ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา

 

คุณเชื่อไหมว่า ท้องทะเลทรายก็ทำนาปลูกข้าวได้ 

แล้วคุณเชื่อไหมว่า เม็ดทรายสามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ได้ โดยไม่รั่วซึม ? 

อย่าเข้าใจว่าผมพูดเล่น แต่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้วที่
ทะเลทราย เคอเอ่อชิน (科尔沁沙漠 / Horqin) ในมณฑลมองโกเลียใน ประเทศจีน ตามมาดูสิ่งอัศจรรย์กันเถอะ (CCTV.ช่อง 7 รายการ เคอจี้เยี่ยน《科技苑》นำเสนอ) พิธีกรสาวเจ้าเก่าออกมาเกริ่นกล่าวว่า 
 
มีนักธุรกิจหนุ่มนายหนึ่ง นามว่า ฉินเลี่ยง (秦亮) อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่ง ได้โทรศัพท์มาบอกกล่าวกับคณะถ่ายทำสารคดีเกษตร CCTV.7 ว่า ทุกวันนี้ที่บ้านเกิดของเขาในทะเลทรายเคอเอ่อชินสามารถทำนาปลูกข้าวได้แล้ว สนใจอยากไปทำข่าวไหม ทำให้คณะถ่ายทำสารคดีฉงนใจยิ่งนัก ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ในทะเลทรายที่แห้งแล้งแม้แต่หญ้าก็แทบจะไม่มีงอกให้เห็น แล้วจะเอาน้ำที่ไหนไปปลูกข้าวทำนา หรือถ้าหากมีน้ำแล้วท้องทรายมันจะกักเก็บน้ำได้อย่างไร?  ไม่ไปดูก็คงไม่ได้แล้ว จึงตกลงใจนัดหมายคุณฉินเลี่ยง พร้อมกับเพื่อนของเขา 2 คน คุณเหมิ่ง ลิ่งจวิน และคุณหยาง หยิงเสวี่ย (孟令军 和 杨迎雪) ที่คิดว่าเพื่อนพูดเล่น แต่ถึงอย่างไรก็ตกลงใจเดินทางร่วมไปพิสูจน์กัน เพราะถ้าไม่ใช่เรื่องจริงก็ถือว่าเดินทางไปท่องเที่ยวทะเลทรายกัน เพราะยังไม่เคยเห็นสภาพของทะเลทรายมาก่อน

แปลงนาในทะเลทราย

แปลงนาในทะเลทราย

นำข้าวลงปลูกในแปลงทะเลทราย
 

ปลูกข้าวในทะเลทราย

 

ระยะทางจากกรุงปักกิ่งไปยังทะเลทราย เคอเอ่อชิน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง เมื่อเดินทางขึ้นเหนือได้ 5 – 6 ชั่วโมง ภูมิประเทศที่เป็นสีเขียวก็ค่อยเปลี่ยนเป็นสีเทาอมขาว เมื่อรถยิ่งวิ่งลึกเข้าไปในทะเลทราย ก็ดูไม่มีทีท่าว่าจะทำนาปลูกข้าวได้เลย จนกระทั่งหนึ่งชั่วโมงต่อมา รถมาหยุดจอดที่เนินทรายข้างหน้า คุณฉินบอกว่า ข้ามเนินทรายลูกนี้ก็ถึงแปลงนาแล้วละ เมื่อทั้งหมดเดินลุยทรายถึงยอดเนิน มองลงไปเบื้องล่าง สิ่งที่ปรากฏในสายตาเบื้องหน้าของทุกคนก็คือ แปลงนาที่เขียวขจีร่วม 100 โหม่ว (ประมาณ 40 ไร่) คนที่เข้ามาทักทายต้อนรับคือเจ้าของนาผืนนี้ ชื่อว่า ซ่ง เหวยชาว (宋为超) ฉากที่เห็นรถดำนากำลังปักต้นกล้าลงในผืนนา ข้อกังขาก็คือแปลงนาเหล่านี้คือผืนดินที่เป็นทราย แล้วใช้วัสดุใดปูท้องทรายเก็บกักน้ำเอาไว้ ต่างก็คิดว่าน่าจะเทปูนรองพื้น หรือไม่ก็ใช้แผ่นพลาสติกปูทับ ความคิดเช่นนี้ถือว่า คิดผิดครับ  คุณซ่งตอบ หากใช้วัสดุดังกล่าวรองพื้น มันสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ก็จริง แต่อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ ทำให้ต้นข้าวชะงักงัน แล้วค่อยๆซีดเหลืองตายไป เหมือนกับการใช้พลาสติกปูบ่อเลี้ยงปลา พลาสติกแน่นทึบ ปิดกั้นการถ่ายเทอากาศ ไม่นานปลาที่เลี้ยงก็ลอยตุ๊บป่องๆตายเกลี้ยงบ่อ (ถ้าไม่มีการอัดอากาศเติมออกซิเจนลงในบ่อ) แต่ท้องนาที่นี่ใช้วัสดุปูทับด้วยเม็ดทรายครับ เป็นเม็ดทรายที่เป็นสีแดงปูทับด้วยความหนาเพียง 2 เซนติเมตร
เท่านั้นก็สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้โดยไม่รั่วซึม แต่ยอมให้อากาศถ่ายเทได้ด้วย เมื่อปลูกต้นข้าวต้นข้าวจึงเติบโตงอกงามดีจนกระทั่งตกรวงให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 

คุณซ่งได้ทำการทดสอบให้ดู โดยได้นำเอาน้ำมา 2 ขวด แล้วทำการเทน้ำขวดหนึ่งลงบนทรายแดงที่เกลี่ยเป็นชั้นบางๆ จากนั้นใช้ลมปากเป่าไล่น้ำที่เทลงไป จะเห็นได้ว่าไม่มีน้ำซึมเปียกเม็ดทรายแดงแม้แต่น้อย แต่จะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กลิ้งบนใบบัวอย่างไรอย่างนั้น แล้วคุณซ่งก็นำเอาน้ำอีกขวดหนึ่งเทลงบนพื้นทรายธรรมชาติ ปรากฏว่าชั่วพริบตาเดียวน้ำที่เทลงไปนั้นซึมหายลงไปในพื้นทรายอย่างหมดเกลี้ยง

คุณซ่งยังได้ทำการทดสอบที่พิสดารกว่านั้นให้ดู โดยนำแก้วพลาสติกใบหนึ่ง ทำการเจาะรูเล็กๆจำนวนหนึ่ง แล้วเททรายแดงลงไปครึ่งแก้ว จากนั้นเทน้ำลงไปในแก้ว จะเห็นว่าน้ำไม่สามารถซึมผ่านทรายแดงได้ คราวนี้คุณซ่งยกแก้วขึ้นเหนือริมฝีปาก แล้วทำการเป่าลมในแก้วผ่านรูเล็กๆที่ได้เจาะเอาไว้ จะเห็นว่ามีฟองอากาศขนาดเล็กๆผุดปุดๆขึ้นสู่น้ำในแก้วอย่างเห็นได้ชัด นี่เป็นการยืนยันได้ว่าทรายแดงสามารถกักกั้นน้ำไว้ได้ แต่กลับยอมปล่อยให้อากาศถ่ายเทผ่านไปได้ อัศจรรย์ใจใช่ไหมครับ แล้วเม็ดทรายแดงนี้มีที่มากันอย่างไร เชิญติดตามดูกันต่อไป

ทรายแดงที่ใช้ปูรองพื้นก่อน เก็บกักน้ำได้ไม่รั่วซึม และยอมให้อากาศถ่ายเทได้

ทรายแดงที่ใช้ปูรองพื้นก่อน เก็บกักน้ำได้ไม่รั่วซึม และยอมให้อากาศถ่ายเทได้

ทรายแดงเก็บน้ำได้จริง

ทรายแดงเก็บน้ำได้จริง

อากาศก็ถ่ายเทได้ด้วย

อากาศก็ถ่ายเทได้ด้วย

ช่วยกันปูทรายแดง

ช่วยกันปูทรายแดง

แหล่งน้ำใต้ดิน

แหล่งน้ำใต้ดิน

 

นักวิทยาศาสตร์หนุ่มนามว่า ฉิน เซิงอยี่ (秦升益) เป็นผู้วิจัยคิดค้นทรายแดงที่แสนอัศจรรย์นี้ขึ้นมา แรกเริ่มนั้นประสิทธิภาพมันสามารถทนแรงกดของน้ำไม่เกิน 1 เมตร หลังจากนั้นได้ทำการวิจัยสืบต่อมาจนกระทั่งสามารถทนแรงกดของน้ำเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว นั่นหมายถึงพื้นที่ทรายแดง 1 ตารางเมตรที่เกลี่ยให้มีความหนาแค่ 2 เซนติเมตรนั้น สามารถรองรับน้ำได้ถึง 40 ตัน ! 
ดังนั้นเมื่อมีเม็ดทรายแดงที่ทนแรงกดได้สูง จึงได้นำมาใช้รองพื้นทรายที่ขุดตักออกราว 1 เมตร นำเอาทรายแดงมาเกลี่ยพื้นทรายให้สม่ำเสมอ หากแต่ริมขอบบ่อสี่ด้านนั้นเป็นพื้นเอียง (Slope) ไม่สามารถยึดเกาะเม็ดทรายแดงเอาไว้ได้ จึงจำต้องใช้แผ่นพลาสติกมาปูแทนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ค่าใช้จ่ายในการปูพื้นด้วยทรายแดงขนาดพื้นที่ 1 โหม่วนั้นตกประมาณ 4.000 หยวน (ประมาณ 10.000 บาทต่อไร) แต่คงทนใช้งานกว่า 10 ปี (คุ้มค่าเหนือราคาทุนมากๆ) แต่ ...
 
อย่าเพิ่งมองข้ามปัญหาพื้นฐานไป มวลทรายในทะเลทรายนั้นปราศจากอินทรีย์สารที่เป็นธาตุอาหารพืช แต่เรื่องนี้มิใช่ปัญหาใหญ่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ง่ายๆ จากการขุดเอาทรายจากทุ่งเลี้ยงแพะแกะที่มีมูลทับถมตกค้างมานานปีใส่ลงแทนที่ทรายที่ขุดออก เท่านี้ปัญหาก็คลี่คลายไปได้และยังมีปัญหาที่คาดคิดไม่ถึงต้องมาตามแก้กันอีกเปลาะหนึ่ง นั่นก็คือพายุทรายที่พัดพาเอาเม็ดทรายมากลบต้นข้าวเสียท่วมมิด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะทำฉันใด ทุกปัญหามีทางออกถ้าไม่ยอมแพ้ ก็ต้องยกเครดิตให้กับนักวิทยาศาสตร์หนุ่ม ฉิน เซิงอยี่ เจ้าเก่าอีกนั่นแหละที่คิดค้นสาร “สะกดทราย” กู้ซาจี้ (固沙剂) ผลิตจากอินทรีย์สารที่นำมาฉีดพ่นพื้นผิวทราย จักทำให้ผิวทรายนั้นเกาะตัวกันเป็นแผ่น ลมไม่สามารถพัดพามากลบต้นข้าวได้อีกต่อไป เมื่อแก้ปัญหาได้ครบครันรอบด้านแล้ว ทุกคนจึงนึกขึ้นได้ว่า ในทะเลทรายแห่งนี้ ไปขุดค้นเอาน้ำจากที่ไหนมาใส่แปลงนา ? (ลองเดาดูสิครับ)
 
คำตอบอยู่ที่ใต้ฝ่าเท้าที่ยืนอยู่นี่เองแหละครับ น้ำใต้ดินครับ ใต้ผืนทรายที่นี่เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากเมื่อหลายร้อยปีก่อนนั้น ที่แห่งนี้เคยเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำ ต่อมถูกพายุทรายทับถมกลบมิด (แต่ยังมีน้ำ) เพียงแค่ขุดเจาะลึกลงไปในดินทราย 5 – 6 เมตรก็เจอน้ำแล้ว
 
คณะที่มาเยี่ยมเยือนถามว่า ข้าวในแปลงนาที่ปลูกอยู่นี้จะทำการเก็บเกี่ยวเมื่อไร ? เราจะแวะเวียนกลับมากินข้าวที่ปลูกในทะเลทรายนี่ดู คุณเมิ่งตอบว่า ด้วยความยินดี เราจะเก็บเกี่ยวข้าวกันในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ 
เมื่อย่างเข้าเดือนเก็บเกี่ยว คณะผู้ถ่ายทำได้หวนกลับมา ณ.ที่นาแปลงนี้อีกคำรบหนึ่ง ช่วยเกี่ยวข้าว และได้ลิ้มชิมลองข้าวทะเลทรายด้วยกัน จากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้อยู่ที่พันกว่ากิโลกรัมต่อไร่ (ไม่น้อยนะเนี่ย) 
อ่านคำบรรยายจบแล้ว ครานี้เชิญคลิกเข้าไปดูสิ่งมหัศจรรย์กันได้เลยที่
 








เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google