ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !

 

สัญชาติ เชื้อชาติคนที่ไหนหรือ ?

อ๋อ ไม่ใช่คนหรอกครับ แต่เป็นต้นพันธุ์องุ่น องุ่นสายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อนำไปใช้ผลิตเหล้าไวน์นั่นแหละครับ จะดูคลิปวีดิโอก่อนหรืออ่านบทความก่อนก็ได้ตามอัธยาศัย

 

ท่านที่เคยอ่านบทความ - ดูคลิปวีดิโอ“เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน” มาก่อนหน้านี้ คงได้อ่านผ่านสายตาที่ว่า โรงงานผลิตไวน์เกือบทั้งหมดของจีนได้หันมาใช้องุ่นสายพันธุ์ใหม่ที่จีนปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเอง ถ้าอ่านบทความนี้และดูคลิปวีดิโอนี้แล้วก็จะเข้าใจทะลุปรุโปร่งว่า เพราะเหตุอันใด ?

เปิดฉากแรกในคลิปวีดิโอ พิธีกรสาวเกริ่นกล่าวว่า ในปี  2014 ได้มีการปลูกองุ่นร่วม 1,000 โหม่ว (415 ไร่) ที่อำเภอเหยีนนฉิ้ง (延庆) นครไป่จิง (ปักกิ่ง / 北京) ที่ได้รับกล้าพันธุ์องุ่นมาจากสถาบันพฤกษศาสตร์จงเคอเยี่ยน (中科院) แห่งChinese Academy of Sciences ประเทศจีน และเมื่อเข้าปลายฤดูใบไม้ร่วง เริ่มจะย่างเข้าฤดูหนาว ศาสตราจารย์ หลี่ ส้าวฮว๋า (李绍华) จากสถาบันแห่งนี้ก็รีบรุดไปยังไร่ปลูกองุ่นแห่งนี้ ทำการบอกกล่าวและกำชับว่า ไม่ต้องทำการกลบฝังต้นองุ่นดังที่ทำกันมาตลอดร่วมพันปี จนเกือบจะกลายเป็นประเพณีไปเสียแล้ว ทำให้เกษตรกรเหล่านี้ต่างพากันฉงนใจ และไม่เชื่อว่าสิ่งที่ศาสตราจารย์หลี่พูดนั้นเป็นความจริง เนื่องจากที่ผ่านๆมา การปลูกองุ่นทางเหนือของจีนนั้น ต้องทำการกลบโคนฝังต้นองุ่นเพื่อป้องกันความเสียหายจากอากาศที่หนาวเหน็บ ถ้าอากาศหนาวเย็นถึงขั้นติดลบ 6 องศา หากไม่ฝังกลบต้นองุ่นแล้ว องุ่นที่ปลูกก็จะยืนต้นตายซากทั้งสวน ชาวสวนองุ่นที่มีประสบการณ์บอกว่า องุ่นที่ปลูกเหล่านี้อายุได้หนึ่งขวบปีแล้ว ทำการดูแลอีก 2  ปีก็เก็บผลผลิตมีรายได้แล้ว ถ้าไม่กลบโคน เกิดเสียหายขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ 

เท่าที่ผ่านมา พันธุ์องุ่นที่ปลูกเก็บผลทำเหล้าไวน์ในประเทศจีนนั้น ล้วนเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น เล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยโบราณนั้น ท่านจางเชียน (张骞) เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์และวิธีปลูกองุ่นเข้ามาในประเทศหลังกลับจากค้าขายต่างประเทศบนเส้นทางสายไหม องุ่นเหล่านี้เดิมทีปลูกกันแถบยุโรปและเอเชียใต้ที่มีสภาพภูมิอากาศแบบ เมดิเตอร์เรเนียน หน้าร้อนอากาศร้อนและแห้ง หน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝน อุณหภูมิทั่วไปสูงกว่า ศูนย์องศาขึ้นไป เมื่อนำมาปลูกในพื้นที่อากาศหนาวเย็นที่ติดลบแล้ว จึงไม่สามารถต้านทานอากาศที่เย็นยะเยือกได้


สายพันธุ์องุ่นที่ปลูกไว้เพื่อผลิตเหล้าองุ่นนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสายพันธุ์ ฉื้อเสียจู (赤霞 珠 / Cabernet Sauvignon) และ ผิ่นลี่จู (品丽珠 /  Cabernet Franc) ซึ่งก็เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เมื่อนำมาปลูกในเขตพื้นที่ทางใต้ของประเทศ (จีน) เนื่องจากทางใต้เป็นเขตร้อนชื้นที่มีฝนชุก อุณหภูมิและความชื้นในอากาศสูง ทำให้เกิดโรคได้ง่าย คุณภาพจึงไม่ดี อีกทั้งผลผลิตก็ต่ำ ส่วนเขตทางเหนือที่มีสภาพภูมิอากาศอำนวยให้เหมาะที่จะปลูกองุ่น แต่ทว่าในฤดูหนาวนั้น อุณหภูมิต่ำ อากาศที่หนาวเย็นจะทำให้องุ่นแข็งตาย ดังนั้นการปลูกองุ่นทางตอนเหนือของประเทศนั้น จึงต้องทำการป้องกันโดยการกลบต้นฝังโคน
ให้ผ่านพ้นฤดูหนาวทุกรอบปี

ในพื้นที่ปลูกหนึ่งโหม่ว (0.42 ไร่) เกษตรกรจะปลูกต้นองุ่นจำนวนร้อยเศษๆ ดังนั้นเนื้อที่ที่ปลูกองุ่นจำนวนหนึ่งพันโหม่ว ณ.ที่เหยียนฉิ้งแห่งนี้ ถ้าหากต้องทำการกลบโคนหมกต้นองุ่นทั้งหมดแล้ว คงเป็นมหกรรมการงานที่ใหญ่โตอย่างไม่ต้องสงสัย ก่อนที่จะทำการกลบโคนฝังต้นองุ่น ต้องมีการตัดแต่งกิ่งเสียก่อน  ในพื้นที่หนึ่งโหม่วต้องใช้คนดำเนินการไม่น้อยกว่า 5 คนจึงจะแล้วเสร็จ และใช้เวลากว่าสิบวันงานการจึงจะลุล่วง หากกะเกณฑ์เตรียมการไม่ทันเวลา ความหนาวเย็นเข้าปกคลุม ก็จะก่อความเสียหายแก่องุ่นที่ปลูกได้ การกลบต้นโคนองุ่นจึงเป็นงานหนักที่น่าเบื่อหน่าย แม้จะนำเอาเครื่องจักรกลมาใช้แล้วก็ตาม แต่ถึงอย่างไรก็ยังต้องใช้แรงคนอยู่ดี ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นเปล่าๆปลี้ๆ คุณหลี่ เสี้ยวจง (李效忠) ซึ่งเป็นผู้ดูแลสวนองุ่น จินซานหลินฉาง ที่ตั้งอยู่ที่อำเภอ เฮ่อหลานเซี่ยน นครหนิงเซี่ย (宁夏贺兰县金山林场葡萄种植基地) บอกกล่าวกับนักข่าวว่า ในพื้นที่ 300 โหม่วนั้น (125 ไร่) ต้องเสียค่าใช้จ่ายพลิกดินกลบต้นองุ่นกว่า 30,000 หยวนเลยทีเดียว (ประมาณ 168,000 บาท เฉลี่ย1,350 บาทต่อไร่)

 

จางเชียน

จางเชียน

องุ่นสายพันธุ์ต้านทานอากาศหนาวเย็นที่ไม่ต้องกลบต้นฝังโคนในหน้าหนาว

องุ่นสายพันธุ์ต้านทานอากาศหนาวเย็นที่
ไม่ต้องกลบต้นฝังโคนในหน้าหนาว

 

ฤดูหนาวทำการฝังกลบ พอเข้าฤดูใบไม้ผลิถัดมาก็ต้องทำการเปิดหน้าดิน ยกต้นองุ่นขึ้นพาดพิงเกาะหลักติดร้านอีกครั้ง คนไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ หากทำได้ไม่ดี อาจทำให้ต้นองุ่นตายได้ ศาสตราจารย์หลี่บอกว่า องุ่นที่อำเภอเหยียนฉิ้งที่เกษตรกรนำเข้ามาปลูกไม่จำเป็นต้องฝังกลบต้นแล้ว เกษตรกรก็ยังไม่มั่นใจสักเท่าไรนัก ทั้งๆที่คุณ หลี่ ซ่าวฮว๋า (李绍华) เป็นถึงหัวหน้าส่วนผู้ชำนัญการด้านพืชสวนที่ศึกษาด้านการปลูกองุ่นมาสิบกว่าปีแล้วก็ตาม

คุณหลี่บอกว่า ในปี 2013 พื้นที่ปลูกองุ่นเพื่อผลิตไวน์นั้นได้ขยายเขตุออกไปมาก ผลผลิตไวน์ในปีหนึ่งๆไม่ต่ำกว่าล้านตัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สายพันธุ์องุ่นที่ปลูกล้วนแต่นำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น แต่องุ่นที่เกษตรกรเริ่มปลูกอยู่ ณ.ที่นี้ เป็นสายพันธุ์ที่ทางการจีนได้ทำการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเอง กล่าวได้ว่าเป็นเชื้อชาติ และสัญชาติองุ่นพันธุ์แท้ของจีนเอง แต่มีความโดดเด่นดีกว่าสายพันธุ์องุ่นต่างประเทศก็คือ ทนทานต่อความหนาวเย็นของอากาศได้อย่างยอดเยี่ยม หน้าหนาวไม่ฝังกลบต้นก็ไม่ตาย แล้วสายพันธุ์องุ่นที่ว่านี้มีความเป็นมาอย่างไร เรื่องนี้ต้องเท้าความย้อนกลับไปในปี 1950 เมื่อ 60 ปีก่อน ก่อนที่คุณหลี่ยังไม่เกิด ผู้คนรุ่นก่อนก็ได้เริ่มทำการวิจัยค้นคว้าหาสายพันธุ์องุ่นทำไวน์ที่ทนอากาศหนาวเย็นได้ และคณะบุคคลที่บุกเบิกงานชิ้นนี้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่จนบัดนี้ (ปัจจุบันท่านอายุ 92 ปี) ก็ได้กลับเข้ามาร่วมงานอีกครั้งหนึ่ง ท่านผู้นั้นคือ หลี เซิ่งเฉิง (黎盛臣)

คุณตาหลีบอกว่า ในเวลานั้น ประเทศจีนไม่ใคร่มีเหล้าองุ่น พื้นที่ปลูกองุ่นก็น้อย พันธุ์องุ่นที่นำเข้ามาปลูกก็ไม่ทนทานต่ออากาศที่หนาวเย็น จึงต้องทำการกลบโคนฝังต้นทุกครั้งเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว เป็นงานการที่ยุ่งยากแลเสียเวลาเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นโจทย์ที่คณะทำงานจักต้องตอบให้ได้ก็คือ ต้องสร้างสายพันธุ์องุ่นที่สามารถต้านทานอากาศที่หนาวเหน็บให้ได้ เพื่อว่าจักได้ตัดทอนงานการยุ่งยากที่เสียทั้งเวลาและแรงงานทิ้งไป อีกทั้งยังลดต้นทุนลงได้อีกมากโข

ดังนั้นในปี 1954 จากการชี้แนะของนักวิชาการด้านพืชสวนที่มีชื่อ คุณเสินจวิน (沈隽) คณะทำงานจึงได้คัดเลือกพื้นที่ ตรงตีนเขา เซียงซาน (香山) เริ่มดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์องุ่นกันอย่างขนานใหญ่ สายพันธุ์องุ่นที่มีความทนทานอากาศหนาวเย็นนั้นมีมานานแล้ว หากแต่เป็นองุ่นป่าที่ไม่เหมาะที่จะนำมาทำเหล้า แต่เรียกได้ว่า มีความทนทายาท แม้แต่อุณหภูมิติดลบ 40 องศาก็ยังยืนต้นมีชีวิตอยู่ได้ แต่ให้ผลผลิตต่ำ ผลก็ไม่เหมาะที่นำมาทำเหล้า ผลองุ่นป่านั้นมีส่วนของกรดสูง (รสเปรี้ยว) น้ำตาลต่ำ (ความหวาน) เมื่อนำมาผลิตไวน์ คุณภาพของไวน์นั้นก็แย่เต็มทน รสชาตินั้นบอกได้ว่า ดื่มไม่ลงคอ (อันนี้คุณหลี่ ซ่าวฮว๋าบอกนะครับ)

องุ่นป่ามีส่วนของน้ำตาลค่อนข้างต่ำ ทั่วๆไปมีองค์ประกอบของน้ำตาล 12 – 13 หน่วยบริกส์เท่านั้น แต่องุ่นที่จะนำมาหมักทำไวน์นั้นต้องการระดับของน้ำตาลสูงถึง 22 หน่วย จึงจะได้ไวน์ที่มีคุณภาพ องุ่นป่ามีคุณสมบัติที่ต้านทานอากาศหนาวเย็นได้ดี แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาผลิตเหล้าไวน์ หากนำองุ่นป่ามาผสมข้ามพันธุ์กับองุ่นสายพันธุ์ดี การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีนี้ จะทำให้ได้องุ่นลูกผสมที่มีคุณภาพและต้านทานอากาศที่หนาวเย็นได้ ครั้งกระนั้น ผู้ชำนัญการอาวุโสได้เลือกเอาองุ่น หมัยกุ้ยเซียง “玫瑰香” (กุหลาบหอม) มาเป็นสายพันธุ์แม่ องุ่นสายพันธุ์นี้ เป็นทั้งสายพันธุ์กินผลสดและทำไวน์ มีระดับของน้ำตาลสูงกว่าองุ่นป่ามาก และมีกลิ่นหอมพิเศษเฉพาะตัว (กลิ่นกุหลาบ)

เหล้า (หรือไวน์) เป็นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลแล้วสลายตัวเป็นแอลกอฮอล์โดยผ่านขบวนการย่อยสลาย (หมัก) ของเชื้อจุลินทรีย์จำเพาะอย่าง องุ่นที่เก็บเกี่ยวหลังจากคัดแยกขั้วผลออกแล้ว ผ่านการบดย่อยจนเปลือกแตก แล้วถูกนำไปสู่ขบวนการบ่มหมัก จนเกิดการเปลี่ยนแปรทางชีวเคมี โดยน้ำตาลจะค่อยๆเปลี่ยนแปรเป็นแอลกอฮอล์ ถ้าปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบในผลองุ่นน้อย แอลกอฮอล์ ก็เกิดน้อย เหล้านั้นจึงมีคุณภาพต่ำ  

เมื่อทำการคัดเลือกสายพันธุ์พ่อและแม่ได้แล้ว (กุหลาบหอมเป็นสายแม่ องุ่นป่าเป็นสายพ่อ) ขั้นต่อไปคือขบวนการผสมเกสร ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในดอกแต่ละดอกขององุ่นนั้นเป็นดอกสองเพศ คือมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ร่วมกัน ต้องขจัดเกสรตัวผู้ในแต่ละดอกออกให้หมด และดอกองุ่นนั้นเป็นดอกช่อที่มีจำนวนมากนับไม่ถ้วน แต่ละดอกยังมีขนาดเล็กกว่าเมล็ดข้าวเสียอีก ต้องใช้สมาธิและความพยายามเป็นอย่างสูงในการคีบตัดเกสรตัวผู้ออกให้หมดจด ถ้าหากยังมีเกสรตัวผู้หลงเหลือเพียงดอกเดียว ต้นพันธุ์รุ่นลูกรุ่นหลานนั้นก็แยกแยะไม่ได้เลยว่า สายพ่อนั้นคือสายพันธุ์ต้นไหนกัน (ต้นพันธุ์ในสายพันธุ์เดียวกันใช่ว่าจะมีลักษณะเหมือนกันหมด ยังมีความแตกต่างกันออกไปอีกต่างหาก)

ดอกองุ่นที่กำจัดเกสรตัวผู้หมดจดไปแล้ว จึงนำเอาก้านไม้ขนาดเล็กพันปลายข้างหนึ่งด้วยสำลีไปแตะเกสรตัวผู้ของดอกองุ่นป่า แล้วนำไปป้ายบนเกสรตัวเมียของดอกองุ่นที่ใช้ทำเป็นต้นแม่ (กุหลาบหอม)

ปฏิบัติการ ข้ามสายพันธุ์ดังกล่าวดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี แต่จีนมีคำกล่าวที่ว่า “มังกรเกิดลูกเก้าตัว แต่ละตัวก็ยังแตกต่างกันออกไป”ต้นพันธุ์องุ่นรุ่นลูกรุ่นหลานที่เกิดขึ้นนั้นมีความผันแปรแตกต่างออกไปมากหลาย บางต้นผลมีรสเปรี้ยว บางต้นรสหวาน ผลเล็ก ผลใหญ่ ดังนั้นคณะทำงานจึงต้องคัดเลือกต้นพันธุ์เหล่านี้มาทำการผสมไขว้กันอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ต้องการ (มีรสหวาน ผลใหญ่ ลูกดอก สีสวย) และที่สำคัญก็คือ มีความต้านทานต่ออากาศที่หนาวเย็นได้ดี

คุณตา หลี เซิ่งเฉิน (黎盛臣) เล่าว่า งานผสมข้ามพันธุ์ดังกล่าวดำเนินไปสิบกว่าปี กระทั่งถึงปี 1967 – 1968 คัดเลือกได้ต้นพันธุที่มีลักษณะเด่นตามต้องการได้ 3 ต้น เมื่อนำไปทำการหมักบ่มเป็นเหล้าไวน์ออกมา ปรากฏว่ารสชาติไม่เลวเลย เมื่อจะดำเนินการต่อไป ก็เกิดเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองขึ้นใน (เหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรม / เรดการ์ด) จึงทำให้งานการในโครงการหยุดชะงักกลางคันไปหลายปี เพราะเจ้าหน้าที่ถูกจัดส่งไปทำงานในไร่นาทั่วประเทศ โชคดีที่เจ้าหน้าที่เทคนิคผู้หนึ่งได้เก็บรักษาสายพันธุ์เอาไว้ เมื่อเหตุการณ์อลหม่านทางการเมืองสงบลง จึงมีการฟื้นฟูหน่วยงานขึ้นมาใหม่ในศตวรรษที่ 21 โดยมีศาสตราจารย์ หลี่ ส้าวฝา เป็นผู้สืบทอดโครงการเป็นรุ่นที่ 3 ได้นำเอาสายพันธุ์ที่รักษาไว้มาทำการคัดพันธุ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนได้สายพันธุ์ที่แข็งแกร่งคงที่ เป็นสายพันธุ์ที่ดีเด่น 2 สายพันธุ์ คือ เป่ยหง (北红) เป่ยไหม (北玫) จนได้รับการรับรองพันธุ์อย่างเป็นทางการ และได้ทำการเผยแพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วประเทศ นับเวลาตั้งแต่เริ่มงานจนงานสำเร็จลุล่วง กินเวลายาวนานเกือบ 60 ปีเต็ม

ไวน์ที่ผลิตจากองุ่น เป่ยหง และ เป่ยเหมย

ไวน์ที่ผลิตจากองุ่น เป่ยหง และ เป่ยเหมย

องุ่นเป่ยหง

องุ่นเป่ยหง

 

องุ่นสายพันธุ์ใหม่ 2 สายพันธุ์ที่พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ขึ้นจนมีคุณสมบัติต้านทานอากาศหนาวเย็นได้อย่างเอกอุ แม้ที่อุณหภูมิติดลบ 27 – 28 หรือต่ำกว่า ก็ยังดำรงชีวิตผ่านฤดูหนาวได้สบายๆ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นแล้ว ตายเรียบไม่เหลือหรอ !จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า องุ่น 2 สายพันธุ์ใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องกลบต้นฝังโคนแต่อย่างใด

องุ่นสายพันธุ์ใหม่ เป่ยหง (แดงเหนือ) และเป่ยไหม (กุหลาบเหนือ) ไม่เพียงแต่มีความต้านทานต่ออากาศหนาวเย็นได้ดีเท่านั้น แต่คุณภาพของผลนั้นก็ถือว่าเป็นเลิศ เนื่องจากปริมาณน้ำตาลสูงกว่า 23 % เหมาะต่อการทำไวน์เป็นอย่างยิ่ง เกษตรกรที่ปลูกเริ่มขยายพื้นที่ปลูกกว้างขวางออกไปทุกทุกที หากแต่เกษตรกรจำนวนหนึ่งยังไม่ไว้วางใจที่บอกว่า องุ่นที่ปลูกสายพันธุ์นี้ไม่จำต้องฝังกลบแต่อย่างใด ดังนั้น ในรอบการเพาะปลูกฤดูนี้ ศาสตราจารย์หลี่จึงเจาะจงเดินทางออกไปยังพื้นที่ปลูก เพื่อกำชับเกษตรกรอย่าได้ทำการฝังกลบต้นองุ่น เพราะจะทำให้เสียเวลา เปลืองแรงงานโดยเปล่าประโยชน์ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย อันเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุ (ไม่จำเป็นต้องกลบ แล้วไปกลบให้เสียเงินเสียทองเสียเวลาทำไม เหนื่อยแรงเปล่าๆ ใช่ไหมครับ อันนี้ผมว่าเองครับ)

เมื่อมีต้นทุนที่ดีในการผลิตเหล้าไวน์แล้ว (สายพันธุ์ที่ดี ทนหนาวเย็น) ถึงกระนั้นก็ตาม เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตไวน์ ฉะนั้นการผลิตไวน์ในประเทศจีนจึงเพิ่มความพิถีพิถันยิ่งขึ้น ได้มีการค้นหาจุลชีพ (ยีสต์) จากเปลือกองุ่นทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ เพื่อนำไปทดสอบใช้ผลิตไวน์ในกระบวนการหมัก ทำให้ได้ไวน์ที่มีคุณภาพ รสดี สีสวย มีกลิ่นหอม รสชาติกลมกล่อม จนได้รับการกล่าวขานไปทั่วเขตแดนประเทศจีน ในปี 2014 เดือนพฤศจิกายน ได้รับรางวัลติดอันดับไวน์ดีในการประกวดไวน์ทั่วประเทศ และผลงานชิ้นนี้ยังได้รับรางวัลผลงานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่นอีกด้วย

ปัจจุบันองุ่นทนหนาวทั้งสองสายพันธุ์นี้ได้รับการส่งเสริมและนิยมปลูกกันทั่วไป แม้แต่แหล่งปลูกองุ่นผลิตไวน์ หนิงเซี่ย (ดูบทความก่อนหน้านี้) ก็เปลี่ยนมาปลูกองุ่นทั้งสองสายพันธุ์นี้กันเกือบเต็มพื้นที่แล้ว สาเหตุเพราะอะไร ผมคงไม่จำเป็นต้องให้ความคิดเห็น แต่บอกได้ว่า ผลงานดังกล่าวนี้กว่าจะได้มาซึ่ง องุ่นที่เป็นทั้งสัญชาติ และเชื้อชาติของจีนเองนั้น เกิดจากความอุตสาหะ วิริยะ ความอดทนของคนจีนอย่างแท้จริง แม้ต้องใช้เวลาเดินทางยาวนานร่วม 60 ปีก็ตาม แต่ก็เป็นความภาคภูมิใจเป็นยิ่งนัก

หมายเหตุ :
นักวิชาการและเกษตรกรไทยเข้าใจผิดคิดว่า องุ่นนั้นเป็นพืชเมืองหนาว จะปลูกในบ้านเราไม่ได้ผล แต่แท้จริงแล้ว องุ่นเป็นพืชเขตุอบอุ่นที่บ้านเราก็สามารถปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ หากแต่มีปัญหาเรื่องโรคเท่านั้น เพราะบ้านเรามีปริมาณฝนชุก ความชื้นสูง การแพร่กระจายของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากมีสารเคมีเกษตรที่สามารถใช้ป้องกันกำจัดโรคที่มีประสิทธิภาพแล้ว เกษตรกรไทยจึงเริ่มต้นปลูกองุ่นกัน และต่อมาก็ได้ใช้โรงเรือนกันฝนป้องกันอีกชั้นหนึ่ง ถือว่าเป็นโชคดีอย่างหนึ่งของบ้านเมืองเรา ที่ประเทศเราตั้งอยู่บริเวณเขตุศูนย์สูตรของโลกที่มีแสงแดดเข้ม ทำให้พืชผลต่างๆเกิดการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติจำนวนมาก เราจึงมีสายพันธุ์องุ่นที่ดีโดยไม่ต้องทำการค้นคว้าวิจัยอย่างประเทศจีน

องุ่นเป่ยเหมย

องุ่นเป่ยเหมย

ไวน์ที่ผลิตจากองุ่นทนหนาว

ไวน์ที่ผลิตจากองุ่นทนหนาว

 
 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google