|
เทคโนโลยี GPIT หนทางกสิกรรมธรรมชาติ ด้วยเกษตรแสงอาทิตย์ 
เมื่ออ่านหัวข้อเนื้อเรื่องที่เห็นนี้แล้ว ทำให้เกิดข้อกังขาขึ้นได้ 2 ประการ ประการแรกก็คือเห็นเป็นเรื่องปกติที่การเพาะปลูกไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณชนิดไหนก็ต้องพึ่งพาอาศัยแสงอาทิตย์ในการเจริญเติบโตดำรงชีวิตเพื่อออกดอกให้ผลผลิตเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องมากล่าวเน้นให้มากความ ใครๆเขาก็รู้กันอยู่ ประการที่สอง. เทคโนโลยี GPIT นั้นคืออะไร ? มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับแสงอาทิตย์และการเพาะปลูก ?
|
จากความสำเร็จอันน่าเหลือเชื่อของผลการทดสอบสาร GPIT ที่นำไปใช้ในไร่ชาของโรงงาน ต้าตู้กั่ง เนื้อที่จำนวน 150 หมู่ (360 ไร่) ในเขตุปกครองตนเองชาวไต ซีซวงป่านน่า มณฑล หยุนหนาน (ยูนนาน) ตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งตั้งแต่ไหนแต่ไรมาในประวัติศาสตร์ของการปลูกชา ไม่เคยปรากฏต้นชาแตกยอดผลิใบอ่อนให้เก็บเกี่ยวได้เลยในฤดูหนาว แต่เหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ใจได้ปรากฏให้ประจักรกับสายตาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งชนิดที่ค้านโต้แย้งไม่ได้เลย ด้วยไร่ชาที่ฉีดพ่นด้วยสาร GPIT ทั้ง 360 ไร่นี้ล้วนแตกยอดผลิใบเขียวขจีหนาแน่นไปทั่วทั้งแปลงในหน้าหนาวที่ปกติต้นชาจะหยุดพักชะงักการเจริญเติบโตในวันเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานตลอดฤดูกาล อะไรที่ทำให้เกิดเป็นไปได้ดั่งนี้ ? ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี่เองที่เป็นตัวอย่างหนึ่งในจำนวนมากมายหลายๆกรณีอันเป็นที่มาของ เกษตรแสงอาทิตย์
|

ข้าวสาลีสายพันธุ์ 906-21ที่คุณเหวิน ต๊ะเจีย ปลูกที่มณฑลจี่หลิน นครฉางชุน
โดยการนำเอาสาร GPIT มาใช้ ผลเก็บเกี่ยวครั้งแรกผลผลิตเพิ่มขึ้น 40 %
เก็บเกี่ยวหนสองเพิ่มขึ้นเป็น 70 % ส่วนการเก็บเกี่ยวหนสองของแปลงที่ไม่ได้ใช้
ผลผลิตเพิ่มแค่ 20 % เท่านั้น
|
อะไรคือ เกษตรแสงอาทิตย์ ?
หัวข้อที่จะหยิบยกมาปาฐกต่อไปนี้ จะเป็นการกล่าวถึงแสงอาทิตย์ในเชิงของพลังงานที่พืชนำไปใช้ขับเคลื่อนทำงานทุกระบบขบวนการภายในต้นพืช ดุจเดียวกับการป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่เครื่องจักร-เครื่องยนต์ให้เดินเครื่องทำงานได้นั่นเอง แต่ทว่ามีความแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจนก็คือ พลังงานแสงแดดที่พืชนำไปใช้นั้นเป็นเชื้อเพลิงที่พืชนำไปใช้ได้โดยตรงทันที ส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฟอสเซิ่น) นั้นเป็นเชื้อเพลิงทางอ้อมที่ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงมาแล้วจากพลังงานแสงแดดเช่นเดียวกัน ชนิดแรกนั้นถูกนำไปใช้ด้วยต้นพืชที่มีชีวิตอยู่ ส่วนชนิดหลังนั้นนำไปใช้ได้กับเครื่องจักรที่ไม่มีชีวิต
|

ในปี 1999 ข้าว ยิว-63 ที่ปลูกเปรียบเทียบทดสอบสรรพคุณของสาร GPIT ที่มณฑล
ซื่อชวน (เสฉวน) นครปานจือฮวา เมืองวานชิว จังหวัดหมี่ยี่ แปลงขวามือที่ใช้สาร GPIT
ไม่มีร่องรอยของโรคและแมลงให้เห็น ส่วนแปลงซ้ายมือที่ไม่ได้ใช้นั้น
แม้จะฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและกำจัดโรคราถึง 4 ครั้งแล้วก็ตาม โรคใบขาว
และโรคบลาส ก็ยับยั้งไว้ไม่อยู่
|
เราทุกคนต่างก็ได้เรียนรู้มาแล้วว่า แสงนั้นมีอิทธิพลต่อการงอกการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตตลอดระยะเวลาที่มันมีชีวิตอยู่ เมล็ดพืชจะไม่สามารถงอกเป็นต้นได้เลยถ้าขาดแสงถึงแม้จะได้รับน้ำ-ความชื้น อุณหภูมิ-ความร้อนครบถ้วนเพียงพอ เนื่องจากแสงมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารกระตุ้นให้เกิดฮอร์โมนที่ช่วยในการเกิดรากและใบจนกระทั่งงอกออกเป็นต้น และเมื่อหยั่งรากยืนต้นได้แล้วก็ยังคงขาดแสงอาทิตย์ไปไม่ได้จนกว่าต้นจะตายไป
|

ครอบครัว ฉาว เจาจวิ้น ในมณฑ, ซินเจียง (ซินเกียง) เมืองอูซู ตำบลถายเซียง
ได้ปลูกฝ้ายสายพันธุ์ ซินลิ่ว-6 เปรียบเทียบกันระหว่างแปลงที่ใช้สาร GPIT
กับแปลงที่ไม่ได้ใช้ ปรากฏว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้ มีเส้นใยยาวแค่ 30.2 มิลลิเมตร
ค่า Horse clone เท่ากับ 5.7 ส่วนแปลงที่ใช้สาร GPIT นี้นั้น
มีเส้นใยยาว 32.4 มิลลิเมตร ค่า Horse clone เท่ากับ 4.5 ผลผลิตเพิ่มขึ้น 50.9 %
มีความทนทานต่ออากาศหนาวเย็นแห้งแล้งได้ดีกว่าอย่างชัดเจน
|
จากการพัฒนาการทางการเกษตรหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ยเคมี ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชทั้งโรคและแมลง ตลอดจนแผ่นวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้คลุมหน้าดินที่เราภูมิใจว่าเป็นก้าวที่รุดหน้ารวดเร็วในการเพิ่มผลผลิตได้มากเป็นที่น่าพอใจ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไป เราจึงได้ตระหนักว่า บรรดาสิ่งเหล่านี้กลับเป็นตัวสร้างปัญหาก่อวิกฤตเลวร้ายตามมาอย่างใหญ่หลวง สารพิษแปดเปื้อนระคนปนไปกับน้ำ เกิดเป็นมลภาวะในแวดล้อมธรรมชาติทั้งในดินและอากาศ ภาวการณ์เหล่านี้ทำให้เราต้องหวนฉุกคิดอีกครั้งหนึ่งว่า เราเดินมาถูกทิศถูกทางแล้วหรือ ? หรือว่าต้องทบทวนหาหนทางใหม่แนวไหนที่เป็นการปกป้องโลกของเราให้อภิรมย์น่าอยู่โดยปราศจากผลกระทบในทางลบที่จะส่งผลย้อนกลับมาหาเราเองในท้ายที่สุด แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็เป็นหนทางที่ช่วยคลี่คลายปัญหาแรงกดดันในการผลิตอาหารการกินให้เพียงพอเทียมทันต่อการเพิ่มของประชากรที่ยับยั้งไม่ได้ จากการใช้ทรัพยากรและต้นทุนลดลงทั้งสองส่วน แต่ให้ผลผลิตเพิ่มมากยิ่งๆขึ้น
|

ดอกดาวเรืองซึ่งปกติจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว แต่เมื่อนำเอาสาร GPIT
มาใช้กับการเพาะปลูก ทำให้ก้านช่อดอกเดี่ยวนั้นกลับกลายเป็นก้านช่อ
ที่เป็นดอกผสม 2 ถึง 3 ดอก มีจำนวนถึง 15.2 % ของทั้งหมด
นั่นเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันถึงศักยภาพในการชักนำเปลี่ยนแปลง
การแสดงออกของ Phenotype ได้อย่างแท้จริง
|
ด้วยการตระหนักถึงสุขภาพอันดีของมนุษยชาติ เกษตรกรทั่วโลกได้สัมผัสกับคมมีดอีกข้างหนึ่งของการพัฒนาการเกษตรด้วยสารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นมาอย่างมากมาย ทำให้ต้องหวนย้อนกลับมามองหาวิถีทางเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อลูกหลานของเราต่อไปในอนาคต ด้วยการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มีประสิทธิผลมากที่สุด ประหยัดมากที่สุด แต่ต้องได้รับผลตอบแทนผลผลิตสูงสุดทั้งในเชิงของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งความมุ่งหวังต้องการดังกล่าวนี้เป็นข้อขัดแย้งที่สวนทางกันอย่างรุนแรงน่าหนักใจและไม่เคยแก้ไขได้เลยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จากการวิจัยศึกษาพบว่าในในขบวนการสังเคราะห์ คาร์โบไฮเดรท ในพืชนั้นต้องอาศัยปัจจัยในการดำเนินการสรรค์สร้างดังต่อไปนี้ แสงแดด 96 % ปุ๋ย (ธาตุอาหาร) 3.6 % และจุลธาตุ 0.4 % ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแสงแดดมีอิทธิพลสูงต่อการเจริญเติบโตของพืชเพียงไร ส่วนปุ๋ยที่เราใส่ป้อนให้กับพืชนั้นสูญเสียไปในดินมากกว่าที่พืชได้นำไปใช้เสียอีก เพราะพืชใช้พลังงานจากแสงแดดไม่เต็มที่ไม่เพียงพอไม่สมดุลต่อการทำงาน เพราะพื้นที่ผิวใบมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น สารสีเขียว-คลอโรฟิลล์ไม่เพียงพอ
|

|
ครอบครัว หลี่ยี่ มีอาชีพปลูกพืชผักที่เมือง เหลียงหวังซาน ได้ปลูกพริกไว้ 2 แปลง แปลงหนึ่งฉีดพ่นด้วยสาร GPIT เพียงแค่ครั้งเดียว อาการของโรคราน้ำค้างก็ชะงักหดหายไป (แปลงด้านหลัง) แต่กับอีกแปลงที่ฉีดพ่นด้วยยาเคมีถึง 4 ครั้งกลับไม่เกิดผลอะไรเลย ต้นพริกล้มตายหมด (แปลงด้านหน้าที่เห็นโล่งๆ)
|
แต่ในขณะนี้ เวลานี้ ด้วยเทคโนโลยี ชักนำพันธุกรรมพันธุ์พืช GPIT (Gene Phenotype Induction Technique) ปัญหาต่างๆที่ดำรงอยู่สามารถคลี่คลายได้อย่างง่ายดายเกือบทุกเปลาะและมีประสิทธิภาพสูงสุด นั่นก็คือการสริมสร้างศักยภาพภายในของต้นพืชให้เต็มที่ถึงขีดสุด เพื่อที่จะได้นำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ขับเคลื่อนขบวนการทำงานภายในของต้นพืช ไม่ว่าจะเป็นการงอก การเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง การสร้างความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมมีผลกระทบจากพื้นดิน น้ำและอากาศ (ดินเป็นกรด – ด่าง ดินเค็ม น้ำท่วมขัง ความแห้งแล้งและอื่นๆ) เป็นการเพิ่มและปรับอัตราเร่งของขบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photo Synthesis) ในพืชให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปนั่นเอง
|

|
ต้นพริกประดับทั้ง 2 กระถางนี้ต่างได้รับเชื้อ ไวรัส ที่ทำให้ใบซีดเหลืองและค่อยๆล่วงหล่นไป แต่กระถางที่ได้รับสาร GPIT นั้นค่อยๆฟื้นสภาพจากใบที่เหลืองซีดกลับคืนเป็นเขียวขจี เป็นการยืนยันถึงประสิทธิภาพในการต้านทานต่อเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี
|
นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์การเกษตรทั่วโลกได้ให้ความสนใจและทุ่มเทเงินทุนในการวิจัยกลไกการทำงานของขบวนการ แสงสังเคราะห์ ในพืชเป็นขนานใหญ่ แต่ก็ไม่มีการพัฒนาเกิดผลคืบหน้าแต่อย่างใด จนเมื่อย่างเข้าศตวรรษที่ 20 ในปี 1987 ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน นักวิทยาศาสตร์การเกษตรในมณฑลหยุนนาน (ยูนนาน) ประเทศจีน ได้ทำการวิจัยและทำการทดลองร่วม 778 ครั้งในทฤษฏีของ แสงสังเคราะห์ อย่างเป็นระบบ ซึ่งต่อมาได้ให้ชื่อว่า เทคโนโลยีควบคุมชักนำพันธุกรรมพันธุ์พืช (Gene Phenotype Induction technology- GPIT) นับเป็นก้าวใหม่ในการค้นพบวิธีการทำให้พืชมีศักยภาพการแสดงออกของลักษณะต่างๆที่ถูกควบคุมด้วยหน่วยของพันธุกรรม (Gene) เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในวงการเกษตรในอนาคตข้างหน้าโดยไม่ต้องสงสัย จากความสัมพันธ์ของการสื่อสารของแสง การแสดงออกของลักษณะ (Phenotype) และศักยภาพของเซลล์ต่างๆ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งด้วยการใช้แสงแดดมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า หนทางที่ว่านั้นก็คือ เกษตรแสงอาทิตย์
|

|
เกษตรกรชาวสวนในมณฑล เหอไป่ เมืองติ้งเจา ใช้สาร GPIT ราดรดโคนต้น Red apricot ญี่ปุ่น ปรากฏว่าเก็บเกี่ยวผลได้เร็วขึ้น 7 วัน ผลผลิตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 100 ถึง 226.7 % ขนาดผลและรสชาติดีกว่าเดิมเป็นอันมาก
|
ในปี ค.ศ.1999 เดือนกันยายน นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจาก 9 ประเทศ ได้เข้ามาศึกษาและยอมรับถึงผลสำเร็จที่น่าทึ่งน่าตื่นใจในผลงานวิจัยชิ้นนี้ พร้อมกันนั้นทางรัฐบาลจีนก็ได้บรรจุผลงานค้นคว้านี้เข้าไปประยุกต์ใช้ในโครงการ “เพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรมการเกษตรแห่งประเทศ” หลังจากได้นำไปทดสอบใช้กับพืชที่ปลูกในที่ราบสูงสุด ณ.นครลาซา มณฑลปกครองตนเองชาวทิเบต จนถึงที่ราบลุ่มต่ำสุดที่ลุ่มแม่น้ำ หยวนเจียง จากพื้นที่เหนือสุดของมณฑล ไฮหลงเจียง เลียบเรื่อยมาถึงมณฑลทางใต้สุดของจีนที่ ไห่หนาน (เกาะไหหลำ) รวม 24 มณฑล ที่มีความแตกต่างกันทางสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์และสภาพอากาศแวดล้อม จำนวนพื้นที่ทั้งหมดสองล้านกว่าไร่ ที่ปลูกพืชพรรณธัญหารหลากหลายสิบชนิด
ปรากฏเห็นผลที่ไม่เคยมีมาก่อนจากในอดีตที่ผ่านมาว่า พืชพรรณต่างๆนับตั้งแต่ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด สัปปะรด ถั่วเหลือง ฝ้าย ผลไม้ ไม้ดอก ป่าไม้ และพืชสมุนไพรต่างๆ ล้วนให้ผลผลิตเพิ่มตั้งแต่ 20 % จนกระทั่ง 200 กว่า % ก็มี พืชที่เพาะปลูกมีความแข็งแรง เติบโตเร็ว ต้านทานโรคและแมลงได้ดี ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและอากาศที่ผันผวนได้เป็นอย่างดี ให้ผลผลิตสูงที่มีคุณภาพ เก็บเกี่ยวได้เร็วก่อนกำหนด เก็บรักษาผลผลิตได้คงทนเป็นเวลายาวนานขึ้น
|

|
ความแตกต่างระหว่างกล้าไม้ผลต้น พีซ ที่เพาะเมล็ดจากการแช่ด้วยสาร GPIT (ฟากฝั่งซ้าย) กับที่ไม่ได้แช่ (ขวามือ) ณ. โรงเรียนเครื่องจักรกลการเกษตรเจี้ยนสุ่ย ที่เมือง หงเหอเจา มณฑล หยินหนาน จะเห็นความแตกต่างของต้นกล้าอย่างชัดเจนว่า ห่างกันเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
|
ผลที่เป็นไปดังนี้นั้น เนื่องจาอัตราการใช้แสงอาทิตย์ได้มากยิ่งขึ้น ทำให้ขบวนการต่างๆของ แสงสังเคราะห์ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 40 จนกระทั่งถึง 405 % (ขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์พืช และความเข้มของแสงอาทิตย์) โดยเฉพาะในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆที่มีความเข้มของรังสีในแสงแดดมากกว่าในพื้นที่ต่ำ ทำให้ร่นเวลาอายุการเพาะปลูกได้นับสิบวัน รวมทั้งให้ผลผลิตเพิ่มไม่น้อยกว่า 20 % กระทั่งถึง 200 % (ที่พบในประเทศไทยเป็นต้น เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรโลกมากว่าประเทศจีน) นอกจากนั้นแล้วต้นพืชยังมีความแข็งแรง โตไว มีความต้านทานต่อโรคและแมลงหลายๆชนิดโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยตัวยาเคมีใดๆเข้าช่วยป้องปราบเลย แม้แต่โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสก็ไม่อาจรุกล้ำก่อให้เกิดอาการของโรคแม้แต่น้อย ดังเช่นโรคใบด่างวงแหวนที่เกิดขึ้นกับมะละกอในประเทศไทยเร็วๆนี้เป็นต้น หรือจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไร่นาในนครคุนหมิง ข้าวที่ถูกลมพายุจัดพัดแรงจนต้นล้มพับจมน้ำไปแล้วนั้น หลังจากใช้สาร GPIT เข้ามากอบกู้สถานการณ์แล้ว ข้าวในไร่นาเหล่านี้ก็ยังคงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 1,488 กิโลกรัม / ไร่ แทนที่จะเสียหายเก็บเกี่ยวไม่ได้เลย หรือในอีกกรณีหนึ่งของการทดสอบก็คือ ปี ค.ศ.1998 ได้มีการนำเอาข้าวโพดไปปลูกในเขตุพื้นที่ราบสูง แชงกริลา (Shangri-La)ที่มีอากาศหนาวเย็นต่ำกว่าศูนย์ 5.4 องศา C และอุณหภูมิของพื้นผิวดินต่ำกว่าศูนย์ 9.5 องศา C ที่ข้าวโพดไม่สามารถงอกได้ แต่หลังจากได้แช่เมล็ดก่อนปลูกแล้ว ข้าวโพดกลับงอกงามได้ผลดี แม้จะจมอยู่ในน้ำเป็นเวลา30 วันเศษ ระยะเวลาปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวก็สั้นลง ให้ผลผลิตได้สูงถึง 1,120 กิโลกรัมต่อไร่ ติดฝัก 2 ฝักต่อต้นเป็นจำนวน 62 % และ 3 ฝักต่อต้น 40 % ความหวานของลำต้นสูงถึง 8 % เลยทีเดียว |

|
เกษตรกรในเมือง สิงถาย มณฑล เหอไป่ ปลูกมะเขือ 2 แปลง แปลงหนึ่งใช้สาร GPIT บำรุงในการเพาะปลูก แต่อีกแปลงไม่ได้ใช้ ปรากฏว่าแปลงที่ใช้สารนั้นมีการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและรวดเร็ว ต่างกับแปลงที่ไม่ได้ใช้ทางด้านซ้ายมือที่มีลักษณะผิดหูผิดตาต่างกันอย่างชัดเจน
|
ในปี 1999 ในเขต กวนตู้ชวี นครคุนหมิง ข้าวสาลีสามสายพันธุ์ที่ปลูกในเขตนี้ต่างได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค ราแป้งอย่างรุนแรง แม้จะได้รับการฉีดพ่นยาโรคราถึง 3 ครั้งแล้วก็ไม่บรรเทาลงได้ แต่หลังจากได้ใช้ สาร GPIT เข้ากอบกู้จัดการแล้วโรคราราหยุดชะงักฉับพลันและยังคงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สมบูรณ์เต็มที่ และในเวลาปีเดียวกันนี้ ชาวนาในเขต ป้าชวี นครคุนหมิงเช่นกันที่ปลูกข้าวสายพันธุ์ เฮ๊อะซี่ 35 ต่างได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค ราสนิม (Rice blast) ทำให้ผลผลิตลดลงต่ำกว่าครึ่ง (480 – 720 กิโลกรัมต่อไร่) แต่ชาวนาในหมู่บ้าน เสี่ยวป่านเฉียวหยังเอ้อจ๋าชุน ที่แช่เมล็ดสายพันธุ์เดียวกันนี้ก่อนปลูก ต่างไม่มีการติดเชื้อแสดงอาการของโรคนี้แม้แต่น้อย ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้อยู่ที่ 1,440 ถึง 1,680 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจากอีกตัวอย่างหนึ่งในการย้ายปลูกต้นไม้ใหญ่ (ไม้ล้อม) ในเมืองคุนหมิง ซึ่งเป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า ต้าฮวาตู้เจวียน ไม่ประสบกับความสำเร็จมากนัก เพราะหลังจากย้ายปลูกแล้วก็ค่อยๆเหี่ยวเฉา ทยอยพากันตายทีละต้นสองต้นจนเหลือรอดอยู่เป็นจำนวนน้อยมาก แต่เมื่อศูนย์วิจัยไม้ดอกตู้เจวียนฮวาในอำเภอ จานอวี๊ ได้นำสาร GPIT มาใช้กับไม้ล้อมชนิดนี้โดยการราดรดโคนต้นก่อนทำการย้ายไปปลูกตามสวนสาธารณะตามแหล่งต่างๆ อาทิ วัด ชวีจิ้งหยวนทงซื่อ สวนสาธารณะ หลงผานกงหยวน จานอวี๊ คอมเพล๊กซ์ และถ้ำ เทียนเซิงต้งสถาน เป็นต้น ปรากฏอัตราการอยู่รอดสูงถึง 98 % ถือเป็นการยุติปรากฏการณ์ ย้ายแล้วตาย ในอดีตโดยสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่การย้ายปลูกไม้ตู้เจวียนฮวาแล้วเหลือรอดเกือบเต็มร้อยนี้เท่านั้น แต่การย้ายปลูกไม้ดอกไม้สวยงามจากป่ามาปลูกประดับในตัวเมืองที่ไม่สามารถกระทำได้เป็นผลสำเร็จตลอดเรื่อยมานั้น แต่หลังจากการใช้สาร GPIT เข้ามาใช้แล้ว การย้ายไม้ในป่ามาปลูกในเมืองก็เป็นเรื่องที่ง่ายไปเสียสิ้น ในกรณีนี้ก็เหมือนกับการนำเอากล้วยไม้ออกจากป่าในจังหวัดจันทบุรีมาปลูกตามหมู่บ้านชายทะเล ดอกที่เคยเห็นก็ไม่เคยแทงช่อมาให้เห็นเลยแม้แต่กอเดียว แต่หลังจากราดรดด้วยสาร GPIT เพียงครั้งเดียว กล้วยไม้ป่าเหล่านี้ก็ชูช่อแทงดอกออกมาให้ชื่นชมกันถ้วนทั่วทุกกระถาง |

|
ครอบครัว หวัง แย่อู่ เกษตรกรปลูกผัก ณ. มณฑล เหอไป่ เมือง ติ้งเจา ตำบล ต้าตู้เหอ ได้ทดลองปลูกผักกาดขาวนอกฤดู โดยใช้สาร GPIT ชุบแช่รากต้นกล้าก่อนย้ายปลูก ปรากฏว่าผลผลิตมากกว่าปกติถึงหมู่ละ 3,996 กิโลกรัม ลดปุ๋ยลง 50 % ลดสารเคมีเกษตรลงถึง 70 % คุณหวังบอกว่า เป็นเรื่องน่าทึ่งจริงๆ |
จากรายละเอียดที่หยิบยกขึ้นมาแจงให้เห็นนี้ พอจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆดังต่อไปนี้
เทคโนโลยี ชักนำพันธุกรรมพันธุ์พืช GPIT (Gene Phenotype Induction Technique) เป็นการวิจัยศึกษาค้นคว้ากลไกการทำงานของขบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photo Synthesis) ในพืช โดยการใช้สมุนไพรจีนจำเพาะหลายๆชนิด ในสัดส่วนที่เหมาะเจาะพอดีที่จะไปออกฤทธิ์กระทำต่อหน่วยพันธุกรรม (Gene) ที่ควบคุมการทำงานและการแสดงลักษณะภายนอก (Phenotype) ชักนำให้มีการทำงานเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิม หรือแม้กระทั่งชักนำยีนที่เก็บพักตัวไปแล้ว (จากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่งอกอยู่บนบกในปัจจุบัน อย่างเช่น รากที่ทนน้ำท่วมขังได้เป็นเวลานานๆเช่น ต้นข้าว หรือผักบุ้ง เป็นต้น) ให้ฟื้นกลับมาทำงานใหม่ พืชที่ใช้สาร GPIT แล้วจะเป็นรากที่ทนต่อน้ำท่วมขังได้นานกว่าที่ไม่ได้ใช้ จึงไม่เสียหายไม่ตายไป และอยู่รอดให้เราได้เก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่สูญเสียเงินทองไปโดยปราศจากผลตอบแทนใดๆเลย
|

|
ต้นปรงกระถางด้านซ้ายมือ หลังจากได้รับสาร GPIT เป็นระยะเวลา 3 เดือนก็แตกใบอ่อนออกมาถึง 2 ฉัตร ส่วนต้นทางขวามือที่ไม่ได้รับสารเลยนั้น ไม่ปรากฏมีใบใหม่ออกมาให้เห็นเลยแม้แต่ใบเดียว นั่นคือความแตกต่างที่ชัดเจน |
จากการกระตุ้นชักนำให้ยีนตื่นตัวทำงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ลักษณะโครงสร้างทั้งหมดของต้นพืชจึงเพิ่มมากขึ้น ใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบรากที่พัฒนาหนาแน่นมากกว่า ชอนไชได้ลึกได้ไกลกว่า จึงดูดซับน้ำและแร่ธาตุอาหารในพื้นดินที่มีระดับลึกลงไปจากเดิมที่รากเดินไปไม่ถึง ทำให้ประหยัดปุ๋ยและทนแล้งได้ดีกว่า เมื่อระบบรากดูดหาอาหารได้เต็มที่ การพัฒนาส่วนเหนือดินจึงเกิดตามมา ไม่ว่าจะเป็นการแตกยอด แตกกิ่งหรือออกใบ ตลอดจนการแทงดอกออกช่อติดผล จะดำเนินไปเต็มที่เต็มพิกัด ด้วยการเพิ่มขึ้นของกิ่ง ใบ (ทั้งจำนวนและขนาด) ที่มีพื้นผิวรับแสงแดดได้มากเป็นเท่าๆตัว ใบเขียวเข้มด้วยสาร คลอโรฟิลล์ ที่ทำงานในการปรุงอาหารส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้เพียง และมีส่วนเหลือเฟือมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการทำงานต่อเนื่องถึงระบบภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงที่เข้มแข็งได้ นั่นก็คือการนำเอาพลังงานจากแสงแดดมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่เต็มกำลัง ผลที่เกิดตามมาก็คือผลผลิตที่เป็นกอบเป็นกำอาจเพิ่มทวีเป็นเท่าตัวเลยก็มี โดยที่สามารถประหยัดได้ทั้งปุ๋ย ยา และแรงงานรวมทั้งเวลาในการเพาะปลูกด้วย ส่วนผลผลิตที่ได้นั้นก็สมบูรณ์มีคุณภาพ ทั้งขนาด สีสัน รสชาติ สารอาหารก็เพิ่มมากกว่าเดิม พืชผลมีความสดคงทนเก็บได้นานกว่าเป็นเท่าตัว
|

|
ข้าวโพดที่ปลูกพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน หลังจากน้ำท่วมขังเป็นเวลา 10 วัน แปลงซ้ายมือที่ไม่ได้ใช้สาร GPIT ซีดเหลืองตายไปเกือบหมด แต่แปลงทางขวามือที่ใช้สารนี้กลับเติบโตให้ผลผลิตดี ไม่เสียหายแม้แต่น้อยนิด |
การทดสอบว่าสาร GPIT นี้ ออกฤทธิ์ชักนำให้ยีนทำงานได้เพิ่มเติมจนลักษณะแปรเปลี่ยนผิดไปจากที่เห็นเป็นอยู่ได้ง่ายๆก็คือ หาซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม หรือที่เรียกกันว่า ถั่วนั่ง (เป็นถั่วฝักยาวสายพันธุ์หนึ่งที่ขึ้นเป็นพุ่ม ไม่ทอดยอด ไม่เลื้อยเป็นเถายาว ไม่ต้องใช้ราวให้ไต่) มาทำการแช่เมล็ด 4 – 6 ชั่วโมงก่อนนำไปปลูก ถั่วพุ่มนี้จะทอดยอดเลื้อยยาวเหมือนถั่วฝักยาวทั่วๆไป และเพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริง ควรทำการปลูกเปรียบเทียบคู่เคียงกันไปด้วย แล้วจะเห็นความจริงที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
|

|
ต้น เปอซิมมอน ที่ปลูกในเมือง หลินชาง มณฑล หยินหนาน ต้นหนึ่ง (ซ้ายมือ) ราดรดด้วยสาร GPIT อีกต้นหนึ่ง (ขวามือ) ไม่ได้ราด ปรากฏว่าต้นที่ได้รับสาร GPIT นั้น สามารถคงใบให้ติดทนอยู่กับต้นเป็นเวลานานกว่า 50 วัน จึงสังเคราะหอาหารผลิตผลได้มากกว่าใหญ่กว่า ส่วนอีกต้นนั้นใบร่วงโกร๋นไปก่อนหน้านั้นนานแล้ว
|

|
พื้นที่ชายฝั่งซานตง เป็นสภาพดินเค็มที่มีเกลือสูงถึง 5 % ค่า พีเอช 8.3 เมื่อปลูกข้าวโพดเปรียบเทียบระหว่างการใช้สารGPIT กับไม่ใช้ ปรากฏว่าส่วนที่ใช้อัตรางอก 80% เจริญเติบโตได้ดี ส่วนที่ไม่ได้ใช้ อัตรางอกเพียง20% เมื่อความสูงได้สิบกว่า ซม. ก็ล้มตายหมด มีหญ้าทนเค็มงอกขึ้นมาแทนที่ดังที่เห็น
|
เมื่อพิเคราะห์ดูจากบทความที่สาธยายมาทั้งหมดนี้แล้ว บางท่านอาจจะพิศวงงงงันมากยิ่งขึ้นไปอีกว่า สารสมุนไพรอะไรจะวิเศษถึงปานนั้น แต่สามารถกล่าวยืนยันได้ด้วยหลักฐานที่มีอยู่จริงและเป็นจริงเต็ม100 %และกล้าอาจหาญกล่าวได้ว่า เทคโนโลยี ชักนำพันธุกรรมพันธุ์พืช GPIT ที่ว่านี้จะมีบทบาทต่อวงการเกษตรโลกอย่างเอกอุต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อเกษตรกรได้เห็นสรรพคุณและประสิทธิภาพของสารนี้กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ นับเป็นการเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติ นำธรรมชาติมาใช้สอยอย่างสมดุลโดยไม่ทำความเสียหายให้กับโลกใบนี้อีกต่อไป ถือเป็นเกษตรวิถีทางธรรมชาติที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง
|

คณะนักเรียนจากโรงเรียนฝึกอบรมสมาชิกพรรคฯ ได้เข้าศึกษาเยี่ยมชมผล
การวิจัยทดสอบสาร GPIT ที่ใช้เปรียบเทียบกับข้าวที่ปลูกในเขต หวานตู้ชวี
ทั้ง 3 สายพันธุ์ เกิดการระบาดของโรคราแป้ง สังเกตเห็นได้ชัดว่า
รวงข้าวแปลงซ้ายมือเปลี่ยนสีไปแล้วทั้งแปลง แม้จะพ่นยาเคมีถึง 3 หนก็ตาม
แต่แปลงขวามือทีนำสาร GPIT มาใช้เพาะปลูกนั้นกลับไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด
แม้จะอยู่ใกล้ชิดติดกันก็ตาม
|
หมายเหตุ :
สาร GPIT ที่ผลิตจำหน่ายในประเทศไทย ขึ้นทะเบียนสินค้าอยู่ 2 ชื่อ คือ นาซี 778 และ เพาเวอร์-เอส ในรูปของสารละลาย โดยมีสารสมุนไพรเป็นตัวออกฤทธิ์ มีน้ำนาโนแอ๊คติเวทเต็ด (Nano Activated Water) เป็นตัวทำละลายที่มีประสิทธิภาพในการนำพาเอาสารออกฤทธิ์เข้าสู่ภายในต้นพืชได้สูงและรวดเร็ว สาร GPIT ผลิตออกจำหน่ายเพียงสูตรเดียวในประเทศไทย แตกต่างจากที่วางจำหน่ายในประเทศจีน ซึ่งมีอยู่หลายสูตร เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนที่มีอากาศร้อนตลอดเกือบทั้งปี ไม่มีฤดูกาลที่แตกต่างกันถึง 4 ฤดูอย่างประเทศจีน เพราะสาร GPIT นี้ออกฤทธิ์ผันแปรไปตามอุณหภูมิและความเข้มข้นของสาร เมืองไทยจึงมีวิธีการใช้ที่สะดวกง่ายดายกว่ากันมาก
|

|

|
ในปี 1999 ได้มีการนำเอาข้าวโพดที่ผ่านการแช่เมล็ดด้วยสาร GPIT ไปปลูก ณ. ที่ราบสูง ลาซา
เหนือระดับน้ำทะเล 3,658 เมตร ปรากฏว่ามีลำต้นอวบ สูงใหญ่ ติดฝักสมบูรณ์ตั้งแต่ 3 ถึง 5 ฝัก
บางต้นมีฝักถึงมากถึง 8 ฝัก ฝักใหญ่ยาวถึง 65 ซม. ลอกเปลือกออกแล้ววัดได้ 43 ซม.
|

|
การทดสอบความต้านทานต่อโรคราในต้นใบยาสูบที่จัดทำขึ้นที่ มหาวิยาลัยเกษตร คุนหมิง ปรากฏว่าต้นกล้าที่เพาะในถาดเพาะทางขวามือ ที่ใช้สาร GPIT กระตุ้นการทำงานของยีน เติบโตแข็งแรง ไม่ปรากฏโรคแม้แต่น้อยนิด ส่วนทางซ้ายมือนั้นเสียหายเกือบทั้งหมดจากเชื้อราที่ใช้ทดสอบ
|

|
รวงข้าวสาลีที่ใช้สาร GPIT มีความทนทานต่ออากาศที่หนาวเย็นได้เป็นอย่างดี แม้จะถูกเกล็ดหิมะจับเกาะเป็นเวลานานก็หาได้แข็งสุกเสียหายด้วยความหนาวเหน็บแต่อย่างใดไม่ |

ผลการทดสอบสาร GPIT กับข้าวสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว
(ซ้ายมือ) ให้ผลผลิตสูงมาก รวงที่สมบูรณ์นั้นให้เมล็ดข้าวถึง 660 เมล็ด
เก็บเกี่ยวได้ก่อนแปลงทางขวามือที่ปลูกเปรียบเทียบกันเป็นเวลาถึง 40 วัน
ทั้งๆที่ปลูกก่อนแปลงซ้ายมือถึง 7 วันก็ตาม
|

|
สาร GPIT มีผลที่เด่นชัดอย่างยิ่งในการสร้างภูมิต้านทานให้เกิดขึ้นในพืชพรรณเกือบทุกชนิด มีผลเด่นเหนือกว่าการใช้สารเคมีหลายๆชนิด แปลงข้าวที่เห็นทางขวามือนั้นติดโรคราสนิม (Rice blast) ที่มีผลกระทบต่อผลผลิตหนักหนาสาหัส ส่วนแปลงซ้ายมือที่ติดกันนั้นกลับไม่มีอาการของโรคแต่อย่างใด
|

|
เกษตรกรในอำเภอ หลานเถียน มณฑล ส่านซี นำสาร GPIT มาใช้ในแปลงปลูกข้าวโพดโดยไม่ใช้ปุ๋ยเลยตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยว แต่ก็ให้ผลผลิตสูงถึง 2,352 กิโลกรัม / ไร่ เลยทีเดียว
|

|
เกษตรกร แซ่หลี่ 2 ครอบครัว หลี่ เจียปอ และ หลี่ปังชู มณฑลซานซี ได้นำสาร GPIT มาใช้ในไร่ข้าวโพด ปรากฏว่าติดฝัก 2 ฝักขึ้นไป และที่ติดฝัก 3 ฟักมีจำนวนถึง 60 % ติดฝักสูงสุดถึง 7 ฝักที่เป็นฝักสมบูรณ์ถึง 6 ฝัก ผลผลิตเพิ่ม 40 %
|

|
กล้วยหอมที่ปลูกในอำเภอเชียงดาว ใช้สาร GPIT ราดโคนต้น 2 ครั้ง ปรากฏว่าตกเครือที่ยาวมาก ลำต้นทานรับน้ำหนักไม่ไหวจนต้องตัดทิ้งไปครึ่งหนึ่ง ผลกล้วยในแต่ละหวีดกมาก มีตั้งแต่หวีละ 25 ผล จนกระทั่ง 35 ผล ผิวสีเหลืองสวย ไม่ด่างดำแม้จะช้ำ ผลติดทนแน่นทนนานแม้นว่าผลจะสุกงอมก็ตาม รสดีมากๆ กลิ่นหอมกว่ากล้วยหอมทั่วๆไป ได้เปรียบในด้านการขนส่งทางไกลเป็นอย่างดี
|

ได้มีการนำเอาสาร GPIT มาทดสอบใช้กับต้นกล้าพันธุ์ไม้หลายๆชนิด
ทำให้ต้นกล้าเติบโตเร็วกว่าเท่าตัว ต้นกล้า แข็งแรง อัตราการรอดเมื่อนำลงแปลงปลูก
สูงถึง 98 % อัตราสูญเสียหายต่ำมาก ทำให้ประหยัดทั้งเงินทอง
แรงงานและเวลาเลยทีเดียว ต้นกล้า ยูคาลิปตัส ฝั่งซ้ายมือนั้นเปลี่ยนแปลงผิดไป
จากฝั่งขวามืออย่างชัดเจน หลังฉีดพ่น สาร ให้ทางใบเพียง 7 วันเท่านั้น
|
|
ข่าวสาร - สาระน่ารู้
|