ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?

 

ลำพังการปลูกต้นไม้ในทะเลทราย เพื่อให้มีชีวิตรอดยืนต้นเติบโตได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย แห้งแล้ง ร้อนและหนาวจัดแล้ว ยังต้องประสบกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ทรายไหล ที่ก่อให้เกิดเป็นเนินทรายสูงๆต่ำๆเป็นแนวเป็นแถวทิวยังกะแนวเทือกเขาอย่างไรอย่างนั้น ด้วยสาเหตุที่เกิดจากลมพายุที่พัดหอบเอาเม็ดทรายทับถมกันละลอกแล้วละลอกเล่า จนกลายเป็นเนินทรายเล็กใหญ่ จนกระทั่งสูงใหญ่เป็นภูเขา (ทราย) ก็มี
 
 
ถือเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญมิใช่น้อยในการที่จะปลูกต้นไม้ให้มีชีวิตรอดในทะเลทราย   แต่นี่กระไรได้  นอกจากปลูกได้รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม (อ้าว เผลอพาไปเรื่องอื่นอีกจนได้) ปานนั้นแล้ว ยังมีอัตรารอดสูงถึง 90 % คุณเชื่อรึเปล่าล่ะ ถ้าไม่เชื่อก็อย่าเพิ่งเชื่อ ดูคลิปวีดิโอชุดนี้ให้จบก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่า จะเชื่อดี หรือไม่เชื่อดี (โม้เปล่ามั๊ยนี่)
 


 เมืองที่อยู่ในเขตพื้นที่ทะเลทราย คู่ปู้ฉี มีลักษณะเหมือนคันธนูตามชื่อในภาษามองโกล

 เราจะหาเสื้อสีเขียวมานุ่งห่มให้

 คู่ปู้ฉี

 คู่ปู้ฉี

คู่ปู้ฉี

 

คุณ หวัง เหวินเปียว (王 文彪) กับคณะปลูกป่าของเขาสามารถปลูกป่าในทะเลทรายได้เป็นพื้นที่ 6,000 ตางกิโลเมตร (ขนาดกว้างใหญ่แค่ไหนหรือ ?) เทียบได้เท่ากับพื้นที่ของมหานครเป่ยจิง (ปักกิ่ง) 10 เท่าตัวเลยทีเดียว ทะเลทราย คู่ปู้ฉี (kubuqi / 库布其) ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในของจีนนั้น จัดเป็นผืนทะเลทรายที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ซึ่งปัจจุบันทางการจีนได้พยายามฟื้นฟูปรับปรุงให้เปลี่ยนเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อพัฒนาสร้างความเจริญให้แก่บ้านเมืองในพื้นที่แถบตะวันตกที่ล้าหลังแห่งนี้ ปรากฏว่ามีความก้าวหน้าอย่างน่าทึ่ง คุณหวัง เหวินเปียวและคณะใช้กลวิธีอย่างไรในการปลูกป่าได้ผลรวดเร็วเช่นนั้น เราติดตามผู้สื่อข่าวไปดูด้วยกันเถอะครับ
 


 นี่ไง ถ้าไม่มีทักษะในการขับรถในทะเลทราย ก็จะมีโอกาสติดร่องทะเลทรายอย่างที่ว่าไว้

 ป้ายโฆษณาชักชวนให้มาท่องเที่ยวเมืองในทะเเลทราย คู่ปู้ฉี

 การปลูกด้วยเทคนิค น้ำทะลวงทราย

 การเดินทางในทะเลทรายต้องอาศัย อูฐ

 

ปี 2014 ย่างเข้าปลายเดือนเมษายน ลมที่โชยพัดจากทิศตะวันออกสู่ทิศใต้ ทำให้อากาศในเขตุทะเลทรายเริ่มอบอุ่นขึ้น  บรรยากาศความมีชีวิตชีวาเริ่มปรากฏให้เห็นในสายตา (สัตว์, แมลงที่จำศีลหลบความหนาวเย็นเริ่มออกมาหากินอีกครั้งหนึ่ง) ช่วงเวลานี้ เป็นเวลาที่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้เป็นอย่างยิ่ง  ใม่ ลาซู (迈 拉苏) เจ้าหน้าที่เทคนิคกองงานปลูกป่าตระเตรียมอุปกรณ์สิ่งของจำเป็นเพื่อนำไปส่งให้กับกองกำลังปลูกป่า โดยมีผู้สื่อข่าวติดตามไปดูการผลดำเนินงานปลูกป่าของคณะปลูกป่าในทะเลทรายด้วย เพื่อดูว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนในการใช้ท่อสายยาง และท่อ พีวีซี มาปลูกต้นไม้อย่างไร จึงปลูกได้อย่างรวดเร็ว 10 วินาทีต่อหนึ่งต้น เอาละครับ ขึ้นรถนั่งให้มั่นคง จับราวมือจับให้แน่น เพราะรถต้องวิ่งไปบนผืนทรายที่เป็นเนินสูงต่ำๆ (ถ้าจับไม่แน่นก็มีหวังกระดอนหลุดออกไปจากตัวรถน่ะซี) ขับมาเป็นทางสักระยะหนึ่ง คุณใม่ ลาซู หยุดรถแล้วชี้ไปยังเบื้องหน้า กล่าวว่า ที่เห็นพื้นที่สีเขียวที่มีต้นไม้ขึ้นเป็นพืดนั้น คือผลงานที่ดำเนินการ (ปลูกป่าในทะเลทราย) มา 26 ปีที่ พื้นที่สีเขียวกว่า 100 ตารางกิโลเมตรที่เห็นนี้ เมื่อ 26 ปีที่แล้วก็มีสภาพเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น อันเป็นผลงานของ หวัง เหวินเปียวในการบุกเบิกปลูกป่าในผืนดินที่แห้งแล้งแห่งนี้ คุณใม่ (ลาซู) ชี้ให้ดูต้นซาหลิ่ว (ต้นซาหลิ่วเป็นพืชที่ทนแล้ง สามารถขึ้นได้ดีในทะเลทราย จึงต้องใช้ต้นซาหลิ่ว เป็นหัวหอกทะลวงปลูกเข้าไปในทะเลทรายก่อน แล้วจึงปลูกไม้ยืนต้นตามหลังไป / ให้ดูบทความ จ้าว หย่งเลี่ยงคนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?) ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้นซาหลิ่วต้นนี้มีขนาดโตเต็มที่แล้วหรือยัง ยังครับ ยังไม่โตเต็มที่ มีขนาดโตปานกลางเท่านั้น และต้นซาหลิ่วที่เห็นเบื้องหน้าหนาตานั้น ก็เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้เทคนิค น้ำ(พุ่ง)ทะลวงทราย ปลูก ที่ทำให้การปลูกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ในเวลา 10 วินาทีต่อต้น มีอัตรารอดสูงถึง 90 (สงสัยใช่เปล่า น้ำทะลวงทราย เป็นอย่างไร แล้วในทะเลทรายยังมีน้ำให้ใช้ด้วยหรือ ?) ตามมา แล้วจะจาระไนให้ฟังคุณใม่ ลาซู บอกว่า เทคนิคการปลูกด้วย น้ำทะลวงทรายนี้ เป็นภูมิปัญญาคิดค้น (โดยบังเอิญ) ของคุณหวัง คงจินตนาการไม่ออกใช่ไหม ในเวลา 10 วินาที ปลูกต้นไม้ได้ 1 ต้น มือหยิบฉวยเอาพลั่วยังไม่ทันได้จวกดินเลยก็หมดเวลาแล้ว แล้วจะปลูกไม้ได้รวดเร็วปานนั้นได้อย่างไร ? (โม้เปล่า คุณใม่ ลาซู)

 


 โฉมหน้าใหม่ของเมืองเมืองเอ้อเอ่อตวัวซือ

  เอ้า เดินต่อไป แล้วก็ปลูกไม่ยั้งหยุด

 คุณหวัง เหวินเปียว

  แสดงพื้นที่ทะเลทราย คู่ปู้ฉี

 

คุณใม่ ลาซู แนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการปลูกต้นไม้ให้ดู เป็นท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ความยาวประมาณ 1 เมตรเศษ แล้วทำการทดลองให้ผู้สื่อข่าวดู เอ้า เดินเครื่องส่งน้ำได้ คุณใม่ (ลาซู) ตะโกนสั่ง แล้วใช้ท่อน้ำที่มีน้ำไหลพวยพุ่งเป็นลำจ่อลงบนหน้าพื้นผิวทราย ทำให้พื้นทรายยุบตัวลงเป็นรูลึกราวเมตรเศษ (ปากหลุมบนพื้นทรายไม่พังทลายเหมือนกับการขุดพื้นทรายที่จะหน้าดินจะพังขยายตัวเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ขุดให้ได้ความลึก 1 เมตรก็เสียเวลาเกือบครึ่งชั่วโมง) แล้วเจ้าหน้าที่อีกคนก็นำเอาท่อนพันธุ์ไม้ความยาวประมาณ 1 เมตร ปักเสียบลงในรูเปิดที่เกิดจากการใช้น้ำพุ่งทะลวงให้เป็นรูลึก การปลูกต้นไม้ก็เป็นอันแล้วเสร็จ ปฏิบัติการครั้งนี้ใช้เวลาแค่ 10 วินาทีเท่านั้น (มีการจับเวลาให้ดูด้วย) แล้วคุณเชื่อแล้วหรือยังว่า เป็นไปตามคำกล่าวอ้างจริงๆ 

หม่า อวี้หมิง (马 玉明) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการปลูกป่าในทะเลทรายแห่งสถาบัน นิเวศน์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมองโกเลียในกล่าวว่า  เทคนิคการปลูกต้นไม้ โดยวิธี น้ำทะลวงทราย ที่ค้นพบนี้ ถือเป็นเทคนิคที่สำคัญยิ่งต่อการปลูกไม้ในทะเลทรายในรอบร้อยกว่าปีที่ผ่านมา  เป็นหนทางที่แก้ไขปัญหาการก่อเกิดเนินทราย ที่เกิดจากทรายไหล ด้วยสาเหตุของลมพายุที่พัดเอาทรายมาทับถมกันหนาขึ้นๆ จนกลายเป็นเนินทรายจำนวนมาก ซึ่งเป็นอุปสรรค์ต่อการปลูกป่า (ในทะเลทราย) เป็นอย่างยิ่ง (เป็นอย่างไร ติดตามดูต่อไปนะครับ)
 


จากกล้าอ่อน (1 นิ้ว)

 เติบโต 1 ฟุต

 ความสูง 1 เมตร

 เต็มพื้นที่ 1 โหม่ว

 

ปี 1997 หวัง เหวินเปียว เป็นผู้รับผิดชอบการสร้างทางสายหนึ่งในเขตุทะเลทรายแห่งนี้ เนื่องจากต้องการพัฒนาเศรษฐกิจบ้านเมืองในถิ่นที่ทะเลทรายแถบนี้ จำต้องมีถนนหนทางใช้ในการคมนาคม และเนื่องจากคุณหวัง ยังมีธุรกิจผลิตสินค้าเป็นที่มีอนาคต เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป ณ. เมือง เหยียนฉาง (盐场) หากแต่ติดขัดปัญหาในการขนส่ง เพราะการขนส่งสินค้าไปยังสถานีรถไฟนั้น ต้องเดินทางอ้อมทะเลทรายเป็นระยะทางถึง 300 กิโลเมตร จึงจะถึงสถานีขนส่งรถไฟเมือง อูลาเทอะเฉียนฉี (乌拉特前旗) ซึ่งหากตัดถนนผ่านทะเลทรายดิ่งตรงไปยัง อูลาเทอะเฉียนฉี เลย ก็วิ่งเป็นระยะทางแค่ 70 กิโลเมตรเท่านั้น สามารถร่นระทางได้กว่า 200 กิโลเมตร ทำให้ประหยัดค่าขนส่งอีกเป็นก่ายกอง นั่นก็คือ ผลกำไรที่ได้กลับคืนมา หากติดขัดอยู่ที่ว่า เมื่อตัดถนนแล้ว พายุทรายก็จะหอบเอาเม็ดทรายปริมาณมหาศาลกลบทับถมถนนจนใช้สัญจรไม่ได้ คุณหวังจึงทุ่มทุนบูรณะเส้นทางสายนี้ ด้วยการปลูกต้นไม้ให้เป็นปราการป้องกันพายุทราย หากทำได้สำเร็จ ก็จะเป็นการเพิ่มผลกำไรที่ต้องสูญเปล่าไปกับการขนส่งเสียสิ้น

อย่างไรก็ตาม การปลูกต้นไม้ในทะเลทรายนั้น อุปสรรค์ที่สำคัญเกิดจากปัจจัย 2 ชนิด นั่นก็คือ ลม กับ ทราย ถ้าลมแรงเข้าขั้นพายุ  ก็จะพัดพาเอาเมล็ดทรายเคลื่อนที่จาก
ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  ดังนั้นการเลือกตำแหน่งแหล่งปลูกต้นไม้นั้น ต้องเข้าใจในธรรมชาติของลมฟ้าอากาศแห่งนี้ด้วย ถ้าปลูกต้นไม้หน้าเนินและหลังเนินทรายที่ทิศทางลมพัดจากหน้าเนิน นานวันหน้าดิน (ทราย) ก็จะถูกพัดพาไปหลังเนิน ดินหน้าเนินก็ตื้นบางลง ต้นไม้ก็ล้มพับไป ต้นไม้หลังเนินก็จะถูกทรายกลบจมหายตายไป
 


 ปลูกเป็นตาหมากรุก

 เขยิบออกไปเรื่อยๆ

  ขวามือมีชีวิตชีวาก่อน เพราะใกล้แหล่งน้ำ เราฝั่งซ้ายมือจะเติบโตติดตามไปฮับ

 แล้วเราจะปีนขึ้นไปบนเขา

 

แรกเริ่มเดิมที คณะปลูกป่าใช้วิธีสะกดทรายด้วยการใช้ฟางหญ้าถักทอเป็นมัดยาว แล้ววางลงบนพื้นทรายเป็นตาหมากรุกบนเนินทรายที่เป็นส่วนต่ำที่สุด แล้วปลูกต้นซาหลิ่วเป็นแถวเป็นแนวขวางทิศทางลม  ด้วยวิธีนี้ป่าชุดแรกในทะเลก็เกิดขึ้น หากแต่เป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะอัตราการรอดค่อนข้างต่ำ

เมื่อ สองข้างทางมีแนวแถวของต้นไม้ที่ปลูกเป็นปราการสกัดกั้นลมทรายเอาไว้ได้ การเดินทาง ขนส่งก็เป็นไปอย่างราบรื่น  ธุรกิจในถิ่นที่แห่งนี้ก็เจริญขึ้น พัฒนากว้างขวางยิ่งขึ้น (อุตสาหกรรมที่เป็นหลักใหญ่ก็คือ การผลิตกระดาษ การทำเหมืองแร่ การทำปศุสัตว์ การแปรรูป และการพืชจำพวก แตงโม แตงหวาน) เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากผืนทรายมีไม้ขึ้นแล้ว เนินทรายก็ต่ำเตี้ยราบเรียบลง ข้อสังเกตดังกล่าว นำไปสู่ตำแหน่งการปลูกต้นไม้เพื่อปรับที่ให้ราบเรียบลงโดยจะปลูกต้นไม้เป็นแนวช่วงกึ่งกลางทั้งหน้าเนินและหลังเนิน เมื่อต้นไม้โตขวางทางลม ลมก็ไม่สามารถพัดหอบทรายด้านหลังต้นไม้ได้ ก็พัดพาเอาทรายที่อยู่ยอดเนินไปหลังเนิน แนวแถวของต้นไม้หลังเนินก็จะสกัดกั้นทรายเอาไว้ ทำให้ตีนเนินทั้งหน้าและหลังค่อยๆราบเรียบเสมอกัน วิธีปลูกต้นไม้เช่นนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า ปาดยอดเนิน ถมตีนเนิน (消峰填谷)
 


 เราแข็งแรงแล้ว

 ฮา เรามีบ้านใหม่แล้วด้วย

 พื้นทะเลทรายที่กลายเป็นสีเขียว

 สีเขียวเริ่มรุกคืบกินผืนทราย

 

คุณไม่ (ลาซู) กล่าวว่า แรกเริ่มทำการปลูกต้นไม้บนทะเลทรายผืนนี้ ใช้วิธีปลูกแบบดั้งเดิมทั่วไป นั่นก็คือใช้พลั่วขุดเอาดินขึ้นมาให้เป็นหลุมลึกประมาณ 50 – 60 ซม. วันหนึ่งๆขุดได้ไม่กี่หลุม เนื่องจากดินแทบจะไม่มีความชื้นเอาเสียเลย (ความชื้นในระดับที่ 100 ซม. นั้นมีปริมาณความชื้นแค่ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งพืชทนแล้งอย่าง ซาหลิ่วเท่านั้นที่สามารถเจริญเติบโตมีชีวิตอยู่ได้) แล้วคุณใม่ก็ทำการสาธิตให้ดู  ซึ่งปรากฏว่ายิ่งขุดลึกเท่าไร ปากหลุมก็ยิ่งกว้างใหญ่ขึ้น เพราะทรายขอบหลุมไหลบ่าลงหลุมตลอดเวลา แล้วความคืบหน้าจะเดินไปได้สักเท่าใด เมื่อทำการขุดหลุมที่มีขนาดใหญ่เช่นว่า (ไม่อยากให้หลุมมันใหญ่ดอกนะครับ แต่เป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้) เมื่อเอากล้าไม้ลงปลูก ทำการกลบหลุม ดินทรายที่มีการพลิกฟื้นแล้ว ความหนาแน่นของทรายก็ลดลง ทำให้การระเหยของน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว อัตราความอยู่รอดของไม้ที่ปลูกจึ่งน้อยมาก รอดพ้นปากเหยี่ยวปากกาแค่ 10 เปอร์เซ็นต์กว่าๆเท่านั้นเอง (ตายเพราะขาดน้ำ) จึงทำให้การปลูกป่าล่าช้าไม่ทันการ (สร้างทางเสร็จแล้ว ต้นไม้ก็ยังไม่ทันงอกตั้งตัวได้เลย) ทำให้คุณ หาน ไหม่เฟย (韩 美飞) เจ้าหน้าที่เทคนิคอีกคนก็ร้อนรนใจเป็นอย่างยิ่งนัก และแล้วไอเดียบรรเจิดก็ปิ๊งขึ้นในสมอง ขวด ขวดเบียร์ นั่นไง จะเป็นตัวช่วยการปลูกต้นไม้ให้มีอัตรารอดสูงขึ้น ว่าแล้วไม่รอช้า คว้าขวดเบียร์เปล่ามา 1 ใบ กรอกน้ำใส่ให้ถึงคอ แล้วเอาต้นกล้าสอดใส่ลงในขวด เอาดินอุดปากขวดไว้ แล้วนำไปปลูกในหลุมที่ขุดเอาไว้  (หลุมลึกประมาณ 60 ซม.) ทั้งนี้ ต้องกะช่วงเวลาให้เหมาะพอดีกับน้ำในขวดถูกต้นพืชดูดใช้หมด ได้จังหวะเวลาที่ฟ้าประทานน้ำฝนพร่างพรมลงมาให้ทันการ โคนต้นที่อยู่เหนือขวด เมื่อได้รับความชื้นในพื้นทรายก็แตกรากออกมาเป็นชุดที่ 2 พาให้รอดตายไปได้ (ไอเดียเจ๋งเข้าท่าดีนะ ว่าไหม แต่อย่าใช้เบียร์แทนน้ำนะครับ เดี๋ยวต้นไม้จะเมาเบียร์ฟุบไปไม่ได้เกิด)


 5,135 ตารางกิโลเมตรที่อตสาหะ

   เริ่มสร้างเมืองที่มีแหล่งน้ำก่อน แล้วพื้นที่สีเขียวจะติดตามมา

  ต่อไปเราจะย้ายมาอยู่ที่นี่

แตกพุ่มเกือบเต็มร้อย

 ความก้าวหน้าในการปลูกป่า ชั่วเวลา 2 ปี

 เอ้า 2 ข้างทางก่อน เพราะเราต้องเดินทาง

 

แม้ว่าการปลูกด้วยขวดเบียร์จะทำให้มีอัตรารอดสูงถึง 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ความยากลำบากในการขุดดินก็เป็นงานหนักไม่เบา เมื่อเทียบกับพื้นที่ต้องทำการปลูกไม้ให้เป็นป่า และแล้วไอเดียที่ปิ๊งกว่าก็ปลุกเซลล์ในสมองให้ตื่นตัวขึ้น ขวด ขวดอีกแล้ว แต่ครานี้ไม่ใช่ขวดเบียร์ แต่เป็นขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำดื่ม ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องใช้ขวดช่วยในการปลูกเลย เพียงแต่ขวดที่บรรจุน้ำนั้นเป็นตัวผุดความคิดให้กระเจิงเท่านั้นเอง และเป็นเรื่องของความบังเอิญเอาเสียด้วยซี เรื่องของเรื่องมันเป็นดั่งนี้ เมื่อถึงเวลาพักจากงาน เหล่าพนักงานจับกลุ่มนั่งพักใต้ร่มไม้ เปิดขวดน้ำขึ้นมาดื่ม จะเป็นเหตุอะไร หรือมีอะไรมาดลใจก็ตามแต่ ได้เทน้ำจากขวดลงพื้นทราย ปรากฏว่าน้ำที่ไหลรินลงพื้นนั้น เจาะทรายให้ยุบตัวลงเป็นรูลึกโบ๋ได้โดยที่ปากหลุมไม่พังทลายลง ฮูเล ลังกา (ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร) พบแล้ว พบแล้ว วิธีปลูกต้นไม้ทีง่ายดายและรวดเร็ว น้ำ น้ำนั่นเอง (อ้าว แล้วจะเอาน้ำมาจากไหนล่ะ นี่มันทะเลทรายนะเพื่อน) อ๋อ ไม่ต้องวิตกกังวลไปดอกครับ ใต้ผืนทรายแถบนี้ อุดมไปด้วยน้ำครับ เพียงแค่ขุดเจาะขึ้นมาให้ได้ ก็จะมีน้ำให้ใช้งานได้ 

เมื่อใช้น้ำขุดเจาะหลุมโดยใช้วิธีที่เรียกว่า น้ำทะลวงทราย  ทำให้ได้หลุมที่ลึกขึ้น (เมตรเศษๆ) จึงใช้กล้าไม้ที่ยาวขึ้น (ประมาณ 1 เมตร) ฝังลงในรูลึก ทำให้อัตราการเติบโตเร็วขึ้น งานการเบาแรงลง การงานรวดเร็วขึ้น การสร้างสีเขียวก็เร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว


 เริ่มจากศูนย์กลาง แล้วจะแผ่ขยายกว้างไปทุกทิศทาง (สาบานได้) 

 ทะเลทรายเริ่มพ่ายแพ้แก่เรา

 แล้วเราจะโต เราจะโต

  ป่านี้สร้างรายได้อ่ะ (พืชผล)

 

เมื่อการปลูกป่าด้วยวิธี น้ำทะลวงทราย เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว การตัดถนนในพื้นที่ทะเลทรายก็สามารถทำได้โดยไม่ติดขัดจากลมทรายอีกต่อไป พื้นที่สีเขียวก็นับวันแผ่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ เมื่อมีต้นไม้ ก็เริ่มมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นในบรรยากาศและพื้นดิน ทำให้สิ่งมีชีวิตขยายพันธุ์ต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยไม่หยุดยั้งขาดช่วงขาดตอน รวมทั้งชีวิตตัวน้อยตัวจิ๋ว (จุลินทรีย์ในดิน) จึงทำให้ผืนดินค่อยๆฟื้นฟูสมบูรณ์ขึ้น สามารถเพาะปลูกได้ คุณ หวัง จึงวางแผนสร้างงานขึ้นที่นี่ นั่นก็คือ เพาะพันธุ์ไม้ (ขาย เพื่อปลูกป่า) ปลูกพืชสมุนไพรที่เจริญงอกงามได้ดีในท้องทะเลทราย นั่นก็คือ กานฉ่าว (ที่คนแต้จิ๋วเรียกว่า กำเช่า หรือที่เราเรียกกันว่า ชะเอมนั่นเอง) อีกทั้งยังปลูกไม้ดอกสวยงามแห่งท้องทะเลทรายอย่าง ดอกฉังเซี่ยสือจู๊ (常夏石竹) ซ่าวหนี่สือจู๊ (少女石竹) ซาตงชิง (沙 冬青) อีกทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตุพื้นที่ทะเลทราย มีการสร้างกระโจมที่พักรับรองนักท่องเที่ยว  สาธิตวิธีการปลูกป่า (ต้นไม้) ในทะเลทราย สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่นี่อย่างน่าภาคภูมิใจ

จากผลงานอันโดดเด่นในการปลูกไม้  สร้างป่า แปลงเมือ สร้างพื้นที่สีเขียวให้การใช้ชีวิตในท้องทุ่งทะเลทรายสุขสบาย อยู่ดีกินดีกว่าเก่าก่อน สำนักงาน UNEP ได้มอบรางวัล การฟื้ฟูพัฒนาสภาพแวดล้อมแก่คุณ หวัง เหวินเปียว ในปี 2012 และรางวัล ผู้นำการฟื้นฟูทะเลทรายแห่งสหประชาชาติ อีกหนึ่งรางวัลในปี 2013 ได้รับการยกย่องจากเลขาสหประชาชาติถึงความมีน้ำใจแบ่งปันความรู้แก่นานาประเทศ และเชิญชวนให้ประเทศที่มีพื้นที่ทะเลทรายทั่วโลกได้มาเรียนรู้วิธีการปลูกไม้สร้างป่าให้เป็นพื้นที่สีเขียว ณ. ศูนย์สาธิตการปลูกป่าแห่ง ทะเลทรายคู่ปู้ฉีแห่งนี้
 


 สร้างเมืองใหม่

 เริ่มต้นใกล้ใกล้แหล่งน้ำก่อน

 ทะเลทราย คู่ปู้ฉี ณ.เวที ความฝันของประเทศจีน

 ต้นซาหลิ่ว

 

บอกกล่าวส่งท้าย ศูนย์ปลูกป่าแห่งนี้ยังไม่หยุดยั้งในการค้นหาหนทางที่ปลูกต้นไม้โดยไม่ต้องใช้น้ำ และดำเนินการทดสอบแล้ว ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดูคลิปตอนท้ายแล้ว ก็คาดเดาเอาเองนะครับ ว่าใช้วิธีการอย่างไร (เห็นแล้วนี่ ว่าใช้เครื่องขุดเจาะที่เป็นสว่านเจาะ)

ท้ายบทนี้ ขอแนะนำให้ดูผลงานการปลูกป่า ฟื้นฟูทะเลทราย และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างคาดคิดไม่ถึง ของทะเลทราย คู่ปู้ฉี มันคือ ความหวัง - ความใฝ่ฝันของประชาชนชาวจีนทั่วทั้งประเทศ (中国梦)

            
และอยากให้ดูคลิปวีดิโอที่ต่อเนื่องจากบทความ คุณจ้าว หย่งเลี่ยง ที่รู้จักเก็บเกี่ยวหาผลประโยชน์จากท้องทะเลทราย ว่าทำได้อย่างไร นี่คือความมุ่งมั่น ความอุสาหะในความพยายามเอาชนะธรรมชาติอย่างแข็งขัน ไม่ย่อท้อ และแล้ว ความสำเร็จก็จะปรากฏอยู่เบื้องหน้า

 
ความหวังใหม่ของคุณคนงานปลูกป่าในทะเลทราย คู่ปู้ฉี จัง สี่ว่าง (张喜望) โฉมหน้าใหม่ของเมืองในทะเลทราย

 
 


 ปีที่ก้าวหน้า

 ต้นซาจี๊

 ต้นกานเฉ่า (ชะเอม)

 

หมายเหตุ:

ทะเลทราย คู่ปู้ฉี เป็นภาษามองโกล หมายถึง คันธนู (มีรูปลักษณ์เหมือน)
 
 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google