จากบทความ นาซี 778 ช่วยบำบัดน้ำเสีย ที่หยิบยกมาเกริ่นกล่าวแต่เพียงคร่าวๆ สั้นๆ จากคอลัมน์ ข่าวสาร – สาระน่ารู้ นั้น บัดนี้ เวลาได้ล่วงผ่านมา 3 – 4 ปี พร้อมกับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยสารชักนำพันธุกรรม นาซี 778 พร้อมทั้งได้มีการทดสอบสายพันธุ์ผักตบรากสีม่วง ที่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ด้วยวิถีทางชีวภาพขึ้น ณ. ทะเลสาบน้ำจืด เตียนฉือ (滇池) ที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่แห่ง มหานครคุนหมิง มณฑลอยิ๋นหนาน (ยูนนาน) ประเทศจีน
เป็นเรื่องไม่น่าชวนเชื่อเลยว่า เจ้าผักตบชวาต้นน้อยๆ ใบเล็กๆ แต่ทว่ากลับมีระบบรากสีม่วงที่หนาแน่น ยาวใหญ่กว่าพุ่มใบเกือบ 10 เท่าตัว (บางต้นรากยาวถึงเมตรเศษๆก็มี) สามารถบำบัดน้ำเสียที่ขุ่นคลั่กเต็มไปด้วยสาหร่ายสีน้ำเงิน ที่ขยายพันธ์หนาแน่นกระจายทั่วทั้งท้องน้ำ จนกระทั่ง ผักตบชวาก้านยาวที่มีคุณสมบัติฟอกน้ำเสียได้นั้น ก็ยังต้องพ่ายแพ้แก่สาหร่ายเหล่านี้ ด้วยรากเน่าใบเฉาเหี่ยวตายไปเกือบทั้งสระ ( คนจีนไม่มีคำเรียก ทะเลสาบ แต่เรียกว่า สระ 池 หรือ บึง湖 )
จากการใช้สารสมุนไพร นาซี 778 ช่วยในการกระตุ้น - ชักนำยีนให้มีการพัฒนาระบบรากที่ยาวใหญ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละรุ่น จนกระทั่งผักตบที่มีใบเล็กอยู่แล้ว มีขนาดใบเล็กลงกว่าเก่า แต่ประสิทธิภาพของกระบวนการ แสงสังเคราะห์ กลับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ระบบรากหนาแน่น ยาวใหญ่ทวีคูณ กอปรไปด้วยรากฝอยเล็กๆจำนวนมาก ด้วยลักษณะพิเศษดังกล่าว จึงสามารถยืนหยัดในสระน้ำเสียได้ดี เนื่องจากมีขีดความสามารถในการดูดซับออกซิเจนในน้ำที่เต็มไปด้วยสาหร่ายสีน้ำเงินได้ดีกว่า มีอัตราการดูดซับสารประกอบไนโตรเจน (ที่เป็นองค์ประกอบของสาหร่าย) มาเป็นอาหารเลี้ยงตัวเองในการขยายพันธุ์ออกไปเรื่อยๆ จึงทำให้ปริมาณของ สาหร่ายสีน้ำเงินค่อยถูกย่อยสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ชั่วระยะเวลาเพียง 20 วันเท่านั้น น้ำเสียที่ขุ่นข้นเหม็นเน่าจากสาหร่ายสีน้ำเงิน และสารปนเปื้อนอื่นๆนั้น กลับแปรสภาพเป็นน้ำที่ใสสะอาด มองเห็นก้นสระที่ความลึก 2.5 เมตรได้ชัดเจนเลยทีเดียว น่าทึ่งอะไรอย่างนั้น !
|

การปลูกผักตบเพื่อบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำนั้น-ได้มีการควบคุม
ให้อยู่ในขอบเขตุ-เป็นที่เป็นทางไม่ให้เป็นที่กีดขวางการสัญจรทางน้ำด้วย

ณ.บึง-เก๋อหู-เมืองฉังเจา-มณฑลเจียงซู-ได้นำเอาผักตบ
รากสีม่วงไปปลูกบำบัดน้ำเสียในบึง-ปรากฏว่าได้รับคำชมว่าเป็น
พืชที่ฟอกน้ำที่ยิ่งใหญ่
|
ทางศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาแห่งนครคุนหมิง (云南省生态农业研究所) ผู้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ผักตบยะวาสายพันธุ์ใหม่ ได้มีการจัดประชุมสัมมนาขึ้น ว่าด้วย พืชพันธุ์ใหม่ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมาหมาดๆนี่เอง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงความสำเร็จ และเพื่อสนับสนุนผลักดันให้มีการนำไปปฏิบัติใช้ แก้ปัญหาน้ำเสียกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศกันต่อไป
จากการติดตามผลงานของสำนักงานนิเวศวิศวกรรมแห่งประเทศจีน (中国生态工程院) นายจิน เจี้ยนหมิง (金鉴明) และนายหาน อย่าผิง (韩亚平) วิศวกรนิเวศวิทยาแห่งทะเลสาบเตียนฉือ ได้กล่าวสรุปยืนยันว่า หากได้มีการนำเอา ผักตบยะวารากสีม่วงนี้ไปขยายพันธุ์ปลูกตามแหล่งน้ำเสียอย่างเป็นระบบแล้ว (ปลุก ขยายพันธุ์ เก็บเกี่ยว แปรรูป) คาดหวังได้เลยว่า จื่อเกินสุ่ยหูหลู (紫根水葫芦) น่าจะเป็นกองทัพผู้พิทักษ์ ทะเลสาบ เตียนฉือ ได้เลยทีเดียว
เสร็จสิ้นการประชุมสัมมนาแล้ว ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน (那中元) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาแห่งนครคุนหมิงได้ให้สำภาษแก่สื่อมวลชนอย่างหนักแน่นมั่นใจว่า หากทางรัฐบาลให้การสนับสนุนผลักดันให้มีการนำเจ้า สุ่ยหูหลูรากสีม่วง ไปแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างจริงจังแล้วละก้อ การลงไปว่ายน้ำเล่นในสระเตียนฉือ ก็จะไม่ใช่เป็นแค่ความฝันอีกต่อไป
ในขณะที่งานการทางวิศวกรรมทางนิเวศวิยาของสระเตียนฉือกำลังดำเนินการอยู่นี้ การปลูกขยายพันธุ์ สุ่ยหูหลู ก็ยังคงดำเนินต่อเนื่องกันอยู่ มีการถกเถียงถึงประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของ ผักตบรากสีม่วงสายพันธุ์ใหม่นี้จะเป็นเช่นไร จะสามารถเปลี่ยนแปลงน้ำในสระเตียนฉือให้ใสสะอาดได้จริงหรือ ?
|

ตัวอย่างน้ำ-จากบ่อทดสอบ--ผลต่างชัดเจน

ตัวอย่างน้ำที่ใสสะอาดในสระทดลอง-ที่ปลูกผักตบยะวา-ใบเล็กรากสีม่วง

ตู้ปลาที่เอาผักตบ-รากสีม่วงไปปลูกนั้น-ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ 3--4 เดือน
|
มีการแบ่งคั่นกั้นน้ำออกเป็นแปลงขนาดย่อมขึ้น 4 บ่อ ริมสระเตียนฉือ ด้านที่ติดกับบ้านพักฟื้นคนชราขององค์การบินเก่า เพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของ สุ่ยหูหลู มีการปลูกผักตบดังกล่าวขึ้นขนานใหญ่ และแล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ช่วงบ่าย ได้มีรถบรรทุกป้ายทะเบียน กุ้ยโจว (贵州) พร้อมด้วยคนงานร่วม 10 คน ได้ทำการโกยเอาผักตบขึ้นเต็มกระบะบรรทุก จากการเปิดเผยของท่าน ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน บอกว่า ผักตบที่ขนขึ้นรถบรรทุกนี้ จัดจำหน่ายไปยัง กุ้ยโจว จุดมุ่งหมายก็คือนำไปบำบัดน้ำเสียตามแหล่งน้ำเช่นกัน หลังจากที่ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการใช้ ผักตบรากสีม่วงแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างได้ผลยิ่งยวดแล้ว ได้ดึงดูดผู้คนจากแหล่งต่างๆเข้ามาสำรวจตรวจสอบผลงานกันอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าจากภายในประเทศ หรือต่างประเทศ สถานที่ใกล้เคียงก็ทำการขนส่งด้วยรถบรรทุก แต่ถิ่นที่ไกลห่างอย่างไป่จิงนั้น (ปักกิ่ง) ต้องขนส่งกันทางเครื่องบิน ขอเพียงอย่าให้กิ่งก้านหักหายมากเกินไป มันก็สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
บ่อทดสอบทั้ง 4 บ่อ นั้น บ่อแรกสุดที่ได้นำเอา สุ่ยหูหลูลงปลูกตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม บัดนี้ เมื่อมองจากพื้นผิวน้ำบริเวณที่ไม่มีผักตบขึ้นคลุมนั้น น้ำใสสะอาดจนมองเห็นก้อนอิฐสีขาวที่นอนจมก้นสระได้ชัดเจน เมื่อนำเอาลำไม้ไผ่ปักลงก้นบ่อวัดระยะ ปรากฏว่าระดับน้ำที่วัดได้นั้นลึกถึง 2.5 เมตรเลยทีเดียว
|

นักวิชาการกำลังทำการวิจัย-น้ำจากสระ-เตียนฉือที่ผ่าน
การฟอกสะอาดด้วยผักตบชวารากสีม่วง

นักวิชาการชาวฝรั่งเศษก็สนใจมาศึกษาผลงานด้วยเช่นกัน
|
ศาสตราจารย์ น่า จงหยวนกล่าวว่า ก่อนที่จะได้มีการนำเอาผักตบรากสีม่วงลงปลูกนั้น คุณภาพของน้ำในบ่อนั้นอยู่ระดับขั้นที่ v (ห้า) ปริมาณของสารประกอบ ไนโตรเจนมีอยู่สูง 40 มิลลิกรัมต่อลิตรโดยประมาณ ซึ่งสูงกว่าน้ำที่อยู่ฟากฝั่ง ว่ายห่าย (外海 อีกฟากหนึ่งของทะเลสาบ) จากการตรวจวัดน้ำในบ่อแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน คุณภาพของน้ำในบ่อนั้นปรับเปลี่ยนดีขึ้นในระดับขั้น II (สอง)แล้ว ซึ่งสามารถลงไปว่ายเล่นได้อย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ คุณภาพของน้ำห่างไกลจากน้ำประปาไม่กี่มากน้อยแล้ว
ส่วนสระย่อยอีก 3 แปลงที่เตรียมการทดสอบนั้น ได้นำผักตบกชวาลงปลูกในเวลาไล่เลี่ยกัน ของต้นเดือนตุลาคมปีนี้ แม้คุณภาพน้ำยังเทียบไม่ได้กับส่วนแรก สีน้ำยังขุ่นมัวอยู่ก็ตาม แต่ความลึกชัดเจนก็ยังอยู่ในระดับเมตรเศษๆ ศาสตราจารย์ น่า จงหยวนกล่าวว่า พื้นที่ที่ทำการทดสอบทั้ง 4 แปลงมีขอบเขตุประมาณ 200 หมู่ (83 ไร่เศษ) งานขั้นต่อไปก็คือขยายพื้นที่ปลูกไปยังฝั่ง ว่ายห่าย เพื่อทำการบำบัดน้ำเสียของสระเตียนฉือในวงกว้างต่อไป
เป็นความเข้าใจผิด ที่สรุปว่ามลภาวะในสระเตียนฉือ ต้นตอเกิดจากผักตบชวา
|
.gif)
น้ำที่เปลี่ยนไป-10-วัน-หลังทดสอบ-(ซ้าย)

น้ำในสระก่อนทดสอบ-(ซ้าย)
|
ในสายตาของคนส่วนใหญ่ มองเห็นว่า ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน เป็นนักวิชาการพฤกษศาสตร์สติเฟื่อง ที่พยายามเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ข่มบังคับต้นพืชให้สนองตอบเป็นไปตามความต้องการของมนุษย์ (ที่คนทั่วไปมองว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว) ในมุมมองของท่านแล้ว ทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย และมีความเป็นไปได้ หากได้ทำการวิเคราะห์เจาะลึกถึงกลไกทางชีวภาพของพืชเหล่านั้นกับความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมรอบด้าน ซึ่งหลักการที่ท่านได้คิดค้นวิจัยนำมาประยุกต์ใช้ก็คือ เทคนิคชักนำพันธุกรรมพืช ที่ใช้เพียงแค่สมุนไพรในธรรมชาติเท่านั้น มิได้พึ่งพาสารเคมีใดๆแม้แต่น้อย
เมื่อพิจารณาถึงผลงานจากแปลงทดสอบ ประสิทธิภาพที่ปรากฏให้เห็นจากการฟอกน้ำเสียของผักตบชวารากสีม่วงนี้แล้ว หาใช่เป็นผลงานที่ปกติธรรมดาไม่ แต่ต้องใช้เวลาเนิ่นนานร่วม 8 ปีเลยทีเดียว
ในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์น้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้นกับทะเลสาบเตียนฉือนั้น ประชาชนในเมืองคุนหมิงต่างก็เข้าใจว่า สาเหตุนั้นเกิดจากผักตบชวา (พันธุ์ดั้งเดิม) เกิดการแพร่ขยายพันธุ์มากเกินไป แต่ในความคิดเห็นของท่านศาสตราจารย์ น่า จงหยวน แล้ว นั่นเป็นมุมมองที่ผิดพลาด ทำให้ผักตบกลายเป็น แพะรับบาป ไปเต็มๆ ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว มลภาวะที่เกิดขึ้นในสระเตียนฉือนั้น เป็นผลมาจาก ความศิวิไลซ์ ของยุคสมัยต่างหาก
|

เปรียเทียบน้ำจากสระ-ที่ทำการทดสอบ-(เวลาแค่-20-วัน)

เปรียบเทียบตัวอย่างน้ำจากบ่อทดสอบ-2-บ่อ

เปรียบเทียบผักตบรากสีม่วง--กับผักตบทั่วๆไป

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ-สาหร่ายสีน้ำเงิน
เท่าที่ผ่านมา ยังไม่มีหนทางกำจัด ทำลายที่มีประสิทธิภาพ
|
ยกตัวอย่าง ห้องสุขา ในทุกวันนี้มาเปรียบเทียบดู เมื่อหลายสิบปีก่อน ผู้คนส่วนใหญ่จะใช้บริการห้องถ่ายทุกข์สาธารณะกัน หลังจากที่มูลของเสียขับถ่ายเหล่านั้น ถูกรวบรวมมาย่อยสลายในบ่อเขรอะแล้ว มูลเหล่านั้นก็ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ย แต่ทุกวันนี้ เรามีห้องส้วมในบ้าน มีระบบท่อถ่ายเท – คูระบายของเสียแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะมีระบบอย่างไรก็ดี ในที่สุด น้ำเสียเหล่านี้ก็ไหลระบายลงสู่แหล่งน้ำ ทั้งแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง และแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เป็นเวลาชั่วนาตาปี น้ำตามแหล่งน้ำเหล่านั้นจะไม่เกิดเป็นมลภาวะ ก็คงเป็นไปไม่ได้ ผักตบชวาได้ถูกนำเข้ามาประเทศจีนเมื่อ ปี 1910 ในฐานะของไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม ต่อเมื่อเกิดภัยพิบัติขาดแคลนอาหาร มันก็ถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ ซึ่งขณะนั้นมันได้รับการยกย่องว่าเป็นของดีมีคุณค่า แต่วันนี้ ผู้คนกำลังเหล่มองดูฐานะมันตรงกันข้ามกับอดีตเสียแล้ว ...นั่นคือ ผู้ร้ายที่ทำลายนิเวศน์บึงเตียนฉือ
หมายเหตุ : ประชาชนชาวจีนในสมัยก่อนนั้น จะไม่สร้าง ส้วม ไว้ในบ้าน ถึงแม้จะสร้างก็ไม่ใคร่ได้ใช้กัน แต่จะออกไปถ่ายบรรเทาทุกข์ที่ส้วมสาธารณะ ทั้งนี้ เนื่องจากขาดแคลนน้ำชะล้าง ถ้ามีส้วมในบ้าน แล้วไม่มีน้ำชำระล้างทำความสะอาด แล้วคุณจะทนกลิ่นมันไหวหรือ! อีกประการหนึ่งนั้น นอกจากจะขาดน้ำแล้ว จีนยังขาดแคลนปุ๋ยที่ใช้บำรุงเลี้ยงพืชผักอีกด้วย เมื่อมีส้วมสาธารณะเป็นแหล่งรวบรวมมูลขับถ่าย ชาวสวนก็จะนำไปผ่านกระบวนการหมักย่อยสลาย (ไม่ได้นำไปใช้สดๆกันทันที) แล้วนำไปใช้เป็นปุ๋ยให้กับพืชผักที่ปลูก วัฒนธรรมขับถ่ายของชาวจีนนี้ เป็นที่รับไม่ได้ของคนไทย แต่ต้องเข้าใจว่า นั่นคือความแตกต่างที่เกิดจากความจำเป็นบีบบังคับให้เป็นไป ลองหลับตาคิดดูเอาแล้วกัน ประชาชนจีนกว่าพันล้านคน ถ้าเอาน้ำมาชักโครกชำระส้วมแล้ว คงต้องขาดแคลนน้ำดื่ม อดน้ำตายกันเป็นตับแน่ ดังนั้น ขอเอาชีวิตให้อยู่รอดก่อน ความศิวิไลซ์นั้น เอาไว้ทีหลังละกัน ปัจจุบันได้มีการชักน้ำ – ผันน้ำเข้าสู่เมืองใหญ่ๆกันแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสากลมากขึ้นเรื่อยๆ มีการสร้างห้องสุขาตามหลักสุขาภิบาลสมัยใหม่ขึ้นตามอาคารบ้านเรือน แต่ ... ทว่า ความเคยชินในการถ่ายนั้น มันปรับเปลี่ยนกันไม่ได้ง่ายๆ หากเรานั่งส้วมที่ไม่มีประตูปิด เราก็ถ่ายไม่ออก ในทางตรงกันข้าม คนจีนก็เหมือนกัน ถ้ามีประตูปิด เขาก็ถ่ายไม่ออกเช่นกัน ดังนั้น บางครั้งจึงพบเห็นว่า ตึก - อาคารที่ทันสมัย ประตูห้องส้วมถูกถอดออกเก็บไว้ ไม่ได้ถูกใช้งานดังที่ได้ออกแบบมาเลย เพราะมีประตูปิดแล้วมันทำให้ถ่ายไม่ออกน่ะซี! (เข้าใจเปล่า)
|

ผักตบยะวา-รากสีม่วง

เมืองเก่าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศนั้น ก็ได้
นำเอาผักตบพันธุ์ใหม่ไปปลูกกันหลายแห่ง

ไม่เพียงแต่รากสดเท่านั้นที่สามารถดูดซับสารพิษได้รากที่ตาก
แห้งแล้ว บรรจุใส่ถุงพลาสติกนำไปแขวนถ่วงกลางน้ำ หรือทำการบด
ป่นเป็นผงแล้ว-นำไปโรยลงพื้นดินที่ปนเปื้อนก็ได้ผลเช่นเดียวกัน

ระหว่างการพัฒนา-ปรับปรุงสายพันธุ์

ลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างกันของผักตบชะวาหลังจาก
ได้รับการชักนำยีนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบรากอย่างขนานใหญ่
.gif)
ศาสตราจารย์-น่า-จงหยวน-โชว์ความแตกต่างของผักตบ-2-สายพันธุ์

ศาสตราจารย์ น่าจงหยวน โชว์ต้นผักตบรากสีม่วง
กับผลิตภัณฑ์ รากแห้งป่น จื่อเกินสุ่ยหูหลู (ในถาดบนตัก)
|
ศาสตราจารย์ น่า จงหยวนเห็นว่า มลภาวะทางน้ำในสระเตียนฉือนั้น เกิดจากน้ำทิ้งน้ำใช้ที่ระบายสู่สระน้ำ ร่วมกับกระบวนการถดถอยทางชีวภาพของผักตบชวา ที่ขึ้นอยู่ในสระเตียนฉือ ภาวะถดถอย ที่ว่านั้นคืออะไร ? ภาวะที่ว่านั้น หมายถึง อัตราความเร็วในการฟอกน้ำเสียของผักตบนั้นเชื่องช้ากว่าอัตราเร็วของน้ำเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มลภาวะที่สะสมขึ้นจากวันเป็นเดือน จากแรมเดือนเป็นแรมปี มีผลกระทบถึงการเจริญเติบโตของผักตบในสระ ทำให้ผักตบนั้นทยอยเฉา เน่าตายลง กลายเป็นมลภาวะทางน้ำซ้ำสอง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามลภาวะในน้ำมีอัตราช้ากว่าการฟอกของผักตบแล้ว ผักตบชวาก็มีศักยภาพในการทำให้น้ำมีสภาพดีขึ้นได้ แต่ที่เป็นไปนั้นผักตบไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และหนักหนาสาหัสสากรรจ์เช่นนี้
การทำความเข้าใจในกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้น เป็นปฐมบทในการเข้าถึงกลไกของสิ่งที่มีชีวิต ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง น้ำเสียในสระเตียนฉือ กับผักตบที่ลอยฟ่องในสระน้ำ ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มขีดขั้นความสามารถในการฟอกน้ำเสียของผักตบชวาให้มีอัตราเร็วกว่าน้ำเสียที่เกิดขึ้นได้ เมื่อเข้าใจในหลักการแล้ว ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน จึงเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงธรรมชาติระดับปกติของผักตบชวา เพื่อลบล้าง ความ (เข้าใจ) ผิด ให้กับพวกมัน
|

สภาพของน้ำในสระ-เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่าง
อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องอธิบายอะไรให้มากความ

สระน้ำส่วนที่ใช้ผักตบฟอกน้ำเสียในสระ-เตียนฉือนั้น-ใสเห็นก้นสระ

สาหร่ายสีน้ำเงิน-(ไทยเราเรียกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน)
ปัจจัจุบันอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น ทำให้มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก
|
ลักษณะพิเศษของ ผักตบรากสีม่วง : รากยาว ก้านสั้น ใบเล็ก
พิศดูจากชื่อที่เรียก ก็ทำให้เข้าใจความหมายได้ตามชื่อที่เรียกขาน นั่นก็คือ มันมีรากสีม่วงที่เป็นกระจุก ยาวร่วมเมตรเลยทีเดียว ส่วนผักตบทั่วไป ระบบรากที่ยาวมากๆนั้น ก็ไม่เกิน 20 – 30 เซนติเมตร การฟอกน้ำเสียให้คืนสภาพเป็นน้ำดีนั้น ต้องอาศัยรากทำงานเป็นหลัก ใบและก้านมีความสำคัญรองลงมาในการเป็นตัวรับแสงแดด ดูดซับอากาศและปรุงอาหารเพื่อสร้างรากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (สร้าง ก้าน –ใบ น้อยกว่าสร้างราก) อัตราส่วนของรากกับใบในผักตบธรรมชาตินั้น เท่ากับ 1 : 7 แต่รากสีม่วงของผักตบนั้น ตัวเลขสัดส่วนสูงกว่านี้ และผักตบยะวา จื่อเกิน ที่ว่านี้ก็พัฒนามาจากผักตบก้านสั้นธรรมดา ด้วยเทคนิคที่ได้เปรียบเหนือธรรมชาติ นั่นก็คือ เทคนิคชักนำพันธุกรรมพืชนั่นเอง
ถ้าอัตราส่วนระหว่าง ราก กับ ใบ เป็นตัวเลขสูง อย่างเช่นในผักตบรากสีม่วงที่มีอัตราส่วนเป็น 10 : 1 ผลของการฟอกน้ำเสียจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนผักตบทั่วไปนั้นมีก้านใบโตกว่าราก ซึ่งจะมีผลกระทบทางด้านลบต่อแสงแดดที่สาดส่องผ่านลงสระน้ำ เนื่องจากส่วนที่เป็นใบจะขึ้นปกคลุมผิวน้ำจนแสงแดดสาดส่องไม่ถึง ลมพัดผ่านก็พัดไม่ถึงผิวน้ำ (ใบหนาแน่น) ไม่เพียงมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำเท่านั้น แต่ยังมีผลโดยตรงต่อวัฏจักรการไหลเวียนของน้ำในสระอีกด้วย
เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว ศาสตราจารย์ น่า จงหยวน ได้นำเอาสารชักนำพันธุกรรมพืชมาประยุกต์ใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงลักษณะของพืชให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ นั่นก็คือ ทำให้ผักตบมีการพัฒนาระบบรากที่ใหญ่โต - มหึมากว่าเดิม รวมทั้งกระบวนการ แสงสังเคราะห์ และความต้านทานต่อความเครียดที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น แต่ระบบกิ่ง - ก้าน - ใบกลับหดเล็กลง
อันผลการแสดงออกของสารชักนำพันธุกรรมพืชนั้น ผันแปรไปกับ ความเข้มข้น และระยะเวลาในการสัมผัสกับชิ้นส่วนของพืช ซึ่งมีความแตกต่างกันในพืชแต่ละชนิด กว่าจะประสบกับความสำเร็จในการชักนำให้ผักตบใบเล็กสามารถพัฒนาระบบรากใหญ่กว่าปกติร่วม 10 เท่าตัวนั้น ได้มีการทดลองเฉียดพันครั้ง กว่าจะลงเอยได้สายพันธุ์ รากสีม่วงนี้ขึ้นมา จากความเข้มข้นที่ 50,000 เท่า ในเวลา12 วัน จึงจะเกิดการกลายพันธุ์ขึ้น
|

สาหร่ายสีน้ำเงินที่หนาแน่นจนกระทั่งแสงแดดสาดส่อง
ไม่ถึงท้องน้ำ ผิวน้ำไม่มีโอกาสสัมผัสกับอากาศ

เส้นใยแห้งของผักตบชวา
|
ระบบรากที่หนาแน่น ยืดยาว เต็มไปด้วยรากฝอย นำมาซึ่งขีดความสามารถในการควบคุมสาหร่ายสีน้ำเงิน
คนทั่วไปที่พบเห็นผักตบทั้งสองชนิดนี้ มองปราดเดียวก็มองเห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน (พันธุ์หนึ่งใบใหญ่ ก้านใบยาว แต่รากสั้น ส่วนพันธุ์รากสีม่วงนั้น ใบเล็ก ก้านใบสั้น แต่มีรากหนาแน่น และยาวเหยียด อีกทั้งยังมีรากฝอยจำนวนมาก) แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจถึงความแตกต่างในการฟอกน้ำเสียของมัน ไม่ว่าจะเป็นผักตบสายพันธุ์ใดก็ตาม เป็นที่รู้กันว่า ผักตบนั้นเป็นพืชที่ฟอกน้ำเสียได้ดีที่สุดในบรรดาพืชน้ำด้วยกัน
ความแตกต่างนั้นก็คือ ในสภาพของน้ำที่มีสารประกอบไนโตรเจนสูงเกินกว่า 80 มิลลิกรัมต่อลิตรแล้ว ผักตบธรรมดาก็จะเจริญเติบโตได้ยาก จากการดูดซับเอาสารต่างๆในน้ำเข้าสู่ลำต้น สารเหล่านี้เกือบทั้งหมดถูกนำไปเลี้ยงใบและก้านเป็นหลัก ส่วนรากนั้นแทบจะไม่มีการพัฒนางอกเงยเพิ่มขึ้นเลย ดังนั้น เมื่อลอยละล่องในน้ำเสียนานวัน มันจึงทนไม่ได้ รากก็จะเริ่มเน่าเสีย ทำให้เกิดมลภาวะซ้ำซ้อนขึ้นในน้ำ จึงทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า สาเหตุที่น้ำในสระเตียนฉือเน่าเหม็นนั้น เกิดจากผักตบชวาขึ้นหนาแน่นเกินไป จนรากเน่าเสีย ซึ่งโดยแท้จริงแล้วหาใช่สาเหตุที่แท้จริงไม่
|

หญ้าตะขาบ

หลังจากที่มีการแพร่พันธุ์เต็มที่แล้ว สาหร่ายก็จะตายลง
ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อเกิดเป็นมลภวะซ้ำซ้อนขึ้นมา
|
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของ ผักตบรากสีม่วงนั้น สามารถย่อยสลายสาหร่ายสีน้ำเงินได้ และเนื่องด้วยการเจริญเติบโตของมันนั้นมุ่งเน้นไปในทางขยายรากมากกว่าใบ ดังนั้นมันจึงดูดซับสารประกอบไนโตรเจน และสารประกอบฟอสฟอรัสได้รวดเร็วในปริมาณมากขึ้นหลายเท่าตัว เนื่องจากความทนทานของระบบราก ทำให้มันเจริญเติบโตได้ในแหล่งน้ำเน่าเสียที่มีความเข้มข้นของสารประกอบไนโตรเจน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้อย่างสบายๆ ศักยภาพในการกำจัดทำลายสาหร่ายสีน้ำเงินนั้นใช้เวลาสั้นๆ แค่ 4 – 20 วันเท่านั้น น้ำที่ขุ่นคลั่กเขียวข้นก็พลันเปลี่ยนเป็นน้ำที่ใสสะอาด และถึงแม้ต้นใบของมันจะเฉาแล้วก็ตาม ระบบรากของมันยังคงยืนหยัดทนอยู่ในน้ำได้นาน 3 - 4 เดือน พร้อมกับย่อยสลายสาหร่ายสีน้ำเงินต่อเนื่อง จนกว่ารากจะสลายตัวไป แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่สูงยิ่งของผักตบรากสีม่วงสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นอย่างดี
การที่สาหร่ายสีน้ำเงินในสระเตียนฉือขยายตัวแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วนั้น มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วนั้น ได้แก่ออกซิเจนในน้ำ สภาพเชิงกลของน้ำ (น้ำนิ่ง หรือ เคลื่อนไหว) แสงแดด และอินทรีย์สารที่หมักหมมทับถมอยู่ก้นสระ (ตะกอนก้นสระมีธาตุอาหารสูงกว่าสารอาหารที่ลอยละล่องในกระแสน้ำระดับ ห้า v 1,000 ถึง 10,000 เท่า) ขณะที่มีการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่องนั้น สาหร่ายสีน้ำเงินก็ปลดปล่อยสารประกอบ nitride ออกมาในปริมาณมหาศาล
จากการวิจัยร่วมกันของ ศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาแห่งนครคุนหมิง กับ มหาวิทยาลัย หลี่กง แห่งมหานครคุนหมิง (昆明理 工大学等单位) พบว่าผักตบชวารากสีม่วงมีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถดูดซับธาตุโลหะหนักอย่าง สารหนู แคดเมียม และตะกั่ว ได้ในปริมาณที่สูงมาก รากสีม่วงแห้งเมื่อทำการบดป่น แล้วนำไปโรยลงน้ำจำนวน 1 กรัมนั้น สามารถกำจัดสารหนูได้ถึง 5.04 มิลลิกรัม ในเวลาเพียง 4 วันเท่านั้น สูงกว่าต้น ciliate desert grass (蜈蚣草 / หวูกงฉ่าว / หญ้าตะขาบ) ที่ได้ชื่อว่า ”จอมยุทธ์ดูดสารพิษ” ถึง 52 เท่า และมีประสิทธิภาพสูงกว่าถ่าน active carbon ถึง 7.1 เท่าตัวเลยทีเดียวเลยทีเดียว ส่วนกิ่งและใบของมันนั้น สามารถนำไปเป็นอาหารสดของวัวนมได้เป็นอย่างดี หลังจากผ่านการทดสอบในสระน้ำเตียนฉือแล้ว ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
|

แหล่งท่องเที่ยวเมืองเก่าที่น้ำได้เปลี่ยนสีไปแล้ว-ด้วยผักตบยะวารากม่วง

แหล่งน้ำที่มีการแพร่ระบาดของสาหร่ายสีน้ำเงินที่หนาแน่นนั้น
จะปิดกั้นอากาศและแสงแดดที่สาดส่องลงพื้นน้ำ มีผลกระทบ
ที่สาหัสต่อพืชและสัตว์ที่อาศัยในน้ำ

ภาพถ่ายเปรียบเทียบ สระน้ำก่อน และ หลัง การบำบัดน้ำเสีย
ด้วยผักตบชวารากสีม่วงในเวลาเพียงแค่ 10 วัน เท่านั้น
(ซ้ายก่อน - ขวาหลัง)
|
เป็นที่ประจักรชัดเจนแล้วว่า สารพิษที่ปนเปื้อนติดไปกับผลผลิตทางการเกษตรนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้น้ำที่มีสารโลหะหนักเหล่านี้เจือปนอยู่ ในการให้น้ำเพื่อการเพาะปลูก แต่ถ้ามีการฟอกน้ำชลประทานที่ใช้ในการเพาะปลูกแล้วไซร้ ปัญหาก็คงเบาบางลงได้อย่างแน่นอน จากการทดลองร่วม 200 ซ้ำ ปรากฏว่า ผงป่นของสุ่ยหูหลูจำนวน 1 กิโลกรัมนี้ สามารถดูดซับสารหนูได้ถึง 131 กรัม ซึ่งสูงกว่าการดูดซับของต้นถั่วแอลแฟลฟาถึง 10.8 เท่า และมีอัตราเร็วในการดูดซับเป็นพันเท่าเลยทีเดียว ทั้งๆที่ ถั่วแอลแฟลฟา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพืชที่ดูดสารพิษที่ดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง
ด้วยเวลาแค่ 6 วัน ค่าของ TN และ TP ในน้ำของสระเตียนฉือนั้น ลดลง 60 % ถึง 75 % และลดลงถึง 94 % ในเวลา 15 ถึง 20 วัน เท่านั้นหลังนำเอาผักตบชะวาลงปลูก
จากข้อมูลที่ปรากฏ แหล่งน้ำที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ที่มีการทำเหมืองนั้น มีการปนเปื้อนของสารโลหะหนักสูงกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนด มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่รายรอบบริเวณที่มีการทำเหมือง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่มีประสิทธิภาพดีพอ ในการคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ผลงานวิจัยในการนำเอาผักตบรากสีม่วงมาใช้กำจัดการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าว ประสบผลสำเร็จอันยิ่งยวด และเป็นหนทางในการขจัดสารพิษ ที่เจือปนในน้ำดื่มน้ำใช้ของประชากรชาวจีนจำนวนกว่า หนึ่งพันสามร้อยล้านคน ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้อย่างมั่นใจ
จากแฟ้มงานวิจัยนี้ รายงานผลว่า นอกเหนือจากการขจัด สารหนู ได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถควบคุม แคดเมี่ยม และตะกั่วอันเป็นสารโลหะหนักมี่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนและสัตว์นั้น มีอัตราเร็วกว่าถ่าน แอ๊คทีพคาร์บอนเป็นพันท่าเลยทีเดียว
|

อัดขึ้นรูปเป็นกระดานปูพื้น
|
ใช้ใบและก้านผักตบมาเลี้ยงสัตว์ ลดมลภาวะที่จะเกิดขึ้น
การนำเอาผักตบรากสีม่วงมาใช้แก้ปัญหาสารพิษ – มลภาวะในน้ำ มีข้อวิตกกังวลใจว่า หากมีการปลูกแพร่พันธุ์จำนวนมากแล้ว จะไม่ก่อเกิดปัญหาปนเปื้อนตามมาในภายหลังหรืออย่างไร ในเมื่อผักตบเฉาตายไป ได้มีการวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบไว้แล้ว โดยการเก็บเกี่ยวผักตบแก่ที่มีอายุขึ้นมาแยกส่วน ส่วนที่เป็นรากนั้นนำไปบ่ม – อบแห้ง บดป่นเพื่อนำไปใช้งานต่อ ส่วน ก้านและใบนั้น นำไปทำเป็นอาหารสดให้แก่สัตว์เลี้ยง วัวนม - วัวเนื้อ โดยไม่ต้องวิตกว่าจะมีสารตกค้างขึ้นในผลิตภัณฑ์จากสัตว์เหล่านั้น เพราะสารโลหะหนักต่างๆ จะสะสมอยู่แต่ในรากเท่านั้น ส่วนที่เป็นก้านและใบนั้น จะไม่พบสารดังกล่าวเลย ถือเป็นการใช้ประโยชน์จาก ผักตบ “ จื่อเกินสุ่ยหูหลู ” ที่คุ้มค่าสมประโยชน์ทุกส่วนสัด นับได้ว่าเป็น วัตถุเครื่องมือที่มีชีวิต ที่ใช้ในการดูดซับสารพิษที่มี ประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ตามแนวทางธรรมชาติที่ยั่งยืนอีกด้วย
ปัจจุบัน ปัญหาการแปดเปื้อนสารพิษอันเกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุของสังคมมนุษย์นั้น ได้ก่อเกิดปัญหาต่อน้ำดื่มน้ำใช้ของคนเราอย่างหนัก ก่อผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งผลกระทบต่อเนื่องต่อสภาวะของแหล่งน้ำทั่วไปอีกด้วย แต่ในเมื่อปรากฏว่าเราพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช ผักตบ จื่อเกินสุ่ยหูหลู ที่สามารถกำจัดทั้งสาหร่ายสีน้ำเงินและดูดซับสารโลหะหนักที่เป็นพิษสุขภาพร่างกายอย่างได้ผลชะงัด โดยวิถีทางแห่งธรรมชาติ ด้วยต้นทุนที่ไม่สูง และเป็นวิธีง่ายๆ จึงถือเป็นนิมิตหมายที่น่ายินดีเป็นยิ่งนัก
|

ต้นถั่ว-แอลแฟลฟา
|
ดูคลิปวีดีโอ คณะนักวิชาการจากประเทศฝรั่งเศส มาสำรวจตรวจสอบผลการทดลองใช้ สุ่ยหูหลู บำบัดน้ำเสียในทะเลสาบ เตียนฉือ ที่ http://www.chinanews.com/shipin/2011/11-24/news47454.html
จากนั้นก็ขอแนะนำการผ่อนคลายความเครียดด้วยการไป แอบดู ธรรมชาติน่ารัก – น่ารู้ ของสัตว์โลกได้ที่เว็บไซท์
http://env.people.com.cn/GB/16165937.html
หมายเหตุ : หน่วยงานใดที่สนใจนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ชิ้นนี้ สามารถติดต่อเรา (หจก.ยะลาทักษิณาวัฒน์) ตัวแทนของ ศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาแห่งนครคุนหมิง ในประเทศไทยได้ในเวลาทำการ
|
|