ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?

 

สถาบันวิจัยพืชน้ำ ซานตงเสินหนงสุ่ยเซิงซูฉ้ายเคอเยี่ยน (山东神农水生蔬菜科研) ตั้งอยู่บริเวณริมบึง เหวยซานหู (微山湖) มณฑลซานตง (山东) เป็นแหล่งผลิตบัวขนาดใหญ่อันดับต้นๆของที่นี่ มีการผลิตสายพันธุ์บัว ทั้งบัวดอก บัวกินราก มีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ของท้องที่แห่งนี้ ผลิตรากบัวได้ปีละกว่า 4,000 ตัน และผลิตพันธุ์บัวคุณภาพร่วม 1,000 ตัน / ปี ต้นปี 2,000 สถาบันฯ ได้เริ่มทำการวิจัยการปลูกบัวน้ำน้อย ประสบพบความสำเร็จใน รูปแบบสระบัวน้ำตื้น (เรียกให้ไพเราะหน่อยว่า โมเดลสระบัวน้ำตื้นก็ได้นะจ๊ะ ฟังดูแล้วขลังขึ้นอีกเยอะเลย) ด้วยเทคนิค สระคอนกรีตน้ำตื้น (มิใช่ สระ คอ นก รีต นะเจ้าคะ) เป็นการปฏิวัติผลผลิตบัวที่น่าทึ่งจาก ไร่ละ 4,800 กิโลกรัมต่อไร่ มาเป็น 14,400 กิโลกรัมต่อไร่ (ผลผลิตเป็น 3 เท่าตัวเชียวนะนี่) ผลงานโดดเด่นจนเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกบัวที่นี่ ต่างยึดถือเป็นแบบอย่างในการผลิตรากบัวให้ผลผลิตสูงที่มีมีคุณภาพ และได้รับการรับรองเป็นแหล่งผลิตบัว คาร์บอนต่ำที่ขึ้นชื่อของชนบทแห่งหนึ่ง คลิปวีดิโอต่อไปนี้เป็นการถ่ายทำของ CCTV กลางของประเทศจีน ถือเป็นรายงานเกี่ยวกับการปลูกบัวโดยหนทาง คาร์บอนต่ำ ที่ประสบผลสำเร็จที่ดียิ่งของชนบทในประเทศจีน (CCTV rural low-carbon technology institute) และเป็นที่น่ายินดีว่า ประเทศไทยก็มีส่วนช่วยให้สถาบันฯ แห่งนี้ ประสบความสำเร็จด้วยอย่างเงียบๆ (เพราะพูดไม่ได้) นั่นก็คือ สายพันธุ์บัวที่ใช้ปลูกกันที่นี่ เป็นบัวสายพันธุ์ของเมืองไทยครับ ท่าย กวั๊ว ฮวา ฉี เหลียน (泰国花奇莲)


บัวปลูกประดับภูมิทัศน์

บัวปลูกประดับภูมิทัศน์

บัวขาวที่ตะหวัดให้คิดถึงเพลงอมตะของไทย (วัยรุ่นสมัยนี้ไม่ฟัง)

บัวขาวที่ตะหวัดให้คิดถึงเพลงอมตะของไทย (วัยรุ่นสมัยนี้ไม่ฟัง)

อยู่ด้วยกันถ้วนหน้า ขาดหายไปก็คือผู้เลี้ยงดู (ราก)

อยู่ด้วยกันถ้วนหน้า ขาดหายไปก็คือผู้เลี้ยงดู (ราก)

ฝักบัว หลังจากกลีบดอกร่วงโรยไปแล้ว

ฝักบัว หลังจากกลีบดอกร่วงโรยไปแล้ว

ฝักบัวที่ปล่อยให้เมล็ดแก่

ฝักบัวที่ปล่อยให้เมล็ดแก่

น่ากิน

น่ากิน

รากบัวทำความสะอาดแล้วหลังเก็บเกี่ยว

รากบัวทำความสะอาดแล้วหลังเก็บเกี่ยว

 

เริ่มเปิดรายการ พิธีกร (ชาย) ก็ออกมาเกริ่นกล่าวถึงการผลิต บัวกินราก ของชนบทที่ชื่อว่า อยี๋ถาย ในเมืองซานตง (鱼台 / 山东) โดยทำการลดปริมาณปุ๋ยที่ใช้ลง แต่ทว่า ผลผลิตกลับเพิ่มได้ 4 ถึง 5 เท่าตัว (ถ่ายภาพให้เห็นการเก็บเกี่ยวรากบัว แล้วผู้จัดการสถาบันฯ คุณ จาง จื้เฉิง- 张志成 ผู้จักการสถาบันวิจัย ฯ ก็ออกมาบอกเล่าว่า) ได้ทำการลดปุ๋ยที่ใช้ลงเหลือ 120 กิโลกรัม แต่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 9,600 – 12,000 กิโลกรัมต่อไร่เลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกบัวกินรากโดยปกติทั่วไปแล้ว ได้ผลผลิตรากบัวเพียง 2,000 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น และต้องใช้ปุ๋ยถึง 360 – 480 กิโลกรัมต่อไร่เลยนั่นเทียว เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนระหว่าง ปุ๋ย กับ ผลผลิต ต่อไร่ของคุณ จาง แล้วเป็น 1 ต่อ 50 แต่ปกติทั่วไปอัตราส่วนที่ว่านี้จะเป็น 1 ต่อ 10 เท่านั้น มันช่างห่างกันราว ฟ้า กับ ดิน เลยทีเดียว การทำไร่บัวของคุณจางนั้น ไม่เพียงลดปุ๋ยลงแล้วได้ผลผลิตเพิ่มเป็นเท่าๆตัวแล้ว ยังลดค่าของคาร์บอนลงอีกด้วย คุณจางมีหลักการอย่างไรที่สามารถดำเนินการให้ได้ผลผลิตที่ดี แล้วยังลดค่าคาร์บอนที่ปลดปล่อยลงได้ด้วย คุณจางกล่าวว่า มีเคล็ดอยู่ ประการดังนี้ 

1. คัดเลือกสายพันธ์ที่ดี สายพันธ์ที่ปลูกนี้แตกต่างจากสายพันธุ์ที่ใช้ปลูกกันมาเนิ่นนาน (พระเอกคนแรกเป็นสายพันธุ์ไทยครับ) เป็นสายพันธุ์  ท่าย กวั๋ว ฮวา ฉีเหลียน (泰国花奇莲) สาเหตุที่เลือกบัวสายพันธุ์นี้ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีใบมากแต่ให้ดอกน้อย เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นแล้ว ดอกจะน้อยกว่ากันมากดังที่เปรียบเทียบให้เห็นนั่นแหละครับ แล้วมันมีอะไรที่แตกต่างกัน ? คุณจางได้นำเอาใบบัว 2 สายพันธุ์มาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างว่า บัวพันธุ์ไทยนั้นมีขนาดของใบที่ใหญ่กว่า (1 ใน 3) หนากว่า และ มีสีเขียวเข้มกว่า (มาถึงตรงนี้แล้ว นี่คือสิ่งที่เราพยายามเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชว่า กลไกทางสังเคราะห์ด้วยแสงนั้น มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกเป็นที่สุด หาใช่ปุ๋ย N P K ไม่) ดังนั้นเมื่ออยู่ในสภาพที่เหมือนกันแล้ว ปริมาณปุ๋ยที่ให้เท่าๆกัน พืชที่มีใบขนาดใหญ่ หนาและสีเข้มกว่า ย่อมเติบโตแลให้ผลผลิตมากกว่าแน่นอน นอกจากนั้นบัวไทยยังให้ดอกน้อย ซึ่งก็ให้ฝักบัวน้อยลงด้วย นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ได้ผลผลิตรากบัวเพิ่มมากขึ้น ด้วยการเจริญเติบโตของพืชนั้น แบ่งการสร้างอาหารที่แตกต่างกัน 2 ระยะ ระยะแรกนั้นเป็นการสร้างอาหารเพื่อการเจริญเติบโต และระยะที่สองเป็นการสร้างอาหารเพื่อเลี้ยงผลผลิต (รากมิใช่ผลผลิตของพืช แต่เราต้องการราก มิใช่ดอก) เมื่อเป็นเช่นนี้ บัวไทยจึงมีปริมาณและขนาดที่ใหญ่กว่า เนื่องจากระยะหลังนั้น อาหารที่สะสมที่รากนั้นไม่ถูกแบ่งแยกไปสร้างดอก และเมล็ด (ฝักบัว) เหมือนพันธุ์อื่นๆที่ให้ดอกและฝักมากกว่า จึงทำให้ผลผลิตรากน้อยกว่า ผลผลิตรากบัวพันธ์ไทยจึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เพราะมีแป้งมากกว่า แข็งกรอบกว่า เพราะมีความแน่นมากกว่า

แม้ว่าคุณจางจะปลูกบัวกินรากได้ผลผลิตได้ดีดังกล่าวแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้พอใจเพียงแค่นั้น คิดว่าจักต้องหาทางลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลง แต่คงไว้ด้วยผลผลิตเท่าเดิม หรือให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และคุณจางก็สามารถทำได้ด้วย ทำได้อย่างไร เรามาดูกันต่อไป

เคล็ดที่ 2. สร้างบ่อเพาะเลี้ยงน้ำตื้นซีเมนต์ที่สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้กึ่งหนึ่ง คุณจางมีบ่อปลูกบัวกินราก 305 โหม่ว (127 ไร่) ถือได้ว่าเป็นบ่อบัวที่ค่อนข้างใหญ่เอามากๆ พื้นบ่อเทบุด้วยซีเมนต์ (กันน้ำรั่วซึม) ผนังบ่อใช้แผ่นซีเมนต์วางเรียง ความลึกของระดับน้ำถึงก้นบ่อ 50 ถึง 70 เซนติเมตร พื้นบ่อบรรจุใส่ดินปลูกที่มีความหนา 20 – 30 เซนติเมตร การบุบ่อเลี้ยงด้วยซีเมนต์นี้มีนัยในการกักน้ำมิให้ซึมลงดินชั้นล่าง ซึ่งจะนำพาเอาปุ๋ยที่หว่านลงสระซึมลงชั้นดินที่ลึกลงไป แต่เมื่อมีพื้นและผนังซีเมนต์กั้นกางขวางไว้แล้ว ปุ๋ยที่หว่านให้กับต้นบัวก็ถูกดูดซึมไปใช้งานได้ 80 -90 เปอร์เซ็นต์ เป็นการประหยัดปริมาณของปุ๋ยที่ใช้ได้มหาศาล ส่วนบ่อดินนั้น ปุ๋ยที่หว่านลงสระนั้นจะเกิดการสูญเสีย โดยซึมลึกลงในชั้นดินที่ลึกลงไป ทำให้บ่อน้ำเป็นมลพิษขึ้นอีกต่างหาก ได้มีการเปรียบเทียบบ่อเพาะเลี้ยงบัวดังกล่าวเหมือนกับกระถางเพาะเลี้ยงบัวขนาดใหญ่ ที่สามารถเก็บกักน้ำและปุ๋ยได้อย่างดี ปุ๋ยจึงถูกบัวดูดซับไปใช้งานได้เกือบหมด จากการทดสอบ ปุ๋ย 240 กิโลกรัม สามารถเก็บรากบัวได้ 4,000 ถึง 5,000 กิโลกรัม (ซึ่งปกติต้องใช้ปุ๋ย 400 กิโลกรัม) อัตราส่วนของปุ๋ย ต่อ รากบัวที่เก็บเกี่ยวได้ เท่ากับ 1 ต่อ 50 เลยทีเดียว เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ก็เท่ากับประหยัดน้ำได้อีกกึ่งหนึ่งที่ใช้ตามปกติอีกด้วย ด้วยความกว้างใหญ่ของบ่อเพาะเลี้ยง เพื่อความคล่องตัวในการจัดการ คุณจางได้วางก้อนซีเมนต์เป็นทางเดินไว้ทิศทางเหนือ ใต้ โดยมีระยะห่างเส้นเส้นละ 20 เมตร (โดยเฉพาะการหว่านให้ปุ๋ยบัว) 

 

ผู้จักการ จาง จื้อเฉิง

ผู้จักการ จาง จื้อเฉิง

รากบัวไทย

รากบัวไทย

บัวไทย ฮวาฉีเหลียน

บัวไทย ฮวาฉีเหลียน

นี่แหละครับหน้าตาใบบัว และดอกบัวสายพันธุ์จากเมืองไทย ที่ชาวจีนเรียกว่า

 

นี่แหละครับหน้าตาใบบัว และดอกบัวสายพันธุ์จากเมืองไทย
ที่ชาวจีนเรียกว่า ท่าย กวั๋ว ฮวา ฉีเหลียน

หน้าตาเป็นหยั่งงี้ครับ รากบัวสายพันธุ์ไทยที่ไปโด่งดังที่ประเทศจีน  ฮวาฉีเหลียน

หน้าตาเป็นหยั่งงี้ครับ รากบัวสายพันธุ์ไทยที่ไปโด่งดังที่ประเทศจีน  ฮวาฉีเหลียน

 

นี่ก็บัวอวกาศครับ (ใบ)

นี่ก็บัวอวกาศครับ (ใบ)

 

รากบัวที่เห็นนี้คือ บัวอวกาศครับ (ฝากเมล็ดพันธุ์ขึ้นไปกับดาวเทียม โคจรรอบโลกในอวกาศ แล้วนำลงมาปลูก)

รากบัวที่เห็นนี้คือ บัวอวกาศครับ (ฝากเมล็ดพันธุ์ขึ้นไปกับดาวเทียม
โคจรรอบโลกในอวกาศ แล้วนำลงมาปลูก)

โอ้โฮ ใบใหญ่ดีจริงเจ้าบัวสายพันธุ์ เสวี่ยเหลียนเบอร์ 3 (เส้นผ่าศูนย์กลาง 70-90 ซม ก้านยาว 2.6 ม.)

โอ้โฮ ใบใหญ่ดีจริงเจ้าบัวสายพันธุ์ เสวี่ยเหลียนเบอร์ 3
(เส้นผ่าศูนย์กลาง 70-90 ซม ก้านยาว 2.6 ม..)

 

เคล็ดที่ 3. นั้นก็คือการให้ปุ๋ย คุณจางได้รับคำแนะนำจากคุณ ตู้ ชุนเสียง (杜春祥/ ใส่แว่น) เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรเมือง อยี๋ถาย ให้แบ่งการให้ปุ๋ยครั้งละน้อยๆ แต่แบ่งให้มากครั้งหน่อย (คุณจางแบ่งการให้ปุ๋ยออกเป็น 4 – 5 ครั้ง) และในการแบ่งปุ๋ยให้แต่ละครั้งนั้น มิใช่แบ่งหารออกเป็นปริมาณเท่าๆกันทุกครั้ง ในช่วงการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตควรแบ่งให้ปริมาณมากกว่าครั้งอื่นๆ ซึ่งบัวตองการปุ๋ยไปสร้างอาหารเลี้ยงตัวเองมากในระยะดังกล่าว อนึ่งสิ่งที่ต้องใคร่ครวญระมัดระวังในการให้ปุ๋ยในช่วงที่บัวเติบโตมีใบหนาแน่นแล้ว เพราะปุ๋ยที่หว่านโปรยไปนั้นจะไปตกค้างบนใบบัว ถ้าไม่หาทางแก้ไข จะทำให้ใบบัวไหม้เสียหาย กระทบกระเทือนต่อผลผลิต ทำให้ผลผลิตลดลงได้ คุณจางได้ใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงฉีดพ่นไปที่ใบบัว แรงน้ำจะทำให้ใบบัวพลิ้วไหว ปุ๋ยที่ค้างบนใบบัวก็จะกลิ้งหล่นจนหมดสิ้น

เคล็ดที่ 4. เลี้ยงพลพรรคสัตว์น้ำทำความสะอาดบ่อ (สระ) ปุ๋ยที่ใส่ลงในบ่อเลี้ยงบัวนั้น มิได้ก่อประโยชน์กับบัวที่ปลูกถ่ายเดียว แต่นานไปก็เอื้อประโยชน์ให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วย ทั้งพืช และสัตว์ตัวน่อยๆ (แบคทีเรีย) เมื่อเกิดชีพดับสลายไป ก็เน่าเปื่อยก่อเป็นมลภาวะขึ้นกับน้ำในสระ คุณจางจึงหาพลพรรคสัตว์น้ำจำพวกปลากินพืช ปลาไหล ปลิง ซึ่งสัตว์น้ำพวกนี้มีนิสัยการกินที่แตกต่างกัน  ปลากินพืชนั้นกินแพลงตอน และแหน ส่วนปลาไหลนั้นชอนไชกินจุลินทรีย์ในโคลนตม ส่วนทากนั้นกินอะไรล่ะ ? (ทายดูว่า ทายถูกเปล่า ถ้าทายไม่ถูก จะบอกให้) กินหอยที่เกิดในสระครับ เมื่อมีพลพรรคที่ช่วยกันปัดกวาดทำความสะอาดน้ำเหล่านี้ช่วยกันกำจัดสิ่งปฏิกูลให้แล้ว น้ำในบ่อเพาะเลี้ยงบัวก็ใสสะอาด แล้ว แล้วสัตว์น้ำพวกนี้ก็ได้รับการตอบแทนบุญคุณ - แรงงาน โดยการขายจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง (โอ้โฮ ดีจังนะท่านจัง ขายพวกเรามีรายได้เพิ่มอีก โหม่วละตั้งสองหมื่นห้าพันบาท ตอบแทนได้สะใจดีแท้ !)

ขอถ่ายทำหน่อย จะเอาไปออกอากาศ

ขอถ่ายทำหน่อย จะเอาไปออกอากาศ

เริ่มปลูก

เริ่มปลูก

โอ้โห เว่อร์ไปเปล่า บัวปลูกในโรงเรือน ไม่เวอร์หรอกครับ เพราะเป็นบัวปลูกนอกฤดูกาล เอาราคา ในหน้าหนาว

โอ้โห เว่อร์ไปเปล่า บัวปลูกในโรงเรือน ไม่เวอร์หรอกครับ
เพราะเป็นบัวปลูกนอกฤดูกาล เอาราคา ในหน้าหนาว

เครื่องเก็บรากบัว

เครื่องเก็บรากบัว 

กุ้งมังกรน้ำจืดที่เลี้ยงเสริมรายได้ในบ่อบัว

 กุ้งมังกรน้ำจืดที่เลี้ยงเสริมรายได้ในบ่อบัว

โตจับไปขายได้แล้ว

โตจับไปขายได้แล้ว

ปลาไหลก็เป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงควบคู่กับการปลูกบัวกินราก

ปลาไหลก็เป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงควบคู่กับการปลูกบัวกินราก

 

หมายเหตุ 

บางครั้งมีข้อความที่สร้างสมอารมณ์ขัน ขออย่าได้ถือสานะครับ เข้าไปหาความรู้ ความสำราญได้ที่ 

http://www.lianou.net/

เป็นเว็บไซท์ของ สถาบันวิจัยพืชน้ำของเมือง อยี๋ถาย มณฑลซานตง
มีข้อมูล สาระเรื่องราวเกี่ยวกับ บัว ให้อ่านประดับความรู้มากหลาย (ภาษาจีน) ปัจจุบัน บัวกินรากที่มีชื่อโด่งดังที่สุดในประเทศจีนก็คือ สายพันธุ์ 泰国花奇莲 ที่นำเข้าจากประเทศไทยนานมาแล้ว และการเก็บรากบัวของเกษตรกรที่ปลูกบัวนั้น ใช้เครื่องจักรกลขุดเก็บ โดยใช้เครื่องสูบน้ำพ่นน้ำลงพื้นบ่อ รากบัวก็จะผุดขึ้นมาให้เก็บรวบรวมกันต่อไป (ดูคลิป)

http://www.tudou.com/programs/view/clmpRU-UQhU/

ส่วนท่านใดที่สนใจดอกบัวที่สวยงามสายพันธุ์อันหลากหลาย เข้าไปชมได้ครับที่สวน

http://hbjieya.com/cn/product_list.asp?id=45

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google