ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article

 

 ณ. พื้นที่เขตรอยต่อระหว่างมณฑลเฮยหลงเจียง (黑龙江) และมณฑลจี่หลิน (吉林) มีพืชชนิดหนึ่งที่สามารถผลิตเกลือที่มีรสเค็มเหมือนเกลือแกงที่เราใช้ปรุงอาหารรับประทานได้ ทุกปีในฤดูร้อน จะปรากฏคราบสีขาวชั้นบางๆเคลือบทั่วตามใบและกิ่งก้านของมัน ชาวบ้านในละแวกนั้นจะใช้มีดไปขูดเอาคราบเกลือ ที่ติดอยู่ตามส่วนต่างๆของลำต้น – ใบมาปรุงอาหารแทนเกลือ พืชชนิดนี้จึงได้ชื่อตามเอกลักษณ์พิเศษในภาษาจีนว่า มุเหยียนซู่ (木盐树) จัดเป็นพรรณไม้ที่โดดเด่นในแหล่งดินเค็ม

พืชชนิดนี้ผลิตเกลือขึ้นได้อย่างไร ? เป็นเรื่องที่ต้องสาธยายกันยาวเหยียด เอาเป็นสั้นๆก็แล้วกัน พืชเกือบทุกชนิด จะงอกเงยในแหล่งพื้นดินที่มีเกลือต่ำๆ แต่ในพื้นที่บางแห่งนั้น ปริมาณของเกลือที่สะสมในดินนั้นค่อนข้างสูง เราเรียกดินเช่นนี้ว่า แหล่งดินเค็ม (Saline land) ในต้นฤดูใบไม้ผลิ พื้นที่ราบแถบทิศเหนือของมณฑลซานตง (山东) และทางทิศตะวันออกของเหอไป่ (河北) จะสะท้อนแสงสีขาวแวววาวบนผิวดินให้เห็น สาเหตุนั้นเกิดจากน้ำเค็มที่สะสมอยู่ภายในผืนดินตกผลึกจับตัวกันเป็นคราบขาวบนผิวหน้าดิน ซึ่งก็คือเกลือแกงดีๆนี่เอง ดินเค็มเหล่านี้ เกิดจากการใช้น้ำชลประทานที่มีส่วนของเกลือราดรดมาเป็นเวลานานๆ หรือไม่ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลกจากการถอยร่นของน้ำทะเล ดังนั้นพืชที่ดำรงชีพในพื้นที่เช่นนี้ จึงต้องมีลักษณะพิเศษ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มันคงอยู่ หาไม่แล้วก็จะเป็นปัญหาในการดำรงชีพของมัน ในเมื่อมีเกลือสะสมภายในลำต้นเกินกำหนด เกิดเกลือเป็นพิษทำให้ต้นตายได้

 

 ต้นมุเหยียนซู่

 ต้นมุเหยียนซู่

 

ต้นมุเหยียนซู่ มีวิธีการระบายเกลือที่ดูดซับเข้าสู่ลำต้น โดยการ ขับเหงื่อ (น้ำเกลือ) ออกทางช่องระบายที่มีอยู่จำนวนมากตามผิวของลำต้นและใบ (คล้ายต่อมเหงื่อของคน) เมื่อเหงื่อที่ถูกขับออกมาถูกลม แสงแดดลูบไล้จนส่วนที่เป็นน้ำระเหยหายไป ก็จะกลายเป็นคราบเกลือเกาะติดตามลำต้น กิ่งก้าน และใบ เมื่อฝนตกก็จะถูกชะลงสู่พื้นดินต่อไป อนึ่ง ในแถบพื้นที่ดินเค็มของมณฑล กานสู และซินเจียง มีพืชไม้ดอกที่ชื่อว่า ป้านหลินฮวา (Frankenia pulverulenta / 瓣鳞花) ก็มีกลไกการระบายเกลือออกสู่ภายนอกลำต้นโดยวิธีการเช่นเดียวกันนี้

ได้มีการทำการทดสอบเปรียบเทียบต้น ป้านหลินฮวา ที่ขึ้นอยู่ในกระถางที่มีดินปลูกแตกต่างกัน กระถางหนึ่งเป็นดินเค็ม และอีกกระถางหนึ่งเป็นดินที่ปราศจากเกลือ ผลปรากฏว่าตามลำต้นและใบในกระถางดินเค็มมีส่วนที่เป็นน้ำซึมออกจากลำต้น เมื่อแห้งลงก็ปรากฏเป็นคราบเกลือบางๆ ส่วนอีกกระถางหนึ่งนั้น ไม่ปรากฏว่ามีน้ำซึมออกมาแต่อย่างใด นั่นแสดงว่าต้น ป้านหลินฮวาที่เติบโตในกระถางดินเค็มนั้น สามารถขับเกลือที่ติดมากับน้ำที่ดูดขึ้นมาจากราก และขับออกทันก่อนที่จะเกิดเป็นพิษขึ้นกับตัวมันได้ และที่ซินเจียง ยังมีต้น อยี่แอย๊ะหยาง (Swamp poplar / 异叶杨) จะปรากฏว่ามีสารโซดาตามเปลือก (โซเดียมคาร์บอเนต) ง่ามกิ่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็เป็นเกลือในอีกรูปหนึ่ง ที่แตกต่างจากเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) ที่เกิดขึ้นจากต้น มุเหยียนซู่ และ ป้านหลินฮวา

 

 ดอกป้านหลินฮวา

ดอกป้านหลินฮวา

ต้นป้านหลินฮวา

ต้นป้านหลินฮวา

 

 พื้นที่ดินเค็มทางแถบทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มีพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เหยียนเจี่ยวฉ่าว (盐角草) เมื่อกำจัดน้ำให้หมดไป แล้วทำการเผาให้เหลือแต่เถ้า ทำการแยกแยะหาส่วนประกอบที่เป็นเถ้าถ่าน 45 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งนั้นเป็นสารประกอบของเกลือหลายๆชนิด ซึ่งโดยปกติแล้วพืชทั่วๆไปจะมีเกลืออยู่ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พืชที่มีส่วนของเกลือสูงๆเหล่านี้จะมีฟองภายในเซลล์ที่สามารถกักเกลือมิให้แพร่ออกมานอกเซลล์ ซึ่งจะทำให้เกิดเกลือเป็นพิษที่ทำให้ตัวมันเป็นอันตรายถึงตายได้ ทำให้มันสามารถดูดเอาน้ำ (ที่มีเกลือ) จากพื้นดินขึ้นมาใช้งานได้ จีนมีคำเปรียบเปรยถึงพืชชนิดหนึ่งที่ชื่อ เจี่ยนเผิง (碱蓬) ว่าเป็นอภิชาตบุตร เนื่องจากสามารถผงาดยืนยงอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย  

พื้นที่แถบทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และมีส่วนของเกลือในดินสูง ประชาชนที่นั่นปลูกต้น ปินหลี (滨藜) พืชในตระกูล Chenopodiceae Atriplex (ฝรั่งเรียกต้น goose foot แต่ไม่ใช่ไม้ยืนต้นที่เรียกว่า ต้นตีนเป็ดในบ้านเรานะครับ) เป็นพืชบำรุงดิน ดูดซับเอาส่วนที่เป็นเกลือออกจากผืนดิน โดยเนื้อที่ปลูก 1 เฮกตาร์ นั้นสามารถดูดซับเอาเกลือได้ถึง 1 ตัน และการปลูกปินหลีในพื้นที่ดังกล่าวนี้ ถือเป็นปฏิบัติการ “ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกหลายตัว” เลยทีเดียว เนื่องจากเป็นการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพดินเค็มหนึ่ง ใช้ต้น ปินหลี เป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงแพะ แกะ วัว (ควายคงไม่มี) ได้อีกหนึ่ง นัยว่า วัวชอบกินมากทีเดียวเชียวนะ สิบอกไห่   

 

 ต้นอยี่แอยะหยาง

ต้นอยี่แอยะหยาง

เหยียนเจี่ยวฉ่าว

เหยียนเจี่ยวฉ่าว

 
 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google