ReadyPlanet.com
dot dot
dot
นาซี 778 [Nashi 778]
dot
bulletรู้จักนาซี 778
bulletคุณสมบัติ
bulletประสิทธิภาพ
bulletวิธีใช้นาซี 778
bulletข้อควรระวัง
bulletทฤษฏี กลไก และ บทบาท
bulletขนาดและราคา
dot
นาโน 863 [Nano 863]
dot
bulletรู้จักนาโน 863
bulletประสิทธิภาพ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการปศุสัตว์
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
bulletการใช้นาโน 863 ในวงการเห็ด
bulletขนาดและราคา
dot
นาโนบอล [Nano Ball]
dot
bulletรู้จักนาโนบอล
bulletวิธีใช้นาโนบอล
bulletราคา
dot
นาโนสทีค [Nano Stick]
dot
bulletรู้จักนาโนสทีค
bulletราคา
dot
Download Brochures
dot
bulletโปรชัวร์นาซี 778 และนาโน 863
dot
Photo Albums
dot
bulletอัลบั้มรูปผลผลิตต่างๆที่ได้จากนาซี 778
dot
รายงานผลการใช้ผลิตภัณฑ์
dot
bulletสารสมุนไพรนาซี 778
dot
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์
dot
bulletหมวดหมู่สินค้า
dot
ตะกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00บาท
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
bulletยืนยันการโอนเงิน
bulletตรวจสอบสถานะสั่งซื้อสินค้า
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


Go to Nanosoeasy.com
Nano 863 Video Clip #1
Nano 863 Video Clip #10
Nano 863 Video Clip #9
Nano 863 Video Clip #8
Nano 863 Video Clip #7
Nano 863 Video Clip #6
Nano 863 Video Clip #5
Nano863 Video Clip #3
Nano 863 Video Clip #2


กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นมาได้ แล้วมันก็จะดีเอง!

 
 

คำกล่าวเบื้องบนนี้ คือหลักการทำให้ต้นแพร์ (Pear / ต้นสาลี่นั่นแหละ เรียกให้ฟังดูโก้เท่านั้นเอง) อายุยี่สิบกว่าปีตกผลดกกว่าปกติเป็นเท่าตัว มันเป็นไปได้อย่างไร เหลือเชื่อ แต่มันก็เป็นไปแล้วจริงๆ ตามมาดูสิ

ต้นสาลี่ที่อายุมาก ให้ผลเก็บเกี่ยวมานานปี ต้นก็เสื่อมโทรมลง ผลผลิตย่อมลดลง ขนาดผลก็เล็กลง คุณภาพก็ด้อยตามผลผลิต ทำให้เจ้าของสวนหดหู่ใจไปด้วย ครั้นจะโค่นแล้วปลูกใหม่ทดแทนก็เสียดาย เพราะกว่าจะเติบโตให้ผลเก็บเกี่ยวได้ต้องใช้เวลานานร่วม 5 ปีจึงจะมีรายได้ ถ้าไม่โค่น ถึงผลจะเล็ก ผลผลิตน้อย คุณภาพด้อย แต่ก็ยังมีรายได้ แต่ทว่ารายได้มันไม่ใคร่จะคุ้มทุนนี่สิ ทำให้กลัดกลุ้มใจไม่หาย ทำอย่างไรดี เหมือนฟ้ามาโปรด ที่มีนักวิชาการสนใจปัญหาดังกล่าว ได้ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้าหาทางแก้ให้ ไม่ต้องโค่นต้นแก่ทิ้งแม้แต่ต้นเดียว หนทางแก้นั้นก็แสนง่ายดายเพียงแค่ “กดเอาไว้ อย่าให้โผล่ขึ้นไปได้” เท่านั้นต้นสาลี่อายุมากก็ติดดอกออกผลดกมากกว่าปกติเป็นเท่าตัว แถมมีขนาดผลใหญ่ รสชาติดีมีคุณภาพอีกต่างหาก ลงทุนแค่เสาปูนกับลวดเท่านั้น ทุกอย่างก็ดีทันตาเห็น คงร้อนใจอยากรู้แล้วใช่ไหม ว่าทำอย่างไร ? งั้นตามดู อย่ากระพริบตานะครับ

คุณหลิว จ้าวฮุย (刘兆辉) เป็นเจ้าของสวนสาลี่ที่มีขนาดใหญ่หลายร้อยโหม่ว (ประมาณ 200 ไร่) สถานที่ตั้งอยู่ ณ.เมือง เจี้ยนโอว (建瓯) มณฑล ฝูเจี้ยน (福建 / ฮกเกี้ยน) ปัจจุบันคุณหลิวมีรายได้จากการจำหน่ายลูกสาลี่มากกว่าเจ้าของสวนอื่นเป็นเท่าตัว ผู้อื่นมีรายได้ต่อโหม่วแค่หมื่นกว่าหยวน แต่คุณหลิวได้มากกว่าเท่าตัวเศษ (สองหมื่นกว่าหยวน) หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงสวนตามคำแนะนำของอาจารย์ จง ฮว๋างซิน (忠黄新) ทำให้เกษตรกรปลูกสาลี่รายอื่นๆอยากรู้ว่า คุณหลิวใช้ยาที่อยู่ภายในน้ำเต้านั้นคืออะไร (ที่ทำให้ลูกสาลี่ผลดก ผลใหญ่ รสหวานฉ่ำ) เพราะผลผลิตสาลี่ที่คุณจ้าวเคยได้ก่อนปรับปรุสวนนั้นราวๆ 300 ชั่ง หลังจากปรับเปลี่ยนรูปทรงต้นแล้ว ผลผลิตบรรลุกว่า 5,000 ชั่ง (2 ชั่ง = 1 กิโลกรัม)

วิธีการที่อาจารย์จงแนะนำนั้นก็คือ ให้ทำนั่งร้านตาข่ายลวดคลุมต้นสาลี่ทั้งหมด โดยใช้เสาปูนเป็นหลักพยุงค้ำยัน จากนั้นใช้ลวดขึงให้มีความสูงพ้นศีรษะคนประมาณ 1 ศอก (ความสูงจากพื้นถึงระดับโครงข่ายเส้นลวด 1. เมตร) เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน อาทิ ตัดแต่งกิ่ง จัดกิ่ง และเก็บผลผลิต หลังจากสร้างห้างร้านเสร็จก็ทำการตัดแต่งกิ่ง ต้นไหนที่ลำต้นสูงก็จะตัดให้ต่ำกว่าระดับห้างร้าน แล้วปล่อยให้แตกกิ่งใหม่ เมื่อกิ่งใหม่ทอดยืดยาวขึ้น จะถูกดึงรั้งลงมาใต้เส้นลวดที่ขึงเป็นตาข่ายโยงใยเป็นพืด แล้วใช้เชือกหรือเส้นลวดเล็กผูกมัดเข้ากับลวดห้างร้าน มิให้กิ่งชูชันพุ่งขึ้นสู้ท้องฟ้า เมื่อมองจากที่ห่างไกล ต้นสาลี่เหล่านี้ดูเหมือนมีการเติบโตคล้ายเถาองุ่นไม่มีผิด การตัดแต่งกิ่งนั้นจะให้แต่ละกิ่งเว้นช่องว่างห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร เพื่อให้ใบในแต่ละกิ่งนั้นทับซ้อนกันน้อยที่สุด ดังนั้น ใบพืชทั้งหมดจะแผ่รับแสงแดดได้เต็มที่ เมื่อไม่มีการเจริญของกิ่งในแนวดิ่งที่พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ทำให้การปรุงอาหารส่งไปเลี้ยงแต่ละกิ่งในแนวราบได้เต็มที่ ดังนั้น เมื่อผลิดอกออกผล จึงทำให้ดอกออกหนาแน่น ติดผลดก ผลโตเต็มที่ รสหวานจัด เพราะไม่ต้องส่งอาหารไปเลี้ยงส่วนที่แตกยอดใหม่

ยามลูกสาลี่แก่โตเต็มที่ เมื่อมองลอดภายใต้ห้างร้าน จะเห็นลูกสาลี่ห้อยย้อยใต้กิ่งหนาแน่นเป็นพืด ดูแล้วเป็นภาพที่แปลกตา แตกต่างไปจากสวนสาลี่แห่งอื่นๆ คุณหลิว (เจ้าของสวน) จึงฉกฉวยโอกาสอันนี้ ทำการประชาสัมพันธ์บนสื่ออินเตอร์เน็ต ชวนเชิญให้ผู้คนแวะมาเยี่ยมชมสวน และจำหน่ายผลผลิตลูกสาลี่ของตน ผู้ที่มาเยี่ยมชมเห็นผลสวย ลูกใหญ่ รสดีมีคุณภาพ บางคนเหมาซื้อทั้งต้นเลยก็มี โดยทยอยเว้นระยะ สามวัน ห้าวันมาเก็บผลซักครั้ง สนุกสนานอิ่มท้องอิ่มเอมใจทั้งครอบครัว  

 

 พิธีกรสาวในการการ เคอจี้เยี่ยน

พิธีกรสาวในการการ เคอจี้เยี่ยน

คุณหลิว จ้าวฮุย เจ้าของสวนสาลี่

คุณหลิว จ้าวฮุย เจ้าของสวนสาลี่

ต้นสาลี่ที่จัดรูปทรงใหม่ภายใต้ห้างร้าน

ต้นสาลี่ที่จัดรูปทรงใหม่ภายใต้ห้างร้าน

สาลี่ที่ปลูกใหม่ ใช้วิธีปลูกแผนใหม่ ภายใต้ห้างร้าน

สาลี่ที่ปลูกใหม่ ใช้วิธีปลูกแผนใหม่ ภายใต้ห้างร้าน

 

เมื่อเป็นดั่งนี้ ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อย (เฉลี่ยรายได้ต่อต้นกว่า 500 หยวนเลยทีเดียว) นั่นเป็นผลอันเกิดจากความร่วมมือของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งฝูเจี้ยน โดยใช้โซเชี่ยนเน็ตเป็นสื่อชักนำให้ผู้คนมาดูสวนสาลี่ที่แปลกใหม่แห่งนี้ ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าๆตัว (จากหมื่นกว่าหยวน เป็นสองถึงสามหมื่นหยวน)

คุณฮว๋างกล่าวว่า สาเหตุที่ต้นสาลี่อายุมากขึ้นแล้วผลผลิตลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพนั้นเกิดจากการบดบังแสงแดดของใบในแต่ละกิ่งที่ทับซ้อนกันหลายๆชั้น ต้นไม้จึงเพิ่มการเติบโตทางยอดพุ่งสู่เบื้องบนมากขึ้น เพื่อรับแสงแดด ทำให้อาหารที่ต้นสร้างขึ้นถูกนำไปเลี้ยงกิ่งที่แตกออกใหม่ ทำให้ผลที่ติดตามกิ่งล่างๆได้รับอาหารไม่เต็มที่ จึงทำให้ติดผลน้อย มีขนาดผลเล็ก และขาดรสหวานเท่าที่ควร

หลังจากที่ทำการควบคุมกิ่งก้านให้อยู่ในแนวนอนภายใต้ห้างร้านแล้ว ทำให้เกิดกิ่งกระโดงขึ้นมาก ให้ทำการคัดเลือกกิ่งที่เหมาะสมแล้วดึงโน้มลงมาผูกติดกับโครงห้างร้าน ที่เหลือให้ตัดทิ้งไป กิ่งที่ทำการโน้มลงมาก็จะเติบโตให้ผลผลิตในปีต่อไป

เนื่องจากเมือง เจี้ยนโอว มณฑล ฝูเจี้ยนเป็นพื้นที่ที่ติดกับทะเล มีมรสุมลมแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง บางครั้งก่อความเสียหายให้เกิดกับต้นไม้ผลที่ปลูกกันเสมอๆ แต่หลังจากที่ได้เปลี่ยนแปรลักษณะรูปแบบบังคับรูปทรงต้นใหม่ภายใต้ห้างร้านดังกล่าวแล้ว แม้จะเกิดพายุใหญ่ ก็ลดทอนความเสียหายได้อย่างชัดเจน ถือว่าเกิดผลลัพธ์ที่น่ายินดีอีกโสดหนึ่ง

เมื่อทำการปรับเปลี่ยนรูปทรงลำต้นของต้นสาลี่ให้อยู่ภายใต้ห้างร้านแล้ว บังเกิดผลลัพธ์ที่ดีหลายๆด้าน การดำเนินงานก็สะดวกสบายง่ายดายขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ต้องปีนป่ายขึ้นไปเก็บผลบนกิ่งสูงๆอีกต่อไป สามารถนำเครื่องทุ่นแรงมาใช้ในสวนได้อีกด้วย ดังนั้นคุณหลิว จ้าวฮุย จึงทำการปรับเปลี่ยนรูปทรงต้นสาลี่ทั้งหมด คุณความดีอันนี้ต้องยกให้กับคุณจง ผู้คร่ำหวอดอยู่กับสวนสาลี่มานานนับสิบปี

หมายเหตุ : ถ้าอ่านบทความนี้แล้ว ให้ทบทวนถึงความสำคัญของ แสงแดด ที่มีต่อการเติบโตให้ผลผลิตของพืชที่ปลูกทุกชนิด ดังที่ผมตอกย้ำถึงบทบาทของแสงแดดตลอดเรื่อยมา (บนโลโกของห้างฯจะมีคำว่า เกษตรแสงอาทิตย์ กำกับอยู่)

เมื่อได้เข้าใจแนวทางและหลักการเช่นนี้แล้ว เกษตรกรไทยเราน่าจะนำเอาความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับพืชผลไม้ที่ปลูกดู เข้าใจว่าน่าจะได้ผลไม่ต่างกัน เพราะเป็นหลักการอันเดียวกัน เท่าที่ทราบ ก่อนหน้านี้ มีเกษตรกรบ้านเราใช้วิธีโน้มกิ่งผลไม้ที่ปลูกลง โดยใช้เชือกผูกมัดกิ่ง แล้วดึงรั้งลงผูกกับหลักบนพื้นดิน ทำให้ลูกดก ผลใหญ่ขึ้น (แต่ไม่ทราบเหตุผลที่เป็นไป) คลิกเข้าไปดูวิดีโอเรื่องนี้ได้เลยที่

http://www.ntv.cn/v/20151027/156147.shtml

แถมท้าย :

งานวิจัยค้นคว้าของหน่วยงานการเกษตรจีน ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยที่สามารถนำมาปฏิบัติใช้งานได้จริง และนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรได้ประยุกต์ใช้กันอย่างจริงจัง แต่งานวิจัยของไทยนั้นส่วนใหญ่จะเน้นไปในทางวิชาการที่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ในภาคสนาม จึงไม่ใคร่เกิดประโยชน์อันใดกับเกษตรกร

เกษตรกรจีนเป็นคนช่างสังเกต และมีความละเอียดต่ออาชีพที่ทำ ขบคิดวิธีการต่างๆนาๆ เพื่อให้การเพาะปลูกที่ตนกระทำนั้นได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ตัวอย่างที่หยิบยกมาให้เห็นก็คือเรื่องของแสงแดดที่มีอิทธิพลต่อผลไม้

ผลแอปเปิลแดงที่ไม่ใคร่ขึ้นสี สีอ่อนจาง สีไม่เข้ม สีไม่สม่ำเสมอ เกิดจากการได้รับแสงไม่เพียงพอ บางครั้งแดงแค่ครึ่งผล (เพราะได้รับแดดด้านเดียว) เกษตรกรที่ปลูกแอปเปิลจึงนำเอาพลาสติกสะท้อนแสงสีเงินไปปูใต้ต้นแอปเปิล แสงแดดที่สะท้อนกลับขึ้นด้านบนกระทบผลแอปเปิล ทำให้ผลแดงเข้มทั้งผล แต่ทุกวันนี้จีนพัฒนาพันธุ์ให้ต้นแอปเปิลไม่ให้แตกกิ่งก้าน ทำให้ผลติดตามลำต้น ทำให้ผลได้รับแสงทั่วทุกลูกทั้งต้น เพราะไม่มีใบจากกิ่งมาบดบัง (ดูบทความ ของจริง มิใช่ของปลอม ในคอลัมพ์ เกษตรไฮเทค) หรือเข้าไปดูเว็บไซท์ของบริษัทโดยตรงที่

 
 
 

 




เกษตรไฮเทค

นักวิชาการรู้ แต่ยังไม่กล้าบอก
ปลูกข้าวในทะเลทราย โดยใช้เม็ดทรายเก็บกักน้ำไว้ทำนา
กว่าจะเป็นตัวตนของตนเอง ต้องใช้เวลาเดินทางนานร่วม 60 ปี !
เบื้องหลังความสำเร็จรางวัลไวน์เหรียญทองนานาชาติของจีน
เคล็ดลับประหลาดที่ใช้ปลูกข้าวได้ผลดีเหลือเชื่อ
GMO
คาร์บอนไดออกไซด์ทำให้คุณภาพซากสุกรดีขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) อีกแล้ว
จ่าวหลานต้านไป๋ (藻蓝蛋白 / Algal blue protein) article
เอ๊ะ ทำได้อย่างไร ?
并蒂荔枝 (ปิ้งตี้ลี่จือ) คืออะไร ?
คุณเชื่อหรือไม่ ปลูกต้นไม้ในทะเลทราย 10 วินาที ต่อ 1 ต้น อัตราการรอดสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์?
มหันต์ภัยเงียบก่อหายนะกำลังเผยตัวปรากฏให้เห็นแล้วอย่างชัดเจนในผืนแผ่นดินเพาะปลูก
ยาสูบมีโทษต่อร่างกาย ผู้เสพอาจถึงตายได้ แต่ ... นักวิทยาศาสตร์กลับนำมันมารักษาชีวิตคน ! article
ถึงเวลายาเคมีเกษตรต้องยาตราถอยทัพ
ยาเคมีหรือ ถอยให้ห่างไกลไปเลย
สารตัวนี้แหละที่ช่วยเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงในพืช article
จุลินทรีย์ แบซิลลัส ซับทิลิส article
116 肥 ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว ! ไม่ใช้ก็คงไม่ได้แล้ว (เหมือนกัน) article
คุณเข้าใจ และ ตระหนักถึงความสำคัญของ article
อุปกรณ์ที่จะช่วยชาวไร่ข้าวโพดขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น article
ผลลัพธ์ที่ปรากฏให้เห็นโดยไม่ได้ตั้งใจ article
โปรตีนอะไรที่สร้างความต้านทานโรคพืชได้ article
จ้าว หย่งเลี่ยง คนเยี่ยงนี้ยังมีอยู่หรือ ?
ไก่เบตงมาจากไหน ? ไม่ใกล้ไม่ไกล ที่นี่นี้เอง ?
ฟูเซียวเฝิ่นน่า (复硝酚钠)
จากเมล็ดพันธุ์ 3 เมล็ดสุดท้าย สู่อาณาจักร มาคา - ไวอะกร้า ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ article
ผลผลิตรากบัว จาก 4,800 กก. ต่อไร่ เพิ่มเป็น 14,400 กก. ต่อไร่ ทำได้อย่างไร ?
เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว
นี่มันลูกแตงโมนะ ไม่ใช่ลูกโบว์ลิ่ง article
อะไรเอ่ย ทั้งแข็งทั้งอร่อย article
ต้นไม้ที่ผลิตเกลือแกง article
หมูที่เลี้ยง-ขุนด้วยหนอนแมลงวัน คุณกล้ากินไหม ? article
แต้มจุดสีแดงบนใบข้าวเพื่อ .... article
อะไรนะ มีด้วยหรือ ปุ๋ยอากาศน่ะ ! article
หนานอวี้ เบอร์ 1 article
หนุ่มสติเฟื่องเพาะพันธุ์ เหรยินเซินกว่อ article
สวนเกษตรสาธิตไฮเทคระดับประเทศแห่งเมืองเทียนสุ่ย article
ต่าหังเทียนผาย เจ่าสวินฮว๋านลู่ ช่วงเจียกงเอยี๊ยะ ต้ายหนงหมินฝู๋ article
ศักราชใหม่ของเกษตรกรจีน article
ถ้าคุณต้องการเลี้ยงกุ้ง ปูปลา และสัตว์น้ำอื่นๆให้ได้ผลดี article
มะละกออวกาศ article
สัตว์ที่คนไทยเราขยะแขยง ประหวั่นพรั่นพรึง article
เอายอดมะระมาเสียบตอบวบดีอย่างไร ? article
หมาวฮวามี่เหาถาว 毛花猕猴桃 สายพันธุ์ใหม่ วอลเท่อร์ (华特 / Walther) article
สวี ไหว่จง (徐 伟忠) article
กุหลาบ 7 สี หรือ กุหลาบสายรุ้ง 彩虹玫瑰 article
วิธีไหนดีกว่ากัน? article
ไก่เหวินชาง (อีกแล้ว) article
เตาแก๊สเกษตร article
มู่กวา (木瓜) article
เริ่มแล้ว อลังการยิ่งใหญ่ตระการตาน่าชมชื่น article
นี่ก็ใช่เหมือนกัน article
ปลูกข้าวในทะเลทรายโกบี ? article
ปลูกมันฝรั่งในอากาศ article
จินกวา หรือ หนานกวา ? article
ไก่เนื้อที่ขึ้นชื่อลือชาว่ารสชาติอร่อยที่สุดในเกาะไหหลำ article
ไปเทียว ห่ายหนานต่าว (เกาะไหหลำ) article
อยี่ หวงหวาง จิน article
ข้าวไผ่ article
นาโนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ article
เต้าเกอ article
พริก พริก พริก ที่นี่มีแต่พริกทั้งนั้น article
นาซี 778 ขจรขจายทั่วผืนแผ่นดินจีน article
แตงโมอวกาศมาที่รอคอย ถึงเวลาปลูกให้ลิ้มชิมรสแล้ว article
ผลิตภัณฑ์ใหม่ทางการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพในประเทศจีน article
ไข่มุกดำที่มีรสชาติแสนโอชา article
อาหารดัดแปรพันธุกรรมปลอดภัยหรือไม่ ? article
เบิ่งมองการเกษตรประเทศจีน article
สบู่ดำที่เกาะห่ายหนาน article
เอทานอลจากต้นข้าวโพด article
หญ้าที่โตเร็วที่สุดในโลก article
ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ที่กว่างซี article
ตลาดผัก-ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน article
เตาแก๊สแรงดันสูง (เตาฟู่) ที่ประหยัดแก๊สถึง 2 ขั้นตอน article
การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมทำได้อย่างไร ? article
อาร์ติโชค (artichoke) article
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ไข่ไก่ article
เตาแก๊สชีวมวลประสิทธิภาพสูง article
เตาผลิตแก๊สจากไม้ฟืนและเศษเหลือทิ้งจากพืชไร่ article
ขโมยวัวข้าหรือ ? บอกได้เลยว่า ยากซ์........ซ article
แบตเตอรี่เก่า อย่าเพิ่งเปลี่ยน หรือ โยนทิ้งไป article
ซื้อแต่เตา แล้วมีแก๊สใช้ตลอดไป ! article
เครื่องดำนาขนาดเล็ก article
ต้นมะเขือออกผลเป็นไข่ไก่ ? article
เดินทางเยี่ยมเยือน เฉิงตู นครแห่งไม้ดอก article
เว็บไซท์ทางการของจีน article
นิทัศน์การแสดงสินค้า-อุปกรณ์และเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดผลผลิตทางการเกษตรนานาชาติครั้งที่สอง article
เสื้อผ้าที่ถักทอตัดเย็บมาจากไม้ไผ่ article
พันธุ์ถั่วฝักยาวอวกาศ article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน III article
ของจริง มิใช่ของปลอม article
ฟักแฟง 9 ผล ราคาเหยียบ ห้าหมื่นบาท ! article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน II article
ผลไม้เมืองร้อนในมุมมองของคนจีน article
ปลาอะไรเอ่ย มีราคาแพงที่สุดในโลก ? article
ข่าวดี article
ข้าวโพด มันฝรั่ง ที่สร้างภูมิคุ้มโรคได้ article
บอกอำลาควันไฟไปได้เลย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Welcome to Eco-agrotech.com Photo Albums
Google