เกษตรกร ตลอดจนผู้คนที่อยู่ในแวดวงการเพาะปลูก ทำนา ทำสวนทำไร่ ต่างก็พากันสงสัยในวลีที่ว่า เกษตรแสงอาทิตย์ และงุนงงเป็นอย่างยิ่งที่ได้ยินคำกล่าวว่า พืชที่ปลูกเอาไว้นั้น ได้รับพลังงานยังไม่เพียงพอ จึงทำให้เติบโตช้า โตไม่เต็มที่ ต้นไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงก่อเกิดในระดับต่ำ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไม่ได้ดี เพราะต่างเข้าใจว่าพืชที่ปลูกนั้น หยั่งรากยืนต้นอยู่ท่ามกลางแสงแดดตลอดทั้งวัน แล้วยังได้รับพลังงาน (แสงแดด) ไม่เพียงพออีกหรือ ? ซึ่งถ้าตอบตามทฤษฏีใหม่ที่เพิ่งค้นพบทาง ฟิสิกส์ - ชีวเคมีแล้ว ตอบได้เลยว่ายังไม่เพียงพอต่อศักยภาพของต้นพืชที่มีอยู่ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การสร้างภูมิต้านทานโรค – แมลง การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงแปรปรวนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้ ผลผลิตสูงสุด ด้วย คุณภาพที่ดีเลิศ อีกด้วย
พืชพรรณ ธัญหารที่เราปลูกเพื่อนำมาใช้บริโภคเป็นอาหาร หรือใช้งานด้านอื่นๆอยู่ทุกวันนี้ ยังไม่ได้ให้ผลผลิตสูงสุด ด้วยคุณภาพที่ดีที่สุดดังที่เราเห็นหรือเข้าใจกัน แม้จะมีการจัดการ ทำนุบำรุงดูแลรักษาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม เช่น การปลูกในโรงเรือน การใส่ปุ๋ย (เหลือเฟือจนเป็นการสิ้นเปลือง) ให้น้ำ ใช้ฮอร์โมนเร่ง เพิ่มเติมแร่ธาตุ - เสริมอาหารปลีกย่อยอีกสารพัดอย่าง ฉีดพ่นเคมีเกษตรกันเป็นว่าเล่น (ถือเป็นกิจการงานที่ต้องทำ มิฉะนั้นแล้วพืชผลก็จะดูแลไม่สวยงาม หรืออาจจะไม่ได้เก็บเกี่ยวเลยก็เป็นได้) ล้วนแต่เป็นการใช้ทรัพยากรไปโดยสิ้นเปลือง ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ซ้ำก่อมลภาวะให้แก่สภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากการสูดดมสารพิษขณะฉีดพ่นยาของเกษตรผู้ทำการเพาะปลูก จากการกลืนกินเอาสารพิษตกค้างในผลผลิตของผู้บริโภค ก่อเกิดความสูญเสียซ้ำสองอันแสนสาหัสที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากผืนฟ้า แผ่นดิน ท้องน้ำต้องแปดเปื้อนไปกับสารเคมีจำนวนมหาศาลที่เราผลิตขึ้นมาใช้มากยิ่งขึ้นทุกวี่วันโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงไปได้
|
.gif)
คุณปู พละพลึง กับต้นส้มที่ละเว้นไว้ ไม่ได้ใช้
นาซี 778
|
.gif)
ต้นส้มโชกุนสอง – สามต้น ที่ละเว้นไว้ไม่ใช้
นาซี 778 เพื่อเป็นต้นเปรียบเทียบระหว่างต้นที่ใช้
นาซี 778 เกือบทั้งหมด สังเกตได้ว่าใบค่อน
ข้างน้อย พุ่มใบโล่งโปร่ง ลำต้นผอมเล็ก
ไม่สมบูรณ์
|

ต้นส้มที่ใช้ นาซี 778 แตกกิ่งออกใบหนาแน่น
สีเขียวเข้ม ลำต้นเริ่มขยายใหญ่ เริ่มผลิดอกออกผล
ให้เก็บกินได้บ้างแล้ว (โปรดสังเกตต้นยางพารามุม
ขวาบนที่เพิ่งปลูกทดแทน)
|

คุณปู พละพลึง กับต้นส้มที่ใช้ นาซี 778 ให้สังเกต
ปริมาณของใบ ขนาดและสีใบ (โปรดเข้าใจ
ด้วยว่ามิได้เลือกถ่ายเอาแต่ต้นที่สวยงาม
มาให้ดู ทุกต้นที่ใช้นาซี 778 ล้วนเจริญเติบโต
ดูดีทั้งสิ้น)
|
การเพาะปลูกเพื่อผลิตอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษยชาติทุกหมู่เหล่าทั่วโลก ซึ่งต้องทำการผลิตให้ได้เพียงพอเทียมทันต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นทุกทีๆ ความจำเป็นเช่นนี้ทำให้เราต้องประสบกับปัญหาที่แก้ไม่ตก นั่นก็คือปัญหาของพื้นที่เพาะปลูกที่หดน้อยลงไปเรื่อยๆจากการถูกเบียดแย่งชิงนำเอาไปใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเป็นที่พักที่อยู่อาศัย ปัญหาหลักที่หนักหน่วงยากต่อการแก้ไขก็คือ เรื่องของโรค และแมลงที่สร้างความเสียหายให้แก่พืชผลที่เราปลูก รวมทั้งสภาพของภูมิอากาศที่มีความแปรปรวนมากขึ้นจากน้ำมือการกระทำของเราเอง ดังเช่นปัญหาช่องโหว่ของชั้นบรรยากาศ และปัญหาอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น (ที่เรียกกันว่าโลกร้อน) ล้วนแต่มีผลต่อผลผลิตในการเพาะปลูกทั้งสิ้น แต่ถึงอย่างไรเราก็ไม่สามารถหยุดยั้งกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ได้ เพราะเรายังต้องกินต้องดื่มกันอยู่ ดังนั้นจึงต้องขบคิดหาหนทางใช้พื้นที่เพาะปลูกให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการดูแลจัดการให้พืชที่ปลูกนั้นให้ผลผลิตสูงที่สุด จากการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดด้วย หนทางเดียวที่จะบรรลุถึงความเป็นไปได้ก็คือเทคโนโลยี ชักนำพันธุกรรมพืช ที่ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน ได้ทำการวิจัยจากการศึกษาคุณสมบัติของสมุนไพรหลากหลายชนิดที่ใช้เข้าเป็นยาจีน และนำมาผสมปรุงเข้าด้วยกันในสัดส่วนจำเพาะจนได้ส่วนผสมที่ลงตัวประกอบเป็นสูตรที่แสนมหัศจรรย์ที่สามารถชักนำการทำงานของหน่วยพันธุกรรม (ยีน) ในต้นพืชได้ โดยสารที่เป็นส่วนประกอบนั้นจะเข้าไปกระตุ้น เร่งเร้าการทำงานของยีนในทุกกระบวนการทางชีวเคมี ซึ่งมีผลต่อการแสดงออกทางลักษณะภายนอกทั้งหมด (Phenotype) จากหน่วยควบคุมลักษณะภายใน (Genotype) ที่มีอยู่ภายในต้นพืชแต่ละชนิดแต่ละสายพันธุ์ โดยจะส่งผลให้กระบวนการชีวเคมีภายในมีความเข้มข้นมากขึ้น มีอัตราเร่งเร็วขึ้น จนกระทั่งกระบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photosynthesis) เพิ่มได้สูงสุดถึง 405 % (จากการทดลองและตรวจวัดพบในพืชตระกูลแตงร้าน – แตงกวา) |

ใบที่มีปริมาณมากขึ้น ใหญ่ขึ้น สีเขียวเข้มโดยไม่ต้องใช้แร่ธาตุ
- อาหารเสริม ยาเคมีเกษตรใดๆทั้งสิ้น ปราศจากร่องรอยของโรค
ไร้การทำลายจากแมลง
|
แก่นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ต้นพืชเติบโตได้ไว ให้ผลผลิตได้เร็ว พร้อมทั้งให้ผลผลิตสูงสุดด้วยคุณภาพที่ดีเลิศ รวมทั้งความต้านทานต่อโรค – แมลง และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาลนั้นก็คือ กระบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photosynthesis) เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวเป็นหัวใจในการปรุงแต่งอาหารส่งไปเลี้ยงบำรุงทุกส่วนของต้นพืช เพื่อทำให้กระบวนการอื่นๆทั้งหมดสามารถดำเนินไปได้เต็มที่โดยไม่มีการสะดุด ถ้าเป็นไปได้ดังนี้แล้ว ศักยภาพ - ขีดความสามารถของต้นพืชนั้นก็จะแสดงออกถึงขีดขั้นสูงสุดที่มันมีอยู่ ดังนั้นถ้าหากทำการเพาะปลูกเพื่อให้พืชพรรณโตวันโตคืน มีความต้านทานต่อโรค – แมลง ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ให้ผลผลิตสูงสุด มีคุณภาพที่ดีที่สุด จากการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ลดต้นทุนการผลิตให้ได้ต่ำสุด เราจักต้องทำให้ต้นพืชสามารถใช้แสงแดดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพื่อทำให้กระบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photosynthesis) ดำเนินไปด้วยอัตราเร่งเพิ่มขึ้น มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะไปชักนำกระบวนการชีวเคมีอื่นๆดำเนินไปอย่างเต็มที่เต็มรูปแบบ ต้นพืชก็จะให้ผลผลิตเต็มที่สมตามความต้องที่ตั้งหวังเอาไว้ แต่ทว่า ....
วิธีการที่จะทำให้ต้นพืชใช้แสงแดดได้ดีมีประสิทธิภาพสูงยิ่งๆขึ้นนั้นมิใช่เรื่องที่กระทำกันได้ง่ายๆ อเมริกาและประเทศยุโรปได้ทุ่มเทวิจัยศึกษาเรื่องนี้ด้วยเงินทุนจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่มีรายงานความก้าวหน้าแต่อย่างใด แม้แต่ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน ก็ยังต้องเสียสละทุ่มเทเวลานานร่วม 14 ปี จึงจะประสบพบกับความสำเร็จ และความสำเร็จนี้ยังเป็นแนวทางธรรมชาติที่ยากจะเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ เพราะไม่ได้ใช้อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ สารเคมีแม้แต่น้อยนิด แต่เกิดผลที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะคาดคิดเสียอีก
นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการผู้ใดจะเชื่อบ้างว่า สารสมุนไพรจะสามารถกระตุ้น ชักนำการทำงานถึงในระดับยีนได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ซับซ้อน หรือสารเคมีใดๆเลย หากแต่ใช้วิธีการง่ายๆที่เกษตรกรเคยคุ้นเคยกระทำกันมาอย่างจำเจ นั่นก็คือ การแช่เมล็ดพันธุ์ การฉีดพ่นทางใบ หรือ การราดลงลงดินให้ทางราก เท่านั้น ก็ทำให้ต้นพืชมีลักษณะผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมได้ แต่อย่าได้เข้าใจผิดว่าเป็นวิทยาการตัดต่อยีน ดัดแปรพันธุกรรม เพราะวิชาการสาขานี้ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่สลับซับซ้อนยุ่งยากกว่านี้มาก
|

เปรียบเทียบลักษณะของใบส้มโชกุนที่ได้ใช้
นาซี 778 (ซ้าย) กับที่ไม่ได้ใช้ (ขวา) แตกต่างกัน
ทั้งขนาดและสีสัน ใบที่เขียวเข้มย่อมมีศักยภาพ
ในการรับเอาแสงแดดมาปรุงอาหารได้มากกกว่า
และมีอัตราเร็วกว่า
|

เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของการ
แทงยอดแตกใบอ่อนของต้นส้มที่ได้รับสาร
นาซี 778 (บน) กับที่ไม่ได้รับ (ล่าง) แตกต่างกัน
ลิบลับเลยทีเดียว
|
ก่อนที่จะเพิ่มขีดความสามารถการใช้แสงแดดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นของต้นพืชนั้น เราจักต้องทำให้องคาพยพทุกส่วนของต้นพืชนั้นมีปริมาณสัดส่วนที่สมดุลเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือต้องมีระบบรากที่หนาแน่นมากขึ้น ชอนไชได้ไกลและลึกกว่าเดิม มีกิ่งก้านสาขามากกว่าเดิม มีพื้นที่ผิวใบมากกว่าปกติ นั่นหมายความว่าต้องมีจำนวนใบมากขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น ประการสำคัญก็คือ ปริมาณของสารสีเขียว ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) จะต้องมีปริมาณเพิ่มมากพอที่จะรับเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสะสมไว้เพื่อใช้ในการแปรรูปวัตถุดิบที่ถูกส่งลำเลียงมาจาก ราก (แร่ธาตุอาหาร น้ำ) และคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งมาจากใบที่ดูดซับมาจากอากาศเบื้องบนเหนือพื้นดิน จากนั้นอาหารที่ถูกปรุงเข้าด้วยกันนั้นจะถูกส่งลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของลำต้น เพื่อดำเนินกิจกรรมทางชีวเคมีทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการเจริญเติบโต ระบบปกป้องกันภัยตัวเอง การให้ผลผลิตที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารที่ครบครัน นั่นหมายถึงคุณภาพที่ดีที่สุดที่ต้นพืชผลิดอกออกผลให้แก่เรา ซึ่งวิธีการเก่าๆแบบอย่างเดิมๆที่เราใช้กันนั้น (การเขตุกรรม ปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ย ใช้ฮอร์โมน เติมสารเสริม และการปรับปรุงพันธุ์พืช ฯลฯ) ก็ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปได้ รังแต่เป็นการสูญเสียเพิ่มขึ้น เพราะทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนแต่เป็นปัจจัยภายนอกทั้งสิ้น ยกเว้นการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้นที่เป็นปัจจัยส่วนเดียวที่เรากระทำกันอยู่ แต่ก็ไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุด เพราะยังมีข้อจำกัดที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรนัก (เช่นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ไฮบริด ที่ต้องซื้อใหม่ทุกครั้งที่ทำการเพาะปลูก) แต่ผลประโยชน์ตกไปอยู่กับผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์
หลังจากที่เราสามารถคลี่คลายปริศนา ค่อยๆเข้าถึงความลับของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งพืชพรรณทั้งหลายได้ดีพอจนเราสามารถสังเคราะห์อาหารเข้มข้นสำหรับให้แก่พืช นั่นก็คือ ปุ๋ย เคมีที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งก็ทำให้เพิ่มผลผลิตได้ในระดับหนึ่งที่น่าพอใจ แต่การใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ สารเคมีอันเป็นส่วนประกอบที่ตกค้างในดินมากเกินไป ทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินเสื่อมทรามจนกระทั่งจุลินทรีย์ในดินไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ซึ่งรวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืชในรูปแบบของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน (Symbiosis) สูญสิ้นไปจากพื้นดิน นั่นก็คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันตัวเองอ่อนแอลงไปด้วย เพราะขาดสารที่สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์อันเป็นสาเหตุของโรคได้ เช่นสารเพนนิซิลลิน (Penicillin) จากเชื้อรา เพนนิซิเลียม (Penicillium notatum) เป็นต้น
ต้องเข้าใจว่า พืชที่สามารถสืบสายพันธุ์ดำรงชีพอยู่บนบกทุกวันนี้นั้น ล้วนแต่มีต้นกำเนิดจากแหล่งน้ำทั้งสิ้น หลังจากที่ค่อยๆวิวัฒนาการจนเป็นพืชบกไปแล้ว ระบบต่างๆที่เคยใช้อาศัยอยู่ในน้ำค่อยๆลดบทบาทลงจนกระทั่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้ต้องทำงานอีกต่อไป เช่นระบบรากที่ดูดซับออกซิเจนในน้ำได้ก็เก็บพักตัวไป แต่ยีนเหล่านี้ไม่ได้มลายสูญหายไปไหน หากแต่เก็บตัวสงบนิ่งไม่กระตือรือร้น (Active) ไม่ทำงานอีกต่อไป นั่นก็คือสาเหตุที่ทำให้ต้นพืชไม่มีความคงทนต่อน้ำท่วมขังอีกต่อไป เมื่ออยู่ในสภาพน้ำท่วมขังระยะสั้นๆก็เฉาตายไป
|

ใช้ นาซี 778
|

ไม่ได้ใช้ นาซี 778
|
ภาพเปรียบเทียบการแตกยอดใหม่ ใบอ่อน ระหว่างต้นที่ใช้ นาซี 778 (ภาพขวา)กับที่ไม่ได้ใช้ (ภาพซ้าย) แตกต่างผิดกันทั้งความหนาแน่น ขนาด และสีสัน
|
พืชที่ได้รับสาร นาซี 778 ยีนที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นยีนที่ตื่นตัวทำงานตามปกติ หรือยีนที่เก็บพักตัวไม่ทำงานแล้วก็ตาม จะถูกกระตุ้น เร่งเร้า ชักนำให้ตื่นตัวทำงานเพิ่มมากขึ้นทั้งอัตราเร่งและความเข้มข้น หรือถูกปลุกกระตุ้นให้ตื่นฟื้นขึ้นมาทำงานอีกคำรบหนึ่ง จึงทำให้เราพบเห็นต้นพืชมีลักษณะภายนอก (Phenotype) ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม เช่นต้นสูงใหญ่ขึ้น ข้อสั้นลง แตกติ่งก้านมากกว่าเก่าจนเป็นไม้พุ่มไปก็มี และที่เปลี่ยนแปลงไปคนละรูปทรงเลยก็มีให้เห็นดังเช่นต้นถั่วเหลืองที่กลายเป็นไม้เลื้อยไป แทนที่จะเป็นต้นเดี่ยวโดดๆ หรือการปรากฏของหนามแหลมตามต้นตามกิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากได้รับสารไปแล้วระยะหนึ่งของต้นส้มโชกุน ซึ่งแต่เดิมไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อนเลยเป็นต้น ตัวอย่างดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจริง ในผืนดินถิ่นไทยเรานี้เอง
จากทัศนะคติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายทศวรรษ ที่เข้าใจว่าการทำให้พืชที่ปลูกมีการเจริญเติบโตได้เร็ว ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นก็คือการอัดปุ๋ยลงในดินให้แก่พืชที่ปลูกมากขึ้นและมากขึ้น แต่หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการทำให้พืชเหล่านั้นค่อยๆอ่อนแอลง เนื่องจากความไม่สมดุลทางแร่ธาตุสารอาหาร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือการใส่ปุ๋ยยูเรียมากจนเหลือเฟือ จนทำให้ลำต้น กิ่งก้านเปราะ ฉีกขาดง่าย และอ่อนไหวต่อการรับเชื้อโรคและการทำลายของแมลง
ดังนั้น หนทางที่ดีที่สุดในการเพาะปลูก เพื่อหวังผลเลิศของผลลัทธ์ที่จะได้รับจากพืชพรรณที่ปลูกก็คือ การนำเอาเทคโนโลยี ชักนำพันธุกรรมพันธุ์พืช (Gene Phenotype Induction technique เขียนย่อเป็น GPIT) มาปรับเปลี่ยนใช้แทนวิธีการเก่าๆดั้งเดิม ซึ่งจะทำให้เราประหยัดทรัพยากรได้อย่างมหาศาล แต่ให้ผลผลิตที่มากกว่าเป็นเท่าทวีคูณ ด้วยคุณภาพที่เหนือกว่าเดิมทุกมิติ
|
.gif)
|

ความมหัศจรรย์ที่ผลิตภัณฑ์อื่นทำไม่ได้ ต้นส้มบางต้นขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้
ไม่เคยปรากฏว่ามีหนามแหลมตามกิ่งตามต้นเกิดขึ้น แต่ภายหลังจากได้รับสาร นาซี 778
แล้วระยะหนึ่งก็ปรากฏว่ามีหนามแหลมเกิดขึ้นปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์อันนี้ชี้ให้เห็นชัดเจน
ว่าระบบสร้างภูมิคุ้มครองตัวเองได้กลับมาทำงานใหม่ จากยีนที่แฝงอยู่
แต่ไม่ได้ทำงาน โดยเปลี่ยนลักษณะจากใบมาเป็นหนามแหลม เพื่อป้องกันตัวเอง
เป็นผลจากการที่ยีนถูกกระตุ้น ชักนำให้ฟื้นขึ้นมาทำงานใหม่โดยแท้จริง
|
จากผลงานที่รวบรวมมาจากบรรดาเกษตรกรทั่วประเทศเป็นเวลากว่า 5 ปี ที่ได้นำเอา นาซี 778 ไปใช้กับพืชพรรณนานาชนิดด้วยข้อกังขาและข้องใจเป็นหนักหนาว่าจะเป็นไปได้อย่างไรจากพืชสมุนไพรล้วนๆที่ไม่มีสารเคมีใดๆเจือปนอยู่เลย ซึ่งพิสูจน์และยืนยันได้ว่า สารนาซี 778 นั้นสัมฤทธิ์ผลดังคำป่าวประกาศที่ว่า
ใช้เมื่อไร ได้ผลเมื่อนั้น ใช้ที่ไหน ได้ผลที่นั่น ใช้กับพืชอะไร ได้ผลดีทุกสายพันธุ์
ภาพที่นำมาให้ยลต่อไปนี้ เป็นการใช้นาซี 778 กับส้มโชกุนที่ปลูกมาได้ 4 ปีเศษ เจ้าของตัดใจทอดทิ้ง หันมาปลูกยางพาราแทน เนื่องจากจัดการดูแลรักษายาก ต้องทุ่มเททั้งทุนรอนและเวลา แต่ก็เลี้ยงดูได้ไม่ดี นับวันมีแต่ทรุดกับโทรม เตรียมจะโค่นฟันทิ้ง แต่คุณปู พละพลึง แฟนพันุธุ์แท้ของ นาซี 778 เพื่อนบ้านเรือนเคียงขันอาสามาฟื้นฟู เจ้าของสวนยิ้มในใจและยกให้ไปจัดการฟื้นฟูได้เต็มที่ และยินดียกผลผลิตที่ได้ให้ทั้งหมด แล้วจะเป็นไปได้ไหมนี่ เป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ ผลที่ปรากฏให้เห็นนั้น ยืนยันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เป็นไปตามคำอธิบายชี้แจงจากหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ สอบถามมายังห้างร้านเรา เรายินดีให้คำตอบจนกระจ่างแจ้ง
|

|

|

ผลส้มที่เกิดขึ้นหลังจากให้ นาซี 778 แล้ว 3 – 4 ครั้ง โดยไม่ได้ใช้ยาป้องกัน
กำจัดโรค และแมลงเลย ผิวส้มผิดจากที่เคยเห็นเป็นลายพร้อยนั้นแทบจะไม่มี
ผลส้มมีขนาดไล่เลี่ยกัน เนื้อแน่น สีสวย ให้สังเกตจากกลีบส้มที่มีลักษณะเต่งตึง
ป้านมน ไม่เรียวแหลม แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของต้นส้มที่สามารถสร้าง
อาหารไปบำรุงเลี้ยงได้เต็มที่ ส่วนรสชาตินั้นไม่สามารถแสดงให้รับรู้ได้ในที่นี้
ต้องลองชิมเอาเองจึงจะรู้ว่า ส้มที่ใช้ นาซี 778 นั้นให้คุณภาพยอดเยี่ยมเพียงไร
|
ในเวลาที่เท่าๆกัน ในเวลา 12 ชั่วโมงในเวลากลางวัน ต้นพืชที่มี แผงไบโอโซล่าเซลล์ (ใบ) 1 ตารางเมตร กับต้นพืชที่มีแผงไบโอโซล่าเซลล์ 3 ตารางเมตร (หลังจากได้รับสาร นาซี 778) ย่อมรับเอาพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 3 เท่าตัว กิจกรรมต่างๆของกระบวนการทางชีวเคมีภายในลำต้นย่อมเข้มข้น และมีอัตราเร่งมากกว่า นั่นหมายถึงประสิทธิภาพการใช้แสงแดดของกระบวนการ แสงสังเคราะห์ (Photosynthesis) มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อปัจจัยภายใน (ศักยภาพของต้นพืช) มีความพร้อมเต็มที่ การใช้ปัจจัยภายนอก (ปุ๋ย น้ำ แร่ธาตุ) ที่พร้อมมูลก็ย่อมเพิ่มเป็นเงาตามตัว กระบวนการอื่นๆอย่างเช่น การเปลี่ยนอาหารที่ใช้สำหรับการเจริญเติบโตมาเป็นอาหารที่สร้างผลผลิตจึงเกิดขึ้น (ติดดอก ออกผล) ภูมิคุมกันโรค – แมลง ก็เกิดขึ้นเต็มที่ เสมือนหนึ่งระบบเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์ ถ้ากำลังไม่พอ ความเร็วไม่ถึง การทดเปลี่ยนเกียร์ก็ไม่เกิดขึ้นฉะนั้นแล และนี่ก็คือความหมายของวลีที่ว่า
เกษตรแสงอาทิตย์
|
ติดตามชมอัลบั้มภาพได้ที่นี่