
ศาสตราจารย์ Na Zhong Yuan

สถาบันวิจัยเกษตรนิเวศน์วิทยา
แห่งนครคุนหมิง
มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
|
พืชที่ผ่านขบวนการกระทำ (Treat) ด้วยสารชักนำพันธุกรรม GPIT แล้ว จะมีลักษณะภายนอกแตกต่างไปจากเดิมที่เคยเป็นอยู่ มีอัตราการงอกสูง เจริญเติบโตได้เร็วกว่าเกณฑ์ปกติ มีปริมาณใบมาก ตัวใบมีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัว หนาแน่นและเขียวเข้มเป็นมันวาว แตกกิ่งแตกก้านมากมาย ระบบรากหนาแน่นยาวลึก จึ่งสามารถดูดซับเอาน้ำและแร่ธาตุที่อยู่ในระดับลึกกว่ามาใช้งานได้ ขบวนการแสงสังเคราะห์เพิ่มขึ้น 50-400 กว่า เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 20 % จนกระทั่ง 300 เปอร์เซ็นต์ก็มี คุณภาพผลผลิตดีขึ้นทั้งขนาดและน้ำหนัก ตลอดจนสีและกลิ่นรส รวมทั้งโภชนะสารก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ต้นพืชมีภูมิต้านทานต่อต่อโรคและ แมลงได้ดียิ่งขึ้น มีความทนทานต่อสภาพของอากาศหนาวเย็น น้ำท่วมขัง ความแห้งแล้ง ความเป็นกรดด่างของดิน ฝนกรด ต้านอ๊อกซิเดชั่นได้เป็นอย่างดี เป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตยกระดับคุณภาพของพืชผลทั้งปริมาณและคุณภาพได้ในคราเดียวกันโดยมิต้องอาศัยการตัดต่อถ่ายโอนสารพันธุกรรม(ยีน)ใดๆทั้งสิ้น ลดการใช้พื้นที่การผลิตลง เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยได้อย่างน่าพอใจ ลดการใช้สารเคมีลงได้เป็นจำนวนมาก ลดมลพิษแปดเปื้อนต่อสภาพแวดล้อมได้อีกหนทางหนึ่งที่มีนัยสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง
โรค Powdery mildew. โรค Rust. และโรค Blast ในข้าวที่สารเคมีต่างๆไม่สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่สารชักนำพันธุกรรม GPIT สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดและทำลายล้างได้อย่างชงัด แม้ว่าระยะหลังจะได้มีการนำสาร Potassium dichromate มาใช้ได้ผลก็ตาม แม้มีพิษตกค้างต่ำแต่ก็ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เนื่องจากเป็น Ion ของโลหะหนัก แต่สาร GPIT เป็นสารสมุนไพรที่ไม่มีส่วนของโลหะใดๆทั้งสิ้น ไว้วางใจได้ในความปลอดภัย
|