน นอกเหนอจากนี้แล้ว ยังทำการสลายพิษที่ตันพืชดูดซับเข้าสู่ลำต้นจากพื้นดินได้อีกด้วยโสดหนึ่ง (ช่างดีอะไรเช่นนี้) และที่เห็นเป็นประโยชน์เป็นที่ยิ่งก็คือ การปลูกพืชหุนเวียนสลับกันระหว่างพืชไร่ใบเลี้ยงคู่กับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ที่สามารถสลับปลูกได้โดยไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป

หมายเหตุ
 
สิ่งดีๆเช่นนี้ เรา (หจก. ยะลาทักษิณาวัฒน์) คงไม่ละเลยเป็นแน่  จะสืบหานำมาให้เกษตรกรไทยได้ใช้แก้ปัญหาดินเสื่อมเสียอย่างแน่นอน

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google